ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2012

รัชกาลที่ 7เสด็จฯ ยุโรป พ.ศ.2476 – 2477 (1) : เพื่ออะไรบ้าง?

                                ขอบคุณบทความจาก  ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล*            เดือนนี้เมื่อ78 ปีมาแล้ว คือเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 (พ.ศ. 2477 ตามปฏิทินปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินจากพระนครไปยังทวีปยุโรป            ผู้คนปัจจุบันมักจะทราบเพียงว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเสด็จฯไปทรงรับการผ่าตัดพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ และแล้วไม่ได้เสด็จฯกลับมาอีกเลย เนื่องด้วยมีความขัดแย้งจนตกลงกันไม่ได้ระหว่างพระองค์กับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ จึงทรงมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (พ.ศ.2478) จากพระตำหนักโนล (Knowle) มายังรัฐบาล จากนั้นได้ประทับอยู่ที่อังกฤษต่อไป จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่พระตำหนักคอมพ์ตัน (Compton House )            ผมว่าสิ่งที่ไม่ค่อยทราบกันคือ ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จประพาสประเทศยุโรปถึง 9 ประเทศ โดยมีบางส่วนที่เป็นทางการ มีฝรั่งเศสและอิตาลี ก่อนเสด็จฯประทับที่ลอนดอนเพื่อทรงรับการผ่าตัดพระเนตรและทรงประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆแล้วจึงเสด็จพระราชดำ

ความยากลำบากในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยตัวแทน : ข้อสังเกตเบื้องต้น

ขอบคุณบทความจาก รศ.ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์          การศึกษาระบบ-ระบอบ-ความคิดประชาธิปไตยเท่าที่ดำเนินผ่านมา  อาจกล่าวได้ว่ามีปัญหาและข้อจำกัดในหลายๆด้าน  ข้อจำกัดประการหนึ่งในทัศนะของผู้เขียนคือ  เห็นว่าไม่น่าจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจสภาพการณ์ความเป็นไปที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยและในประเทศต่างๆ  ในปัจจุบันอย่างเป็นองค์รวม  และที่สำคัญในประการต่อมา ก็คือ  เป็นการศึกษาที่นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวแล้ว  ยังเป็นแนวการศึกษาที่ไม่ช่วยให้คิด  หรือไม่อาจจะคิด  หรือหากจะคิดอยู่บ้างในบางกรณี ก็เชื่อว่าไม่น่าจะก่อให้เกิดแนวทางแก้ไข  หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีความสมานฉันท์ในระหว่างกลุ่มพลังที่มีข้อขัดแย้งและมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรงในสังคมไทยในปัจจุบัน        ประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่ง ที่พบเห็นได้ชัดนับตั้งแต่มีการศึกษาเรื่องประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ผ่านๆมา ได้แก่  การศึกษาที่มักจะเน้นเรื่องราวในส่วนที่เป็น " ปัญหาและอุปสรรค "  ของการพัฒนาประชาธิปไตย คือ  สาเหตุปัจจัยที่ทำให้ประชาธิปไตยต้องล้มลุกคลุกคลานเสียเป็นส่วนใ