ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2010

น้ำใจนักกีฬากับวิถีประชาธิปไตย

น้ำใจนักกีฬากับวิถีประชาธิปไตย (ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ มติชน 18 พฤศจิกายน 2551,หน้า 6)  โดย รศ.ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล           ความกังวลเกี่ยวกับสภาพการณ์ทางการเมืองและการชุมนุมทางการเมืองต่างๆ ทำให้นึกถึงพระบรมราโชวาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสอนนักเรียนเกี่ยวกับวิถีประชาธิปไตยโดยการอุปมาอุปไมยกับการเล่นกีฬา           จึงขอนำมาถ่ายทอดสู่กันฟังเพื่อประดับสติปัญญาผู้คนซึ่งส่วนใหญ่เชียร์อยู่ที่ขอบสนามจะได้ระมัดระวังไม่เชียร์เสียจนเขาตีกัน และในขณะเดียวกัน ไม่ลืมว่าเราอาจกลายเป็น “หญ้าแพรก” ที่แหลกลาญเมื่อช้างสารเขาตีกัน           ในพระบรมราโชวาทดังกล่าวซึ่งพระราชทานในวันงานประจำปีของวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่า วิธีการอบรมบ่มนิสัยของโรงเรียนเอกชนชั้นดีของประเทศอังกฤษหรือที่เรียกว่า “ปัปลิกสกูล” (public school) ซึ่งเป็นแม่แบบของวชิราวุธวิทยาลัยนั้นเป็นผลดีแก่การปกครองแบบประชาธิปไตย พระบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า           “...หลักที่สาม ที่ปัปลิกสกูลเขาใช้ก็คือ เขาฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจเป็น

ปกประชา ณ ขอบขัณฑสีมา : พระราชกรณียกิจการเสด็จประพาสหัวเมือง

                                       การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในประเทศตามภาคต่างๆรวม ๔  ครั้ง   ๑. เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ ระหว่างวันที่ ๖ มกราคม -๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ (๒๔๗๐ นับตามปฎิทินปัจจุบัน)   ๒. เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ระหว่างวันที่ ๑๖ เมษายน- ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐   ๓. เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันตก ระหว่างวันที่ ๑๔ -๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑    ๔. เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต ระหว่าง วันที่ ๒๔ มกราคม -๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๒                             การเสด็จเยี่ยมราษฎรเป็นการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์สยามในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพประชาชนต่างพากันมาเฝ้ารอชมพระบารมีด้วยความปิติยินดีและตื่นเต้น                                   เสด็จฯเยี่ยมราษฎรเหนือสุดถึงเมืองเชียงราย               พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จเยี่ยมราษฎร ครั้งสำคัญ ได้แก่ การเสด็จฯอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล คือ การเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ (พิษณุโลก)และมณฑลพายัพ (แพร่ ลำป

ประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ เยาวราชกุมาร

          เมื่อกว่าหนึ่งร้อยสิบห้าปีมาแล้ว ในวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ ได้ประสูติเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ) ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ทรงพระครรภ์ยังไม่ครบกำหนด องค์เยาวราชกุมารมี พระวรกายเล็กเป็นพิเศษ ‘สมเด็จแม่’ รับสั่งเรียกด้วยพระราชหฤทัยรักใคร่เอ็นดูว่า ‘ลูกเอียดน้อย’            32 ปีต่อมาใน พ.ศ. 2468 ‘ทูลกระหม่อมเอียดน้อย’ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลในประเด็นที่ทรงถือว่าเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย พระองค์จึงได้มีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติมาจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2477 เจ็ดปีต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 การถวาย พระเพลิงพระบรมศพ 4 วันหลังจากนั้น เป็นไปอย่างเรียบง่ายสามัญเยี่ยงสามัญชนคนธรรมดา ชาวอังกฤษ            เมื่อมีข่าวว่าจะมีการอัญเชิญพระบรม

ครั้งแรกในสยาม (คู่แรกในสยาม)

(ครั้งแรกในสยาม ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสกุลไทย) โดย รศ.ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล            ในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2461 ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นพระบรมวงศ์อีกสิบสองพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามเป็นพยานในการแต่งงานของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ซึ่งปฎิพัทธ์รักใคร่กัน อีกทั้งมีความเหมาะสมกันในทางชาติตระกูลกำเนิด และการอบรมเลี้ยงดูเมื่อยังเยาว์ เจ้าบ่าวอายุ 25 ปี เจ้าสาวอายุ 14 ปี คู่บ่าวสาวนั้น พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา และหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์ ก่อนหน้านั้นประมาณ 1 เดือน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นั้นได้ทรงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ความตอนหนึ่งว่า           “บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ได้ปฏิพัทธ์รักใคร่กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ธิดาแห่งเสด็จน้า และข้าพระพุทธเจ้าอยากจะใคร่ทำการสมรสกับเจ้าหญิงนั้น แต่เดิมข้าพระพุทธเจ้าได้ชอบพอกับหญิงรำไพ พรรณี ฉันเด็กและผู้ใหญ่ และสมเด็จแม่ก็โปรดให้หญิงรำไพพรร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในสยาม

โดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ  เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก  ในครั้งนั้นกระทรวงธรรมการ  ต่อมาคือ  กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  จัดพระราชพิธีพระราชทานปริญญาเวชบัณฑิตย์ตรีเป็นครั้งแรกของสยาม เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓  รวมทั้งยังได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาบัณฑิตย์พิเศษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรมาภิไธยรับเป็นบัณฑิตย์พิเศษด้วย นับว่าทรงเป็นบัณฑิตพระองค์แรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และของสยาม  การที่พระองค์ทรงพระกรุณาเสด็จฯมาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี  ในครั้งนั้นนับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ  แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างหาที่สุดมิได้              ในครั้งนั้น มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๗ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ปริญญ

มรดกธรรมพระองค์เจ้าหญิงวิมลฉัตร เจ้านายฝ่ายในแต่สมัยรัชกาลที่ 7

                                                         พระองค์หญิงวิมลฉัตร                                                    ทรงเป็นโฆษกแผนกภาษาไทยสถานีวิทยุ บีบีซี    รศ.ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล (กรรมการพิพิธภัณฑ์ฯและที่ปรึกษาคณะอนุวิชาการพิพิธภัณฑ์ฯ)          เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 นี้ (หนึ่งวันก่อนวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ย่อมไม่อาจมีงานศพได้) มีงานพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายฝ่ายในแต่สมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์หนึ่งพระนามว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรหรือ “พระองค์หญิงตุ๊” ผู้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปีที่แล้ว พระชันษา 88 ปี          หนังสืออนุสรณ์ในงานนั้นเล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องของแม่ ส่วนหนึ่งเป็นพระนิพนธ์ทรงเล่าประทานโอรสธิดาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทรงประสบ เริ่มตั้งแต่พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชทานเมื่อพระชันษา 9 ปีในพ.ศ. 2473 จนถึงวาระที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสด็จพ่อ สิ้นพระชนม์ขณะประทับอยู่ที