ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

โพสต์แนะนำ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จโรงงานมักกะสัน 2468

โพสต์ล่าสุด

พระราชพิธีเฉลิมกรุงเทพมหานครอันประดิษฐานมาครบ 150 ปี (2475) Bangkok’s 15...

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย

พระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา

ความหมายของโสกันต์ เกศากันต์ และการโกนจุก ตามราชประเพณีโบราณ พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายทั้งหลายมักไว้พระเมาฬีหรือไว้จุกเมื่อยังเยาว์พระชันษาเช่นเดียวกันกับบุตรธิดาของสามัญชน หากเป็นเจ้านายระดับพระองค์เจ้าขึ้นไปจนถึงเจ้าฟ้าเรียกว่า “พระราชพิธีโสกันต์” เจ้านายระดับหม่อมเจ้า เรียกว่า “พิธีเกศากันต์” และเด็กชายหญิงสามัญชน เรียกว่า “การโกนจุก” โดยที่พระราชโอรสจะโสกันต์เมื่อพระชนมายุ ๑๑-๑๓ พรรษา และพระราชธิดาตั้งแต่ ๑๑ พรรษาขึ้นไป ดังนั้นความหมายของ โสกันต์ เกศากันต์ และการโกนจุกจึงมีความหมายเป็นการก้าวผ่านจากวัยเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ประการหนึ่ง พระราชพิธีโสกันต์ : ความเป็นมาในสยาม ในประเทศสยามนั้นพระราชพิธีโสกันต์ พิธีเกศากันต์และประเพณีการโกนจุกเป็นธรรมเนียมประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเรื่องราวชัดเจน พระราชหัตถเลขาชุมนุมพระราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดโบราณคดี ว่าด้วยราชประเพณีโบราณเรื่องประเพณีลงสรงโสกันต์ ระบุว่า “ธรรมเนียมลงสรงโสกันต์เป็นพิธีสำหรับราชตระกูลในแผ่นดินสยามสืบมาในต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธ...

ภาพยนตร์เก่าเล่าเรื่องสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์

สะพานพระพุทธยอดฟ้า มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ มีความยาว 229 เมตร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลำดับที่สองรองจากสะพานพระราม 6 นับเป็นสะพานถนนสำหรับยานพาหนะและสัญจรที่เริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่องค์พระปฐมกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯให้ออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 ที่สำคัญคือ มีการบันทึกเหตุการณ์เป็นภาพยนตร์ข่าวจากภาพยนตร์ส่วนพระองค์รัชกาลที่ 7 หลักฐานเกี่ยวกับภาพยนตร์การก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวได้เริ่มบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2472 และเสด็จพระราชดำเนินไปตรวจตราการก่อสร้างที่มีภาพมุมสูงจากกระเช้าเครนการก่อสร้างอันน่าตื่นตาตื่นใจ โดยหลวงกลการเจนจิ...

กลุ่มนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย(ระหว่างทศวรรษ 2460-2470)

นักเขียนในสังคมไทยก่อนทศวรรษ 2470 ส่วนใหญ่มักเป็นนักเขียนชาย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนักเขียนที่ทำหน้าที่ตัวแทนความคิดระหว่างสายอนุรักษ์นิยมและสายก้าวหน้า ดังนี้ 1. ชาติและชาตินิยมในพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 อันที่จริงแล้วรัชกาลที่ 6 ทรงพัฒนาแนวคิดเรื่องชาติและชาตินิยมจากช่วงครึ่งหลังในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสามารถสถาปนารัฐและระบบ บริหารรวมศูนย์ ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกำหนดเป้าหมายประเทศร่วมกัน คือ สร้างความเจริญให้ประเทศก้าวขึ้นสู่เวทีโลก และยังนำแนวคิดนี้มาเป็นหลักการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศให้เป็น “สากล” ด้วยบริบทที่ยังคงเป็นท้องถิ่น นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังกำหนดแกนเรื่องสำหรับการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้วยการรณรงค์แนวคิดเรื่อง “ความสามัคคี” เพื่อสร้างเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผ่านบทพระราชนิพนธ์ประวัติศาสตร์ อย่างกรณีเรื่อง “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในราชจักรีวงศ์สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ทรงเป็นกษัตริย์เปี่ยมด้วยรสนิยม สนพระทัยวรรณกรร...

หน้าที่พลเมืองในสมัยรัชกาลที่ 7

พลเมือง คือ บุคคลผู้เป็นกำลังของบ้านเมืองและของชาติ เพราะฉะนั้นคนทุกคนควรประพฤติตนให้สมกับที่ตนเป็นพลเมือง คือ ทำตนให้เป็นพลเมืองดี ประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองเพื่อให้ชาติและประเทศของตนรุ่งเรืองและมั่นคง สามารถดำรงอิสรภาพไว้ได้เสมอไป ถ้าผู้ใดไม่ประพฤติตนให้สมกับที่เป็นพลเมือง กล่าวคือ มีความประพฤติไม่เป็นไปเพื่อให้กำลังแก่ประเทศและชาติของตน หรือยิ่งกว่านี้กลับเป็นเพื่อประทุษร้ายอีกด้วย ผู้นั้นนับว่าเป็นเลวทรามยิ่งนัก จัดว่าเป็นเสนียดของประเทศชาติ เพราะฉะนั้นคนทุกคนพึงทำตนให้เป็นพลเมืองดี คือ ประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามที่ได้เลือกสรรเฉพาะข้อที่สำคัญนำมาแสดงไว้พอเป็นทางศึกษาและปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ก. ต้องเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพของตนโดยชอบธรรม ธรรมดาคนทั้งหลายย่อมดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร เหตุฉะนั้นเกิดมาเป็นคนจึงจำเป็นต้องแสวงหาอาหาร เพื่อความดำรงอยู่แห่งชีวิต แต่การแสวงหาอาหารนั้น ย่อมต่างกันตามความสามารถของบุคคล ถ้าเป็นผู้มีสติปัญญาก็ย่อมหาได้โดยสะดวกง่ายดาย ถ้าเป็นผู้โง่เขลาก็ย่อมติดขัดขาดแคลนไม่บริบูรณ์เหมือนกับผู้มีสติปัญญา แต่จะเป็นคนโง่ห...