ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2011

ฟรานซิส บี.แซร์ กับสยาม: อธิปไตย รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์

พระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) ที่ปรึกษาทางกฎหมายและการปกครอง ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว                                 ขอบคุณบทความจาก   ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล* กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว           บรรดาผู้สนใจความเป็นมาของรัฐธรรมนูญในประเทศไทย คงจะเคยได้ยินชื่อ ฟรานซิส โบว์ส แซร์ (Francis Bowes Sayre) ว่าเป็นผู้ซึ่งเป็นผู้ร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญชื่อว่า ‘Outline of Preliminary Draft’ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2469 เพื่อสนองพระราชบันทึกเรื่อง ‘Problems of Siam’ ที่ทรงมีไปขอความคิดเห็นจากเขาว่าจะดำเนินการปรับปรุงการปกครองของประเทศให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ที่กระแสประชาธิปไตยนับวันจะแผ่ขยาย อย่างไรโดยยังคงรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาแต่โบราณ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบอะไรมากกว่านี้เกี่ยวกับชาวต่างประเทศคนนี้           เมื่อเร็วๆ นี้ มีการตีพิมพ์หนังสือเล่มภาษาอังกฤษเล่มหนึ่ง ชื่อว่า King Bhumibol Adulyadej: A Life’ s Work (Singapore: Editions Didier Millet, 2011) ผมอ่านๆ ไปพบว่าในนั้นมีหลายแ

ปรากฏการณ์ความขัดแย้งและแนวทางการสร้างความปรองดองระหว่างพ.ศ.2475-2490 (ปฏิวัติสยาม 2475 – รัฐประหาร 2490)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร วันที่  10 ธันวาคม  พ.ศ. 2475 1 ) สภาพบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในระยะเวลาเพียง 15 ปี ระหว่างพ.ศ. 2475-2490   ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ อันส่งผลต่อพัฒนาทางการเมืองในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน   ได้แก่    การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475   กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476   ฯลฯ   และจนถึงการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 การเคลื่อนไหวทางการเมืองข้างต้นมีสาเหตุและสภาวการณ์แวดล้อมแรงผลักดันและผลกระทบที่ตามมาแตกต่างกันออกไปต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมตามยุคสมัย   ซึ่งจะกล่าวต่อไปเบื้องหน้า   แต่ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวก่อตัวขึ้นมาจากปัจจัยความขัดแย้งทางการเมืองและการช่วงชิงหรือปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย   ต่างก็มีเหตุผลสนับสนุนแนวคิดของฝ่ายตนอย่างมีตรรกะตามวิถีทางวัฒนธรรมความคิดทางการเมืองทั้งสิ้น   อย่างไรก็ตาม   เป็นที่น่าสังเกตว่า   เมื่อฝ่ายการเมืองสามารถแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างลงตัวแล้วก็สามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นลงไปชั่วคราวได้   และความขัดแย้งก็ม