ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2016

ส.ส.อังกฤษ พระสหายสนิทพระปกเกล้าฯ

ขอบคุณบทความจากรองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ  ชุมพล           เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยือนประเทศต่างๆในทวีปยุโรปเมื่อพ.ศ. 2476-2477  ในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญนั้น  ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2477  ซึ่งเป็นวันถัดไปจากวันที่เสด็จฯถึงกรุงลอนดอน  ได้เสด็จฯไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ 5  และพระนางแมรี่ ณ พระราชวังวินด์เซอร์ นอกกรุงลอนดอน  ที่ซึ่งได้ทรงพบกับเจ้าหญิงอลิซเบธ พระธิดา  ซึ่งปัจจุบันคือ  สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ด้วย  เย็นวันเดียวกันนั้น มีสุภาพบุรุษอังกฤษผู้หนึ่งเข้าเฝ้ารับพระราชทานเลี้ยงน้ำชา ณ โรงแรมแคลรร์ดเจสที่ประทับ  ร้อยเอกวิกเตอร์ คาซาเลต (Captain Victor Cazalet ) เป็นพระสหายตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ที่วิทยาลัยอีตัน  และน่าจะที่โรงเรียนนายร้อยวุลลิชด้วย เพราะมียศเป็นนายทหาร (นอกราชการ)  บัดนั้น เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ ค่ำวันนั้นเขาเชิญเสด็จฯไปทรงฟังสังคีตดนตรี  ร้อยเอกคาซาเลตผู้นี้ปรากฏตัวในกระบวนเสด็จฯในลอนดอนหลายครั้ง  และน่าจะมีบทบาทสำคัญในการประสานงานติดต่อให้ได้มีพระราชปฏิสันถารกับบุคคลสำคัญต่างๆของประเทศอังกฤษ  การ

9 กันยายน 2475 : นักเรียนอัสสัมฯเซนต์ฯระดมพลเรียกร้อง

ขอบคุณบทความจากรศ.ม.ร.ว. พฤทธิสาณ  ชุมพล         สองเดือนกว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475  นักเรียนไทยในโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเซนต์คาเบรียลของคณะมิชชันารีฝรั่งเศสก่อการยื่นข้อเรียกร้องต่อทางโรงเรียน         นี่เป็นข้อมูลที่อยู่ในเอกสารภาษาฝรั่งเศสซึ่ง ผศ.ดร.ประหยัด นิชลานนท์ และอ.ดร.รัชฎาพร ฤทธิจันทร์ แห่งภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยศิลปากร  นำเสนอไว้ในหนังสือ คันฉ่องฝรั่งเศสส่องสังคมสยามสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งมูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี เพิ่งจัดพิมพ์จำหน่าย โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดหามาก่อนหน้านี้        "ณ  โรงเรียนอัสสัมชัญ ขณะที่ระฆังเรียกให้เข้าชั้นเรียนดังขึ้น  นักเรียนโตจากชั้นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งประกาศระดมพลนักเรียนฝ่ายมัธยมให้มารวมกันที่บริเวณห้องโถงใหญ่ของโรงเรียน  นักเรียนที่มีนามสกุล ณ สามเสน คนหนึ่งซึ่งเป็นลูกของวุฒิสมาชิกของสยามได้มาเชิญผู้อำนวยการโรงเรียน บราเดอร์เฟรเดอริคให้มาที่ห้องโถงเพื่อรับฟังข้อเรียกร้องของนักเรียนสามข้อ ดังนี้         1. ลดราคาค่าเล่าเรียน         2. งดการเรียน

ใต้ฟ้าประชาธิปก : ทรงสานต่อการสนทนาธรรมระหว่างศาสนา

                                                                                คัมภีร์อักษรขอม ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ถวายเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปขณะเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสันตะปาปา ปิอุสที่ 11 เมื่อวันพุธที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1934 หรือปี พ.ศ.2477 หรือเมื่อ 82 ปีก่อน                                                                                                                                                                                                     รศ.ม.ร.ว.พฤทธิสาณ  ชุมพล           ข่าว (มติชน 24 สิงหาคม2559) ที่กล่าวถึงว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงดำริจะเปิดแสดงคัมภีร์โบราณต่างๆรวมทั้งคัมภีร์พระพุทธศาสนาอักษรขอมซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11  เมื่อวันที่21 มีนาคม ค.ศ.1934  (พ.ศ.2476 ตามปฎิทินเดิม)  ชวนให้ไทยเราเองต้องสืบ และค้นหาข้อเท็จจริงจากหลักฐานของไทยเราเอง  เพราะในจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้นไม่ได้รายงานถึงการทรงถวายคัมภีร์แต่อย่างใด  ทั้งนี

เหตุที่ไทยให้สิทธินับถือศาสนาโดยเสรีเสมอมา ในหนังสือ Siamese Tapestry

เหตุที่ไทยให้สิทธินับถือศาสนาโดยเสรีเสมอมา                                                                                                                  รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ฝรั่งอังกฤษคนหนึ่งเข้ามาในสยามเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 6 โดยมาเป็นครูที่โรงเรียนปทุมคงคา  และต่อมาใต้ฟ้า...ประชาธิปกไปเป็นผู้จัดการสยามกัมมาจล (ไทยพาณิชย์) สาขาทุ่งสง เชียงใหม่ และลำปาง  จนกระทั่งพ.ศ. 2479จึงกลับไปอังกฤษ  เพรารัฐบาลสยามมีนโยบายให้คนไทยทำแทน หนังสือที่เขาเขียนเล่าประสบการณ์ที่หลากหลายของเขาในสยาม (F.K. Exell, Siamese Tapestry, London : Robert Hale Ltd.1963) อ่านสนุก และมีข้อคิดบางอย่างเกี่ยวกับสยามและคนไทยที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น  คนไทยกับพุทธศาสนา  เขาตื่นตาตื่นใจมากที่ได้เห็นคนไทยจำนวนมากเข้าวัด  ในขณะที่โบสถ์คริสต์ในอังกฤษมักมีผู้คนโหรงเหรง  คนไทยเข้าวัดไปสวดมนต์เพื่อความสงบในจิตใจ  บางคนไปบนบานศาลกล่าวต่อพระพุทธรูป  แต่ถ้าไม่ได้ดั่งใจ  ชาวพุทธก็ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดของพระพุทธเจ้า  หากเป็นเพราะกรรมเก่า  หรือการกระทำในอดีตของตัวเขาเอง  ข้อนี้ชาวพุทธที่เข้าถึงหลักธรรมรู้ดี คุณ Exel