ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2010

หัวหินและวังไกลกังวลในสมัยรัชกาลที่ 7

หัวหินและวังไกลกังวลสมัยรัชกาลที่ 7 โดย ม.ร.ว.พฤทธิสาณ  ชุมพล                 "วันนี้เวลา... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลง ณ พระตำหนักเปี่ยมสุขวังไกลกังวล หัวหิน  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้...เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท..."             ข่าวในพระราชสำนักทำนองนี้คงเป็นที่คุ้นหูคุ้นตากันมาในช่วงปีกว่าๆที่ผ่านมา  ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแปรพระราชฐานไปประทับที่วังไกลกังวล  เพื่อทรงฟื้นฟูพระพลานมัยอยู่เป็นระยะๆ  ผู้ชมและผู้ฟังบางท่าน  โดยเฉพาะยิ่งรุ่นหลังๆคงอยากจะทราบถึงความเป็นมาของพระราชนิเวศน์แห่งนี้  ท่านที่มีความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไทยคงพอทราบอยู่ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ประทับแปรพระราชฐานอยู่ที่วังแห่งนี้  เมื่อคณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 อีกทั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "กบฎบวรเดช"  ขึ้นในเดือนตุลาคมในปีถัดมา   ทั้งสองพระองค์ก็ประทับอยู่ที่นั่น และได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือเร็วขนาดเล็กฝ่าคลื่นลมแห่งอ่าวไทยไปทางใต้  และประทับที่จังหวัดส

เสรีภาพของนักหนังสือพิมพ์ไทยในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระเมตตาต่ออาณาประชาราษฎร์แห่งแผ่นดินของพระองค์จนสามารถฟันฝ่าและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขไมตรีสืบต่อมา ทั้งๆ ที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดระบอบการปกครอง ดังสะท้อนได้จากข้อค้นพบในอีกมิติหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระคุณแห่งธรรมราชา “พ่อคุ้มครองลูก” เพื่อเปิดโอกาสเสรีภาพให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ได้เป็นตัวแทนแห่งพลังขับเคลื่อนความคิดเห็นของสามัญชนเกี่ยวกับการวิจัยเรื่อง “แนวความคิดและวิธีการสื่อสารการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ. 2477” (พรทิพย์ ดีสมโชค, 2553) ดังอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ “ธรรมราชา” ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ “เสรีภาพของประชาชนฐานรากของหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระองค์เป็น “ธรรมราชา” นับเป็นรากแก้วของแนวพระราชทัศนะ” เสรีภาพของประชาชนฐานรากของหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์” มีข้ออภิปราย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ธรรมร

Cultural Diversity in Unitary Siam: King Rama VII’s visit to the North , 1927

                               Ms. Chatbongkoch Sriwattanasarn 1. This exhibition aims to encourage present day visitors to ponder how people have coexisted in Thai society despite cultural diversity beliefs, traditions, or ways of life. Looking back to the time when His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) made an official visit to the North in 1927 is one way we can together seek answers to the aforementioned question to the benefit of the present. The exhibition focuses on how King Rama VII carried on the royal tradition of going to faraway regions to visit his subjects in their localities and how the people, from the Northern royals to the various ethnic groups, as well as Chinese and Western merchants, welcomed him according to the custom of each locality and group. Data from documents, photographs, and movies taken by His Majesty make evident the cultural diversity in architecture, clothing, rituals, performing arts, and also cultural interaction which took place and have

The Sky Opens over Phuket

The exhibition                                             By Associate Professor M.R. Prudhisan Jumbala “Phangnga is distinative for its mountains and islands”, so said H.M. King Prajadhipok when he and H.M. Queen Rambhai Barni visited Phuket and its environs in 1929. It was as if he had envisaged that, as time went by, Siam’s southwest coastal area would acquire a worldwide reputation as a tourist resort. This was even though in those days, Monthon Phuket, as it was then called,comprising Phuket, Phangnga, Krabi ,Takua-pa ,Trang and Ranong, was important to Siam for its tin mines, its fruits of the land and its marine resources. The King Prajadhipok Museum is therefore presenting an exhibition entitled “ The Sky Opens over Phuket “ so as to kindle an interest in looking at the present through the eyes of the past. The exhibition follows the footsteps of Their late Majesties. Visitors can learn about the various methods of tin mining then current and savour the natural beauty o

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสยามหนึ่งเดียว

รัชกาลที่ 7 คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หยุดขบวนรถไฟพระที่นั่งระหว่างทางก่อนถึงนครลำปาง เพื่อทรงถ่ายภาพยนตร์ภาพลำธาร น้ำตก และ ช้างกำลังลากซุง โดย ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร     นิทรรศการนี้มุ่งหวังให้ผู้คนในปัจจุบันได้คิดคำนึงว่า เราอยู่ร่วมกันมาได้อย่างไรในสังคมนี้ ทั้งๆ ที่เรามีวัฒนธรรมที่ต่างกันไม่น้อย ไม่ว่าในเชิงความเชื่อ ขนบประเพณี และวิถีชีวิต       การย้อนกลับไปพินิจสยามประเทศสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ เมื่อพ.ศ. 2469 เป็นหนทางหนึ่งที่เราจะได้ร่วมกันเสาะแสวงหาคำตอบจากอดีตต่อคำถามดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน      นิทรรศการมีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่ทรงสืบสานราชประเพณี อุตสาหะเสด็จฯ ไปไกลเพื่อทรงเยี่ยมราษฎรถืงถิ่นฐานและราษฎรเหล่านั้นได้จัดการรับเสด็จฯ ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น แต่ละหมู่เหล่า ทั้งเจ้านายฝ่ายเหนือ ชนเผ่าต่างๆตลอดจนพ่อค้าจีนและฝรั่ง โดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร ภาพนิ่ง และภาพยนตร์ที่ทรงถ่าย แสดงให้เห็นประจักษ์ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งในรูปแบบของสถาปัตยกรรม การแต่งกาย พิธีกรรม ศิลป