ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ



โดย รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ  ชุมพล

          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  กับระบอบรัฐธรรมนูญ  พระองค์จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญพระองค์แรกของไทย   ไม่นานหลังเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ  สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิ์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2468  พระองค์ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า   "...กระแสความเห็นในประเทศนี้ส่งสัญญาณชัดแจ้งว่ากาลเวลาของระบอบอัตตาธิปไตยใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว  หากจะให้พระราชวงศ์นี้สถิตอยู่ต่อไป  จะต้องปรับให้สถานะของพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น  จะต้องหาหลักประกันอย่าให้มีพระมหากษัตริย์พร่องในความสุขุมรอบคอบ ในการทรงใช้พระวิจารณญาณ"
(จากพระราชบันทึก Problem of Siam พระราชทานพระยากัลยาณไมตรี (Francis B. Sayre) 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2469) ดังนั้นภายในเวลา 2 วัน จากที่เสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้ทรงแต่งตั้งคณะอภิรัฐมนตรีขึ้น  เพื่อถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน และราชการในพระองค์ประกอบด้วยเจ้านายชั้นบรมวงศ์ผู้ชำนาญการในราชการมาแต่ก่อน 
          "...เพื่อที่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะปฎิบัติตามพระราชอัธยาศัยไร้กฎเกณฑ์จะลดทอนลงโดยอภิรัฐมนตรีนี้" (problem of Siam)
         พร้อมกันนั้นได้ทรงแสดงความเลื่อมใสในพระปรีชาญาณและพระราชอัธยาศัยละมุนละม่อมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการทรงปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดินแบบ "พลิกแผ่นดิน"  ได้โดยเรียบร้อยปราศจากการจลาจลหรือการเสียเลือดเนื้อ  จึงได้ทรงตั้งปณิธานจะดำเนินตามรอยพระยุคลบาท  เมื่อพระองค์เองจะต้องอำนวยการเปลี่ยนแปลงขั้นต่อไป  สู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ดังปรากฎในพระราชนิพนธ์ว่า
           "...ควรพยายามแลดูการล่วงหน้า  แต่ก็ควรเหลียวหลังดูประเพณีและหลักการที่ล่วงไปแล้วด้วยเหมือนกัน ใน 2 อย่างนี้พอจะทำได้มียากอยู่ก็เพียงการเลือกเวลาให้เหมาะ  อย่าให้ช้าเกินไป อย่าให้เร็วเกินไป  ข้อนี้แหละยากยิ่งนัก นอกจากมีสติปัญญาแล้ว ยังต้องมีโชคดีประกอบด้วย  แต่ถ้าเราทำการใดๆไปโดยมีความสุจริตในใจและโดยเต็มความสามารถแล้ว  ก็ต้องนับว่าได้พยายามทำการงานตามหน้าที่จนสุดกำลังแล้ว..."
(พระราชนิพนธ์คำนำของรัชกาลที่ 7 ในหนังสือพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 5 เรื่องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการปกครองแผ่นดิน  อ้างใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ พระราชประวัติรัชกาลที่ 7,
2449.)
          ทรงพระราชดำริว่าระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดมีในประเทศได้ก็ต่อเมื่อประชาชนคนธรรมดา  และชนชั้นนำรู้จักการปกครองตนเอง  ดังนั้นจึงทรงดำเนินการอย่างรอบคอบในการสร้างประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น  โดยโปรดเกล้าฯให้ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการปกครองแบบเทศบาล ตั้งแต่พ.ศ. 2469 จนสำเร็จเป็น ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล เมื่อพ.ศ. 2473 ส่งให้กรมร่างกฎหมายถวายความเห็น  แต่เรื่องได้ค้างอยู่ที่นั่น แม้จะทรงเตือนไปหลายครั้ง สุดท้ายมิได้ประกาศใช้จนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พร้อมกันนั้นได้ทรงตั้ง สภากรรมการองคมนตรี
ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470  เพื่อฝึกหัดชนชั้นนำในการประชุมกันตามแบบรัฐสภา  เพื่อร่างกฎหมายและมีความเห็นกราบบังคมทูลในเรื่องอื่นๆ "จะได้เป็นสถาบันที่พร้อมจะทัดทานพระราชปฏิบัติที่เป็นไปตามอำเภอพระทัย หรือที่ไม่สุขุมรอบคอบของพระมหากษัตริย์ต่อไปได้" (พระราชบันทึก Democracy in Siam)   อีกทั้งยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ ร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นถวายทอดพระเนตรครั้งแรกคร่าวๆ โดยพระยากัลยาณไมตรี (Francis B. Sayre) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 และครั้งหลังโดยนายเรมอนด์ สตีเวนส์ (Raymond Stevens) และพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2474 ซึ่งฉบับหลังนี้ได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ ตลอดจนวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย  ทั้งสองต่างเห็นว่ายังไม่ควรประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จะต้องให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย  ทั้งสองต่างเห็นว่ายังไม่ควรประกาศใช้รัฐธรรมนูญ  จะต้องให้ประชาชนมีประสบการณ์ในการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นเสียก่อน  และอภิรัฐมนตรีบางท่านก็ทรงมีความเห็นคล้อยไปทางนั้นด้วย  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงมิได้พระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 อันเป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรีครองราชย์ ตามที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรก  แม้ว่าในส่วนพระองค์จะยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ  ดังความในบันทึกพระราชกระแสที่ว่า
          "...เมืองเราจะต้อง Between two stools เพราะลังเลใจที่จริงถ้าเอาแบบ Fascist ทีเดียวและมี Fascist party ขึ้น บางทีจะดีและเป็น way out ที่ดีที่สุด  แต่จะทำได้หรือ? ถ้าทำไม่ได้ก็ควรเตรียมการที่จะเปลี่ยนเป็น Constitutional Monarchy โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้  และต้องให้การศึกษาไปในทางนั้นละกระมัง ?" (พระราชกระแสต่อเอกสารเรื่อง การศึกษาในอิตาลี ซึ่งเสนาบดี กระทรวงธรรมการทูลเกล้าฯถวาย วันที่ 27 พฤษภาคม 2475 )
          "ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อม  ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าจลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง  และความจริงข้าพเจ้าก็คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้  คือ มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามรัฐธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิด..."
         ในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ พระองค์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475  ซึ่งคณะราษฎรร่างขึ้นทูลเกล้าฯถวายโดยคำว่า 'ชั่วคราว' นั้นเป็นสิ่งที่เติมลงไป  และต่อมาเมื่อสภาผู้แทนราษฎรที่คัดเลือกจากคณะราษฎรและคนอื่นๆ ได้มีมติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ จึงได้ทรงประกอบพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 กาลต่อมาได้มีพระราชกระแสทักท้วงรัฐบาลในหลายสิ่งหลายอย่าง  ซึ่งทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ถูกต้องตามแบบแผนแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย  แต่รัฐบาลไม่อาจสนองตามพระราชกระแสในหลักการสำคัญๆ ความขัดแย้งจึงยืดเยื้อมาโดยตลอด  จนกระทั่งเมื่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติมายังรัฐบาล มีใจความสำคัญว่า
            "ข้าพเจ้าเห็นว่ารัฐบาลและพวกพ้องใช้หลักการปกครองที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล  และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าไม่ยินยอมที่จะให้ผู้ใดคณะใด  ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามข้าพเจ้าต่อไปได้" และ "บัดนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทสโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ  และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้เป็นหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ..."
         ความในพระราชหัตถเลขานี้  แสดงถึงพระราชประสงค์จำนงหมาย ที่จะให้ประเทศมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  อีกทั้งพระราชหฤทัยสำนึก ตระหนักในพระราชธรรมจรรยาของพระมหากษัตริย์สยามที่จะต้องปกป้องคุ้มครองประชาชน  แต่บัดนั้นพระองค์เองไม่อาจทำได้สำเร็จ เพราะเมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้ว  อำนาจการปกครองมิได้อยู่ในพระหัตถ์อีกต่อไป
แม้ได้ทรงขอให้ผู้มีอำนาทำการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริงให้ประชาชนมีเสรีภาพ
          ในการทรงปลีกพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ ได้มาตอกย้ำหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามที่ทรงเข้าพระราชหฤทัยและทรงยึดถือ ให้ทรงความหมายต่อไปแม้เมื่อไม่มีพระองค์แล้ว  กับทรงเสียสละเพื่อสิทธิประชา และเพื่อทรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระประมุข โดยแก้พระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่สืบต่อมาในฐานะสถาบันพระประมุข
          ในการทรงสละราชสมบัตินี้  มิได้ทรงระบุพระนามเจ้านายพระองค์ใดเป็นผู้ที่สมควรสืบพระราชสันตติวงศ์ แต่ก็เคยทรงมีพระราชปรารภกับผู้ที่ไว้วางพระราชหฤทัยว่า
         "ความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลเป็นทางอันตรายขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศ  ถ้าได้กษัตริย์ที่ราษฎรให้ความนับถืออย่างจริงใจ  ความขัดแย้งอาจะหมดไป  ดังนั้นถ้าเขา (หมายถึงรัฐสภา) เลือกสายของพี่แดง (หมายถึงสายสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงสงขลานครินทร์) สถานการณ์อาจดีขึ้น  เพราะพี่แดงเป็นนักประชาธิปไตยแท้ ประทานความเอื้อเฟื้อสนิทสนมเป็นกันเองกับข้าราชการ  และประชาชนทั่วไปอย่างไม่ถือพระองค์  ทรงเสียสละเพื่อความสุขของปวงชนทั่วไปมามากเป็นที่รักใคร่ของชนแทบทุกชั้น  ความรักนับถือพี่แดงอาจจูงใจให้รักเชื้อสายของพี่แดงด้วย  จะได้เป็นดีแก่บ้านเมือง"  (อ้างถึงในข้อเขียนของ ม.ร.ว.แสงสูรย์  ลดาวัลย์ ในกรมศิลปากร, งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์,กรุงเทพฯ : 2528, หน้า 292.)
          กาลปรากฎว่าสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกที่จะอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสพระองค์ใหญ่ ในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอพระองค์นั้น เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังทรงพระเยาว์ ครั้งเมื่อทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว  ไม่นานก็ได้เสด็จสวรรคต  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช จึงได้ทรงรับราชสมบัติสืบต่อ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่นั้นมา กระแสพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เริ่มได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นการคาดหมายอนาคตไว้อย่างถูกต้องยิ่งนัก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั