วังศุโขทัย
ตั้งอยู่ริมถนนสามเสนฝั่งตะวันตก ด้านทิศเหนือติดคลองสามเสน ทิศใต้ติดถนนขาว ทิศตะวันตกติดวัดประสาทบุญญาวาสและตลาดสามเสน มีถนนคั่น ทิศตะวันออกติดถนนสามเสน เป็นวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์เสด็จฯ กลับมาจากศึกษาในต่างประเทศแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงซื้อที่ดิน ๑๙ ไร่ ริมถนนสามเสนพระราชทานเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้สร้างวังที่ประทับ พระตำหนักหลังแรกนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ย้ายตำหนักจากสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต มาสร้างเป็น “ตำหนักหอ” พระราชทานให้เป็นของขวัญในวาระที่ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีสวัสดิวัตน์ (ปัจจุบันได้รื้อถวายวัดราชาธิวาสไปแล้ว)
ภายในวังศุโขทัยมีตำหนักที่ก่อสร้างต่อมาอยู่ ๓ หลัง คือ
พระตำหนักใหญ่ เป็นตำหนักที่ประทับ สร้างโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนลักษณะเป็นตำหนัก ๒ ชั้น ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ หลังคาทรงปั้นหยายกจั่ว ส่วนยอดของจั่วประดับด้วยไม้จำหลักลาย ด้านหน้าพระตำหนักมีมุขยื่นออกมาจากตัวตำหนักชั้นบนเป็นห้อง ชั้นล่างเป็นที่จอดรถยนต์พระที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งฝ้า เพดาน ผนังบางส่วน และบานพระทวารบางบานเฉพาะห้องสำคัญ เช่น ห้องรับแขกและห้องเสวย เป็นต้น
ตำหนักไม้ เป็นตำหนักที่ประทับส่วนพระองค์ในช่วงฤดูร้อน บางครั้งเป็นที่รับรองแขกหรือพระประยูรญาติที่เสด็จมาประทับด้วย ลักษณะเป็นตำหนัก ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง มีเฉลียงกว้างเดินได้เกือบรอบ ด้านหน้ามีมุขยื่นเป็นรูปครึ่งหนึ่งของหกเหลี่ยม เป็นแบบที่เรียกว่า Bay Window ตามแบบต่างประเทศลักษณะที่น่าสนใจคือ โครงสร้างของตำหนักซึ่งเป็นไม้ทั้งหลัง และการใช้ฝาไม้บังใบตีทางนอนบรรจุในเคร่าที่เห็นได้จากภายนอก
ตำหนักน้ำ เป็นตำหนักตั้งอยู่ริมคลองสามเสน ลักษณะเป็นอาคารโปร่ง มีห้อง ๒ ข้าง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นห้องบิลเลียดและห้องเตรียมอาหาร ตรงกลางเป็นทางเดินไปสู่คลองสามเสน หลังคาทรงปั้นหยายกจั่ว ส่วนยอดของจั่วประดับด้วยไม้จำหลักลายเช่นเดียวกับพระตำหนักใหญ่ กล่าวกันว่า ในอดีตสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเสด็จฯ มาประทับพักผ่อนพระอิริยาบถที่ตำหนักนี้เนือง ๆ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์มาก ในวังศุโขทัยจึงมีห้องล้างฟิล์ม อัดขยายและเก็บฟิล์มแยกออกไปเป็นอาคารหนึ่ง ในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องปรับอากาศ จึงโปรดให้ใช้น้ำแข็งก้อนมาใส่ไว้ในห้องข้างเคียง ปล่องให้ไอเย็นของน้ำแข็งระเหยเข้าไปในห้องมืด
นอกจากการถ่ายภาพแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอุปนิสัยประการหนึ่งอันถือได้ว่าเป็นพระราชมรดกของพระราชวงศ์จักรี คือ พระอัจฉริยภาพทางดนตรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ถึง ๓ เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงโหมโรง คลื่นกระทบฝั่ง และเพลงโหมโรงเสภา นอกจากนี้ ยังโปรดกีฬาหลายประเภทในวังศุโขทัยจึงมีโรงยิมสำหรับทรงสควอชและแบดมินตัน มีสนามเทนนิส และสนามกอล์ฟเล็ก ซึ่งก็คือสนามหญ้ากว้างหน้าพระตำหนักใหญ่นั่นเอง ริมสนามด้านหนึ่งตั้งโอ่งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า โอ่งสุโขทัย ให้สัมพันธ์กับพระนามขององค์เจ้าของพระตำหนักด้วย
หลังจากเสด็จขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตบ้างเสด็จกลับมาประทับ ณ วังศุโขทัยบ้างเป็นครั้งคราว ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้เสด็จมาประทับที่วังศุโขทัยอีกคำรบหนึ่ง จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษเพื่อรักษาพระเนตรจนกระทั่งทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ หลังจากสวรรคตแล้ว ๘ ปี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระราชสวามีกลับมายังประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ จากนั้นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ประทับอยู่กับอดีต ณ วังศุโขทัยแห่งนี้ตราบจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
พระที่นั่งอัมพรสถาน
ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ไว้เป็นที่ประทับ และสำราญพระราชอิริยาบถในเวลาเสด็จประพาสสวนดุสิตอีกองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งอัมพรสถาน” เมื่อสร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๙ และมีการเฉลิมพระที่นั่งอัมพรสถานแล้ว พระองค์ท่านได้เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ในวังสวนดุสิตบ่อยขึ้น จนกลายเป็นที่ประทับถาวรจวบจนเสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งแห่งนี้ใน พ.ศ. ๒๔๕๓
พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน ความสูง ๓ ชั้น รูปแบบตะวันตก ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี อธิบายถึงพระที่นั่งอัมพรสถานไว้ในหนังสือ “มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์” ว่า
“สันนิษฐานว่า ออกแบบโดยช่างชาวเยอรมัน ชื่อ นายซี ซันเดรสกี (C. Sandreczki) ซึ่งรับราชการในกระทรวงโยธาธิการ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างพระราชวังดุสิต นายซันเดรสกีได้รับหน้าที่เป็นสถาปนิกประจำ รับผิดชอบการออกแบบก่อสร้างพระราชวังดุสิตจนการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระที่นั่งองค์นี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ พระที่นั่งอุดรภาค และพระที่นั่งอัมพรสถาน เชื่อมต่อกันด้วยสะพานทั้งชั้นล่างและชั้นบน ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบบารอค (Baroque) เส้นสวยอ่อนไหว ทั้งในผังพื้นและรูปด้าน จุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้ มีทั้งรูปทรงภายนอกที่งดงามด้วยการตกแต่งลวดบัวต่าง ๆ และการเขียนสีปูนแห้งที่ภายในพระที่นั่ง โดยช่างชาวอิตาเลียนที่โปรดเกล้าฯ ให้จ้างเข้ามาโดยเฉพาะ”
พร้อมกับการสร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดระเบียบของวังสวนดุสิตเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ตามแบบแผนของพระราชวัง โปรดให้ขุดคลองใหญ่น้อยเป็นเครื่องแบ่งแยก มีการสร้างสะพานสร้างถนนภายใน และสร้างสวนจัดเป็นภูมิทัศน์อันร่มรื่นงดงามภายในพระราชฐานสร้างกำแพงและประตูรอบพระราชวังพร้อมทั้งสร้างตำหนักใหญ่น้อย พระราชทานพระมเหสี พระสนมเอก และพระราชธิดาขึ้นเป็นจำนวนมาก ตำหนักเหล่านี้ตั้งอยู่ใน “สวน” ที่มีชื่อจีน เป็นชื่อลายกิมตึ๋งของเครื่องลายครามที่นิยมเล่นกันในสมัยนั้นทั้งสิ้น เป็นต้นว่า
สวนสี่ฤดู เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
สวนหงส์ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สวนนกไม้ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุฉาเจ้า พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระอัครราชเทวี
สวนบัว เป็นที่ประทับของพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ
สวนฝรั่งกังไส เป็นที่ประทับของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี
ฯลฯ
ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักกดิ์ศรี เขียนไว้ในหนังสือ “มรดกสถาปัตยกรรมกรุง รัตนโกสินทร์” ว่า
“นอกจากนั้น ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักที่กลางสวน เรียกว่า “เกาะสน” จำนวน ๖ ตำหนัก เป็นที่ประทับของพระเจ้าน้องนางเธอ พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ สร้างพลับพลาขึ้นในสวนอีกหลายหลัง พระราชทานชื่อตามนามพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังที่รื้อไปแล้ว เช่น พระที่นั่งราชฤดี พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ เป็นต้น”
การสร้างพระตำหนักเพื่อแปรพระราชฐาน : วังไกลกังวล หัวหิน
ในรัชกาลนี้ เหตุการณ์ทางการเมืองบางประการทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะหาที่ประทับแปรพระราชฐานให้ห่างจากพระนคร เพื่อให้ไกลจากความกังวลทั้งหลายแหล่ที่บังเกิดขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังขึ้นแห่งหนึ่งที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานนามว่า “วังไกลกังวล”
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ โปรดเกล้าฯให้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปกร สถานเป็นผู้ออกแบบและอำนวยการสร้างโดยใช้เงินพระคลังข้างที่ซึ่งถือว่าเป็นเงินใช้สอยส่วนพระองค์ เริ่มลงมือก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จึงลงมือก่อสร้างพระตำหนักที่ประทับและอาคารแวดล้อมบางหลัง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเมืองวันที่ ๑๐ และ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อจากนั้นก็ได้สร้างอาคารเพิ่มเติมเรื่อยมา จน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงยุติไปตอนหนึ่ง
ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับในฤดูร้อนเสมอมา จึงได้มีการซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม และก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายหลัง
พระราชนิเวศน์แห่งนี้เมื่อแรกสร้าง มีพระตำหนักที่สำคัญ ๓ หลังได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักปลุกเกษม และพระตำหนักน้อย นอกจากนั้นยังมีเรือนที่มีชื่อคล้องจองกับพระตำหนักอีก ๒ หลัง ได้แก่ เรือนเอิบเปรม และเรือนเอมปรีด์ ส่วนตำหนักที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีการพระราชทานชื่อแต่อย่างไร นอกจากนั้นยังมีศาลาเริง ซึ่งเป็นศาลาโถงเอนกประสงค์ที่เสด็จฯ ทรงพระสำราญหรือพระราชทานเลี้ยงเป็นการภายในอีกด้วย
รูปแบบสถาปัตยกรรมของวังไกลกังวล :
พระราชนิเวศน์แห่งนี้แม้ว่ามีสถาปนิกไทยเป็นผู้ออกแบบ แต่ก็เป็นสถาปนิกที่ได้รับการศึกษา สถาปัตยกรรมจากประเทศตะวันตก รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกด้วย แต่ก็ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย และเหมาะสมกับการเป็นที่ประทับตากอากาศ รูปแบบจึงคล้ายไปทาง “บ้าน” ขนาดใหญ่ มากกว่าการเป็นพระราชวังที่ต้องการความมีระเบียบ และระบบที่ขึงขัง ไม่มีการแยกเป็นฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ตามแบบแผนของพระราชวังที่เคยมีมาในโบราณราชประเพณีอีกต่อไป
ลักษณะทั่วไปของพระราชนิเวศน์แห่งนี้คล้ายไปทางสถาปัตยกรรมแบบสเปญ เช่น มีการใช้หลังคาบางส่วนเป็นรูปโค้ง การทำลานโล่ง (Court yard) ด้านหลังของพระตำหนักเปี่ยมสุขและด้านทิศเหนือของพระตำหนักน้อย การทำนอกชานกว้างและมีซุ้มต้นไม้ (Pergola) ที่พระตำหนักเปี่ยมสุข การทำพระทวารและพระบัญชรเป็นรูปโค้งครึ่งวงกรมตามพระตำหนักต่าง ๆ เป็นต้น
พระตำหนักต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพระตำหนักที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดละออของสถาปนิก ที่จะเลือกใช้วัสดุก่อสร้างให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น การประดับด้วยหินก้อนใหญ่ที่ฐานเพื่อแสดงความหนักแน่นของอาคาร แล้วค่อยกลายเป็นผิวฉาบปูนปาดเกรียงรูปโค้ง มีการใช้โค้งประกอบทั้งส่วนของช่องเปิดตามที่ต่าง ๆ ตอบรับกับรูปโค้งของหลังคาบางส่วน นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามที่ต่าง ๆ เช่น จันทัน ฝ้า เพดาน ทับหลัง บัวน้ำตก ฯลฯ อีกเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับงานสถาปัตยกรรมในรัชกาลนี้
นอกจากพระตำหนักต่าง ๆ แล้ว ยังมีสวนหน้าพระตำหนักเปี่ยมสุข ที่จัดทำเป็นสวนแบบตะวันตกเป็นลวดลายแบบเรขาคณิต ไม้พุ่มต่าง ๆ ได้รับการตกแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีศาลาระหว่างพระตำหนักเปี่ยมสุขและตำหนักน้อย มีทางเท้าเชื่อมต่อกัน ปลูกต้นปาล์ม ๒ ข้าง และมีส่วนประดับภูมิทัศน์ ได้แก่ รูปงานปฎิมากรรมต่าง ๆ ได้แก่ รูปแกะสลักของบาหลี รูปอุปกรณ์การเดินเรือ และนาฬิกาแดด เป็นต้น นอกนั้นมีโคมไฟ และหินก้อนใหญ่รูปทรงงดงามประดับตามทางเดิน และสอดแทรกไปตามส่วนต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
พระตำหนักโนล
ทั้งสองพระองค์เสด็จกลังถึงประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะได้ทรงรับการตรวจผลการผ่าตัดพระเนตรอีกหนหนึ่งก่อนเตรียมพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร ในการนี้ได้ทรงเช่าบ้านโนล (Knowle) ไว้ประทับ
พระตำหนักนี้อยู่ที่ตำบลแครนลี (Cranleigh) จังหวัดเซอร์เร่ย์ (Surrey) ใกล้เมืองกิลด์ฟอร์ด (Guildford) ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๓๕ ไมล์ และนับว่าใกล้กับสถานที่ ซึ่งเคยประทับสมัยที่ทรงเป็นนายทหารอังกฤษ คือเมืองออลเดอร์ชอต คฤหาสน์ขนาดใหญ่สีเทา ๆ นี้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบบาโร้ค (Baroque) มีปล่องไฟสูงต่ำเป็นจำนวนมาก หน้าต่างทรงสูงแบบฝรั่งเศสและหน้าจั่วรูปทรงชดช้อยแทนที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีบริเวณโดยรอบกว้างขวางพร้อมพฤกษานานาพันธุ์ จึงเหมาะที่จะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และข้าราชบริพารในกระบวนเสด็จ แต่เมื่อทรงสละราชสมบัติใน ๕ เดือนเศษต่อมา ข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการก็ได้รับคำสั่งให้กลับเมืองไทยเพราะหมดหน้าที่แล้วเหลือแต่ประยูรญาติไม่กี่พระองค์และข้าราชบริพารในพระองค์ไม่กี่คน ประกอบกับพระตำหนักโนลเป็นตึกที่มีลักษณะทึบ ไม่ค่อยเหมาะกับพระอนามัย อีกทั้งค่าเช่าค่อนข้างสูง ดังนั้น ในเมื่อจะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อไปไม่มีกำหนด โดยรัฐบาลอังกฤษอนุญาต จึงทรงเสาะแสวงหาซื้อที่ประทับที่อื่นแทน”
ปัจจุบัน บ้านโนลได้รับการดัดแปลงเป็นสถานพักฟื้นจากอาการป่วย เรียกว่า Knowle park Nursing Home มีสวนเขียวชอุ่มพร้อมพุ่มไม้ดอกไม้นานาชนิด สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเขาลูกย่อม ๆ ของเซอร์เร่ย์ได้โดยรอบ ผู้จัดการสถานพักฟื้นยืนยันว่าชาวบ้านแถบนั้นยังคงเล่าขานถึงล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์สืบต่อมา ดังนั้น สถานพักฟื้นจึงได้ตั้งชื่อห้องชุด ๆ หนึ่งว่า “The Siam Suite” เป็นการเทิดพระเกียรติ
พระตำหนักเกล็นแพมเมิ่นต์
พระตำหนักที่ทรงซื้อเป็นที่ประทับแห่งใหม่ ตั้งอยู่ใน ตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ (Virginia Water) ทางเหนือของจังหวัดเซอร์เร่ย์เช่นกันแต่ใกล้เมืองสเตนส์ (Staines) ซึ่งอยู่ในจังหวัดมิลเดิลเซกซ์ (Middlesex) องค์พระตำหนักมีขนาดย่อมลง แต่ก็ยังใหญ่โตและมีเนื้อที่กว้าง ด้วยทรงพระราชดำริว่า ยังต้องทรงดำรงพระเกียรติยศในฐานะอดีตพระมหากษัตริย์แห่งสยามต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง แต่ก็ได้ทรงอนุโลมตามประเพณีท้องถิ่นแถบนั้นซึ่งมักตั้งชื่อบ้านโดยมีคำว่า Glen นำหน้า ตามลักษณะภูมิประเทศ โดย Glen หมายถึงหุบเขา จึงพระราชทานนามพระตำหนักนี้ว่าเกล็นแพ็มเมิ่นต์ (Glen Pammant) ซึ่งทรงกลับตัวอักษรมาจากวลีที่ว่า “ตามเพลงมัน” ซึ่งสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Tam Pleng man อันหมายถึงว่า “แล้วแต่อะไรจะเกิดขึ้น” หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงชุบเลี้ยงมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์และทรงเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารในกระบวนเสด็จทรงเล่าว่า การที่ไม่ทรงใช้นามอย่างดีหรู เช่น ไม่มีกังวล ภาษาฝรั่งเศสว่าซองส์ซูซีส์ (Sans Soucis) อย่างวังไกลกังวล นั้น รับสั่งว่า “พอเกิดเรื่องขึ้นมา เดี๋ยวก็ถูกยึด..”
หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย อมระนันท์ พระนัดดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่เวอร์จิเนียวอเตอร์กับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ท่านพ่อ ซึ่งทรงทำหน้าที่ราชเลขานุการส่วนพระองค์อยู่ในขณะนั้น บรรยายภาพพระตำหนักและบริเวณโดยรวมไว้อย่างละเอียดละออว่า
“ประตูรั้วเหล็กดัดด้านหน้าของพระตำหนักอยู่ที่ตีนเนินเขา มีถนนโรยกรวดคดเคี้ยวขึ้นเนินไป ผ่านต้นอเซเลีย (azalea) นับร้อยต้นทางด้านซ้ายและต้นโรโดเดนครอน (rhododendson) ดอกม่วงใหญ่ทางด้านขวา หลังต้นอเซเลียมีต้นสนยูว์ (yew trees) มหึมา ทำให้ไม่อาจแลเห็นองค์พระตำหนักหรือสนามหญ้าจนกว่าจะเลี้ยวโค้งสุดท้าย ด้านขวาของบริเวณที่จอดรถหน้าพระตำหนักมีสวนหินขนาดใหญ่สวยงามครบถ้วนด้วยสระน้อยใหญ่และน้ำตกถนนเลี้ยวคดอ้อมพระตำหนักไปยังที่โรงจอดรถขนาด ๗ คันด้านหลังและมีที่ให้คนขับรถ หัวหน้าคนรับใช้ชายหนึ่งคนกับลูกน้อง ๒ คน ได้พักอาศัย อีกทั้งมีกระท่อมหลังหนึ่งสำหรับหัวหน้าคนสวนด้วย พระตำหนักเป็นแบบวิคตอเรียน (Victorian) มี ๓ ชั้น และห้องหับจำนวนมาก เช่น ห้องโถง ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น.. ห้องเหล่านี้เต็มไปด้วยเครื่องเรือนแบบอังกฤษ แต่ก็มีสิ่งของต่าง ๆ ของไทยอยู่ประปราย เช่น พระแสงประดับเพชรพลอย หีบพระโอสถมวนถมทองและฉากสีแดงภาพตัวละครไทย ๒ ตัว” (เข้าใจว่าเป็นนางรจนากับเจ้าเงาะ ซึ่งภายหลังตั้งอยู่ที่ทางไปห้องพระบรรทมที่พระตำหนักใหญ่ วังศุโขทัย ผู้เขียน)
กว่า ม.ร.ว.ปิ่มสาย และ ม.ร.ว.สมานสนิท น้องสาว ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็ก จะได้เฝ้า ก็ต้องเดินไปตามห้องต่าง ๆ และชื่นชมในความงดงามไปด้วย จนกระทั่งได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในห้องทรงพระสำราญซึ่งมีไฟจุดอยู่ในเตาผิง ในห้องมีม่านหนาสีน้ำเงินแขวนอยู่ ซึ่งใช้กั้นส่วนที่ย่อมกว่าของห้องให้เป็นเวทีการแสดงได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ประทับยืนอยู่เคียงกับม่านผืนใหญ่นี้ ทำให้พระวรกายยิ่งดูเล็ก ซูบแต่กระนั้นก็ยืดตรงสง่าผ่าเผย พระโอษฐ์แย้ม แต่พระเนตรมีแววเศร้า พระมัสสุ (หนวด) หนา พระขนง (คิ้ว) เข้ม ทรงฉลองพระองค์สูทสักหลาดแบบทวีด (Tweed suit แบบคหบดีชาวชนบทอังกฤษ – ผู้เขียน) แม้พระชนมพรรษาเพียง ๔๓ พรรษา แต่เราเด็ก ๆ คิดว่าทรงพระชรามาก แม้ว่า เส้นพระเจ้า (เส้นผม) จะยังคงเป็นสีดำอยู่...”
ในส่วนของสวนนั้นกว้างใหญ่มาก จากองค์พระตำหนักเป็นเนินลาดลงไปยังสนามหญ้าใหญ่ที่ปลายสุดมีสนามเทนนิสแบบแข็ง และจากนั้นเป็นสวนกุหลาบอันเป็นระเบียบ ส่วนทางด้านซ้ายมีทางเดินไปสู่บังกะโลไม้หลังหนึ่ง ทางด้านขวาของสนามหญ้า มีสวนผักกำแพงล้อมรอบและเรือนกระจกหลายหลังซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นผลไม้ต่าง ๆ หลากชนิด อีกทั้งดอกไม้สำหรับตัดปักแจกันตกแต่งพระตำหนัก แสดงว่าทรงถือหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามสมควร ส่วนด้านหลังพระตำหนักเป็นสวนสนและป่าละเมาะเป็นทางระหว่างเนิน ปกคลุมไปด้วยดอกไม้คลุมดินต่าง ๆ เช่น บลูเบลล์ (bluebell) แดฟโฟด์ล (daffodil) และ พริมโรส (primrose) ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ แลดูเป็นสีฟ้าสีเหลืองพริ้วอยู่ในสายลม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โปรดที่จะเสด็จลงมาทรงพระดำเนินกับสุนัขซึ่งทรงเลี้ยงไว้ในช่วงบ่าย ๆ
สำหรับพระราชานุกิจนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสวยพระกระยาหารเช้าในห้องพระบรรทม โดยมหาดเล็กคนไทยเชิญเครื่องไปตั้งถวายเช่นเดียวกับที่เคยทรงปฏิบัติในประเทศไทยส่วนสมเด็จฯ เสวยในห้องแต่งพระองค์ ซึ่ง ม.ร.ว.ปิ่มสาย เล่าว่า “สวยน่ารัก สมกับที่เป็นของสุภาพสตรี ทั้งยังอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมเย็น ๆ ของดอกสวีทพี (sweet peas)” พืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ตัดดอกสีอ่อน ๆ ต่าง ๆ มาปักแจกัน แต่ที่เด็ก ๆ ติดใจมาก คือ “ตู้กระจกหลายใบที่เต็มไปด้วยตัวสัตว์และรูปปั้นเล็ก ๆ ตรึงตาและน่าจับต้องยิ่งนัก” ส่วนพระญาติจะเสวยและรับประทานอาหารเช้าแบบอังกฤษ บางครั้งเสด็จลงมาเสวยด้วย สำหรับอาหารกลางวันตอนบ่ายโมงและอาหารค่ำตอนสองทุ่มนั้น ก็เป็นอาหารฝรั่งเช่นกัน เริ่มด้วยซุป ตามด้วยปลาแล้วก็เนื้อ จบด้วยของหวาน ขนม ผลไม้ โดยทุกคนต้องเข้านั่งโต๊ะเสวยให้เป็นระเบียบและตรงต่อเวลา โดยหัวหน้าบริกร (butler) ตีฆ้องเป็นสัญญาณ และต้องแต่งชุดราตรีอย่างโก้ตอนมื้อค่ำด้วย การที่ต้องทรงจ้างฝรั่งมาเป็นคนรับใช้และคนขับรถและการที่ทุกคนต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยตามธรรมเนียมฝรั่ง ตลอดจนรักษามารยาทในการกิจการอยู่เช่นนี้ ก็เพื่อดำรงพระเกียรติยศ เพื่อไม่ให้ฝรั่งดูถูกเอาว่าไทยเราไม่รู้จักความเป็น “อารยะ” มีแต่ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นวันหยุดพักผ่อนของคนรับใช้เท่านั้นที่บางครั้งทรงพระคำนึงถึงพระกระยาหารไทย แต่ก็มิได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำในครัวฝรั่งบนพระตำหนัก เพราะจะมีกลิ่นแรงติดอยู่ จึงรับสั่งให้ไปทำกันที่บังกะโล สมเด็จฯ โปรดทรงตำน้ำพริก ส่วนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นั้น แม้จะไม่ทรงปรุงเอง แต่ทรงทราบว่าอาหารชนิดใดต้องปรุงอย่างไร ผู้ที่ทำถวายเสนอคือ หลวงศักดิ์นายเวร (แจ่ม เงินยอง) มหาดเล็กข้าหลวงเดิมและนางศักดิ์นายเวร (เชย เงินยอง) ข้าหลวงสมเด็จฯ ผู้จงรักภักดีอย่างที่เรียกได้ว่า “ถวายชีวิต”
ในช่วงบ่าย มักจะทรงพระดำเนินเล่นที่ป่าละเมาะ ในช่วงฤดูร้อน สมเด็จฯ ทรงกอล์ฟหรือเทนนิส บางครั้งนายบันนี่ ออสติน (Bunny Austin) นักเทนนิสชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงระดับโลกในเวลานั้นได้ไปเฝ้าและเล่นคู่กับสมเด็จฯ สิ่งหนึ่งที่ทรงปฏิบัติตามแบบฉบับของคนอังกฤษคือ เสวยพระสารสชาในช่วงบ่ายประมาณ ๑๗.๐๐ น. ที่สนามหญ้า ซึ่งบางครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปเสวยตามร้านธรรมดาทั่วไป เช่น ริมแม่น้ำเทมส์ เป็นการที่ได้ทรงผ่อนคลายพระอารมณ์อย่างหนึ่ง
หลังพระกระยาหารค่ำ จะประทับอยู่กับพระประยูรญาติเหมือนพ่อแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระอักษรซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือประเภทประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ตำราการทำสวน และนวนิยายของซัมเมอร์เชท มอห์ม (Somerset Maugham) อีเวอร์ลิน วอห์ (Evelyn Waugh) หรือแม้แต่แบบขำขันของพี.จี.วูดเฮาส์ (P.G.Wodehouse) ส่วนพระประยูรญาติจะเล่นแผ่นเสียงและคุยกัน ซึ่งดูเหมือนว่าทรงรักษาพระสมาธิในการทรงพระอักษรได้ดี แต่ก็ทรงสามารถรับส่งแทรกเข้าไปในวงสนทนาได้ดังที่ ม.ร.ว.ปิ่มสาย เล่าว่า เมื่อเนื้อร้องของเพลง The Very Thought of you ถึงตอนที่ว่า “ฉันมีความสุขราวกับพระราชา” ก็รับสั่งพ้อว่า “ฉันไม่มีความสุขเลยต่างหาก เจ้าโง่” (“I m not happy,you fool”)
พึงเข้าใจว่า ในช่วงเวลานั้น ประทับอยู่กับแต่กับพระประยูรญาติและข้าราชบริพารที่ใกล้ชิด จริง ๆ เพราะที่ช่วงที่ทรงสละราชสมบัติใหม่ ๆ คนไทยในอังกฤษยังวางตัวไม่ถูก เช่น หากบังเอิญอยู่ในร้านอาหารเดียวกัน ก็จะไม่เข้าไปเฝ้าฯ หรือแม้แต่ถวายคำนับ เกรงว่าจะมีภัยมาถึงตน หรือครอบครัวในเมืองไทยไม่กล้าถวายความเคารพหรือเข้าไปเฝ้าฯ แต่ก็มีบางคนที่กล้าลุกขึ้นยืนถวายคำนับ ในขณะที่เพื่อน ๆ นั่งก้มหน้าทำเป็นมองไม่เห็น
ตลอดระยะเวลานี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่ค่อยทรงสบาย ทรงแพ้อากาศหนาวชื้น ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวจึงมักจะเสด็จไปยังที่ซึ่งอากาศอุ่นกว่าทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ครั้นเมื่อประทับอยู่ที่เกล็นแพ็มเมิ่นต์ได้ประมาณ ๒ ปี คือ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๘ และ ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๕ – ๑๙๓๗) พระอาการประชวรหนักขึ้น ประกอบกับไม่ต้องทรงรักษาพระเกียรติยศมากเท่าเดิมแล้ว จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยขายพระตำหนัก “ตามเพลงมัน” และซื้อพระตำหนักใหม่ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การดูแลรักษามากกว่า ที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น (Biddenden) ใกล้เมืองแอชฟอร์ด (Ashford) ในจังหวัด (Kent) ประมาณ ๒๐๐ ไมล์จากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญมีภูมิอากาศดีกว่าที่เวอร์จิเนีย วอร์เตอร์ เพราะใกล้ทะเลกว่า แต่ความที่ไม่ห่างจากช่องแคบโดเวอร์ (Strait of Dover) มากนักเช่นนี้ กลับกลายเป็นเหตุให้ทรงเดือดร้อนอีกดังจะได้กล่าวต่อไป
ส่วนพระตำหนักเกล็แพ็มเมิ่นต์นั้น ปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน และใช้ชื่อว่า Greywell Court และ Greywell House เป็นบ้านส่วนบุคคล
พระตำหนักเวนคอร์ต
นับเป็นความบังเอิญที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกวีเอกเชคสเปียร์ (Shakespeare) คือ ต้นคริสศตวรรษที่ ๑๗ นี้ มีสัญญลักษณ์ของหมู่บ้านปรากฏอยู่เป็นรูปหญิงสาวฝาแฝดตัวติดกันที่บั้นเอว (The Bidden Sisters) คล้ายแฝดสยาม (Siamese twins) อินกับจัน
องค์พระตำหนักเวนคอร์ต (Vane Court) ซึ่งเสด็จเข้าประทับเมื่อเดือนกันยายน ๒๔๘๐ เป็นตึกผนังถือปูนสีขาวประกบด้วยท่อนไม้โอ้ค (Oak beamed) ทาสีดำแบบทิวเดอร์ (Tudor) คานค้ำพื้นชั้นบนที่เพดานเป็นท่อนซุงใหญ่ เช่นกัน ความเก่าแก่ทำให้พื้นมีความลาดเอียงถึงจนาดที่สิ่งใดที่อยู่บนพื้นกลิ้งไปถึงอีกห้องหนึ่งได้
ที่พระตำหนักเวนคอร์ตนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงพระสำราญมาก เสด็จลงสวนทรงรดน้ำพรวนดินสวน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงวางผังปลูกต้นไม้และไม้ดอกด้วยพระองค์เอง ทรงดูแลดอกคาร์เนชั่น (Carnation) ทุก ๆ วัน ในเรือนกระจกที่มีไฟฟ้าทำให้อุณหภูมิพอเหมาะ สมเด็จฯ ทรงตัดมาปักแจกันไว้ตามห้องต่าง ๆ ในพระตำหนักทุกวัน ในสวนมีสะพานหินเล็ก ๆ ข้ามบ่อน้ำที่ทรงเลี้ยงเป็ดเทศและปลาไว้หลายพันธุ์ “ทรงเพลิดเพลินในการทอดพระเนตรพวกเป็ดน้ำเทศสีสวยงามเหล่านี้ ซึ่งว่ายวนอยู่ระหว่างกอไม้ในบ่อเล็กกลางสวนดอกไม้ บางตัวก็เดินขึ้นไปบนบกเข้าไปในบ้านเล็ก ๆ ที่สร้างไว้บนเนินเขาเตี้ย ๆ ริมบ่อให้เป็นที่พักและฟักไข่ได้
ที่พระตำหนักนี้ มีสนามเทนนิสเช่นเดียวกับที่พระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ และถึงเวลานั้นบรรดาคนไทยและนักเรียนไทยในอังกฤษมีความกล้ามากขึ้นที่จะมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ของพระราชทานพระบรมราชานุญาตแข่งขันเทนนิสที่สนามส่วนพระองค์ ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกันเองมากกับนักเรียนไทยและประทับที่พื้นสนามพระตำหนักกับพวกเขาขณะเสวยพระสุธารสชาในช่วงฤดูร้อน แวดล้อมไปด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ต่อมาจึงเสด็จไปทรงร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ (meeting) ที่นักเรียนไทยจัดขึ้นปีละครั้ง และสมเด็จฯ ได้ทรงเทนนิสกับพวกเขาด้วยโดยครั้งหนึ่งทรงครองตำแหน่งรอบชนะเลิศ
ในช่วงที่ประทับอยู่ที่เวนคอร์ตนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์พระราชประวัติของพระองค์เอง โดยทรงวางแผนว่าจะทรงเล่าตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ถึงทรงสละราชสมบัติด้วยต้องพระประสงค์จะให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ น่าเสียดายที่พระโรคทำให้ทรงพระนิพนธ์ได้ถึงเมื่อทรงมีพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา เท่านั้น
ครั้นถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๙) สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งเค้า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ แน่พระทัยว่า สงครามจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงทรงเตรียมพร้อมด้วยการประหยัดทุกทาง ทรงเลิกเช่าห้องชุดที่ลอนดอนและทรงหาที่ประทับใหม่ให้ใกล้กับตำหนักดอนฮิลล์ (Dawn Hill) ซึ่งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิระศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม และหม่อมมณี ภานุพันธุ์ ณ อยุธยา (ภายหลังเป็นคุณหญิงมณี สิริวรสาร) เช่าอยู่ ณ สถานที่จัดสรรชั้นดีชื่อว่า เวนท์เวอร์ธ เอสเตท (Wentworth Estate) ในแถบเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ไม่ไกลจากพระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ ทั้งนี้เพราะหากสงครามเกิดขึ้นจริง จังหวัดเค้นท์ ซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบอังกฤษอาจถูกเยอรมันบุก จึงจะถูกประกาศเป็นเขตทหาร
หนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ Sunday Dispatch เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๑) ได้รายงานจากหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็นว่า หมู่บ้านนี้กำลังตื่นเต้นที่เจ้าชายประชาธิปก” (Prince Prajadhipok) อดีตพระมหากษัตริย์สยามกำลังจะเสด็จกลับมาที่นั่นหลังจากที่ได้เสด็จประพาสประเทศ อียิปต์ ทั้งนี้เพราะบรรดาชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ต่างรักและเทิดทูนพระองค์ด้วยทรงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ (generosity and kindness) พวกเขาได้เฝ้าฯ บ่อย ๆ เพราะแทนที่จะทรงสั่งซื้อของและให้ร้านในเมืองไปส่งที่พระตำหนัก กลับทรงจักรยานตามถนนเล็ก ๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านในหมู่บ้าน โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรมมาก เพราะสัปดาห์หนึ่งจะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่งโปรดที่จะทรงซื้อช็อคโกแล็ตที่ร้านกาแฟประจำหมู่บ้านทำเองและบางครั้งเสวยพระกระยาหารมื้อย่อม ๆ ที่ร้านนั้นด้วย ในช่วงฤดูร้อน ทรงพระกรุณาทำหน้าที่ “มูลนาย” (Squire) ประจำหมู่บ้าน โดยทรงเป็นองค์ประธานพระราชทานถ้วยรางวัลในงานประกวดดอกไม้ และงานแข่งม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง “มูลนาย” พระองค์นี้ทรงรถยนต์แทนที่จะทรงม้าล่าสัตว์อย่างมูลนายอังกฤษดั้งเดิมทั้งหลาย นอกจากนั้นยังทรงเป็นขวัญใจของพวกเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน แม่หนู่โอล์เว่น โจนส์ (Olwen Jones) วัย ๔ ขวบ อวดตุ๊กตาตัวใหญ่ซึ่งเธอได้รับพระราชทาน เธอจะถวายบังคม (Salaam) ทุกครั้งที่ได้เข้าเฝ้าฯ เธอพูดคำภาษาไทยที่ทรงสอนเธอได้หลายคำ เช่น “มือเปื้อน” หรือ “น้ำชา” และชื่อวันต่าง ๆ ในสัปดาห์ แม่หนูบอกกับผู้สื่อข่าวว่า “อยากให้เสด็จกลับมาเร็ว ๆ จังเลย” ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้มีความมั่นใจว่า ไม่มีวันที่จะเสด็จกลับสู่ประเทศสยาม เพราะทุกครั้งที่เขาเห็นพระองค์ทรงพระดำเนินไปตามถนนในหมู่บ้านกับสุนัขพันธ์ แอร์เดล (Airedale) ที่ชื่อ “แซม” (Sam) ของพระองค์แล้ว เขาเชื่อว่าพระองค์โปรดที่จะประทับในประเทศอังกฤษอย่างเงียบ ๆ มากกว่า
หนังสือพิมพ์อังกฤษอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) รายงานข่าวสำคัญเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ขณะเสด็จจากบิ้ดเด็นเด็นไปประทับแรมที่ตำหนักดอนฮิลล์เพื่อทรงคอยการเกิดของโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตว่าทรงได้รับโทรเลขแจ้งว่ารัฐบาลไทยได้ยื่นฟ้องพระองค์ และสมเด็จฯ โดยกลาวหาว่าทรงยักยอกเงินแผ่นดิน ไม่กี่วันหลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองโรยาต์ (Royat) ที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อประทับรักษาพระองค์โดยทรงสรงน้ำแร่แล้วเสด็จประพาสอียิปต์ เสด็จกลับไปอังกฤษได้ไม่กี่วัน ประเทศอังกฤษได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีในวันที่ ๓ กันยายน ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ดังนั้นการเตรียมการของพระองค์ที่จะเสด็จไปประทับอยู่ที่อินเดียเพื่อที่นายเครก (Mr.R.D.Craig) ทนายความของพระองค์ซึ่งจะไปดูแลการสู้คดีที่กรุงเทพฯ จะได้เดินทางนำเอกสารถวายให้ทรงลงพระนามได้ทันกาล จึงต้องเป็นล้มเลิก กลับต้องทรงเตรียมพระองค์ที่จับกับสถานการณ์สงครามในประเทศอังกฤษ ทรงปิดพระตำหนักเวนคอร์ตไว้และทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักใหม่ ชื่อว่า คอมพ์ตัน เฮ้าส์ (Compton House)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับอยู่ที่เวนคอร์ต ระหว่างเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗) ถึงประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙) ครั้นในเดือนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคต คือ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) พระตำหนักนี้ก็ถูกยึดครองโดยฝ่ายทหารอังกฤษเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการแห่งหนึ่ง จากนั้นได้เปลี่ยนเจ้าของหลายครั้ง โดยครั้งหนึ่งเคยอยู่ในมืองเจ้าของบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ดอกไม้และพืชผัก ปัจจุบันเป็นบ้านส่วนบุคคล
พระตำหนักคอมพ์ตัน
พระตำหนักคอมพ์ตัน เฮาส์ (Compton House) ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเว้นท์เวอร์ธ (Wentworth) ในเวรอ์จิเนีย วอเตอร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเช่าระยะยาว ๒๐ ปี มีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ และนับว่ามีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระตำหนักที่เคยประทับมาก่อนหน้านี้ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและดูแลง่าย องค์พระตำหนักเป็นแบบสมัยใหม่แนวจอร์เจียน (Georgian) สีขาว มีสองปีก ปีกละประมาณ ๓ – ๔ ห้องในแต่ละชั้น ชั้นล่างของปีกหน้ามุข มีห้องประทับรับแขกห้องเสวย ห้องเครื่อง (ครัว) และห้องพักอาหาร (Pantry) เล็ก ๆ โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตและหม่อมมณี พร้อมบุตร ได้ย้ายเข้ามาร่วมพระตำหนักด้วยในภายหลัง
ช่วงนี้เป็นภาวะสงคราม ซึ่งมีเครื่องบินของเยอรมันไปทิ้งระเบิดที่อังกฤษ รัฐบาลจึงให้ทุกบ้านเย็บผ้าดำติดกับม่านหน้าต่างทุกบาน เพื่อมิให้แสงสว่างเล็ดลอดออกไปในตอนกลางคือให้เครื่องบินของศัตรูเห็นได้ว่าเป็นที่ซึ่งมีอาคาร แจกหน้ากากป้องกันก๊าซ (gas masks) ให้ประชาชนทุกคน รวมทั้งแจกจ่ายคูปองแบ่งปันอาหารและน้ำมัน (rations) ด้วย นับว่าเป็นภาวะที่ต้องทรงลำบากเช่นเดียวกับชาวบ้านอังกฤษทั้งหลาย
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2483 สงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นภัยต่ออังกฤษมากขึ้น จึงทรงอพยพครอบครัวของพระองค์ ไปประทับที่ตอนเหนือของจังหวัดเดวอน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษ ทรงอพยพไปที่นั่นในช่วงฤดูร้อนคือประมาณเดือนมิถุนายน ของปี พ.ศ. 2483
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จฯ ประทับอยู่ที่จังหวัดเดวอนเพียงไม่กี่เดือน ก็ได้ตัดสินพระราชหฤทัยย้ายที่ประทับอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ปลอดภัยจริงๆ โดยเสด็จไปประทับที่โรงแรมเลคเวอร์นี่ (Lake Vyrwny Hotel) ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง ใจกลางแคว้นเวลส์ตอนเหนือ ประทับอยู่ที่โรงแรมนี้จนกระทั่งฤดูหนาว อากาศที่นั่นหนาว ชื้นมาก พระโรคพระหทัยกำเริบหนัก ทรงมีพระอาการหอบมาก และเจ็บพระหทัย ทรงอ่อนเพลียมาก ดังนั้น จึงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับไปประทับ ที่คอมพ์ตัน เฮ้าส์ อีกครั้งหนึ่ง หม่อมมณีฯ เขียนไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รับสั่งว่า “ถ้าฉันตาย ก็ขอให้ตายสบายๆ ในบ้านช่องของเราเองดีกว่าที่จะมาตายในโรงแรม...” และหมอประจำพระองค์จะได้ถวายการรักษาพยาบาลได้ง่ายขึ้นด้วย
เสด็จประทับ ณ สรวงสวรรค์
หลังจากเสด็จกับไปประทับที่คอมพ์ตัน เฮาส์ พระอาการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ดีขึ้น มีหมอเวลเลิ่น (Lewelan) ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ๆ พระตำหนักถวายรักษาและฉีดพระโอสถ พระอาการเจ็บพระหทัยเบาบางลงเมื่อฤดูใบไม้ผลิ ของ พ.ศ. 2484 มาถึง อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ดอกไม้บานสะพรั่ง มีเสียงนกร้องชวนให้พระอารมณ์แจ่มใส รับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าฯ ได้ ทรงพระสำราญกับเด็กๆ เช่นเคย
พระชะตาชีวิตถูกโหมกระหน่ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้ทรงทราบว่าเวนคอร์ตที่ทรงปิดไว้ถูกยึดครองเป็นที่ทำการของฝ่ายทหารอังกฤษไปแล้ว ควรที่จะส่งคนไปเก็บสิ่งของมาในพระตำหนักก่อนที่จะส่งมอบเป็นทางการต่อไป สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงอาลัยพระตำหนักนี้มาก จึงทรงมีพระราชดำริจะเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง แต่พระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรุดหนักลง
ครั้นเช้าวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ทรงตื่นพระบรรทมแต่เช้าตรู่พระอาการดูดีขึ้นมาก จึงรับสั่งกับสมเด็จฯ ว่าให้สมเด็จฯ เสด็จไปพระตำหนักเวนคอร์ตได้ ไม่ต้องทรงเป็นพระกังวล สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ จึงเสด็จไปโดยรถยนต์พระที่นั่งตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งยังทรงฉลองพระองค์ชุดบรรทมเป็นสนับเพลาแพรและฉลองพระองค์แขนยาว เสวยไข่ลวกนิ่มๆ ซึ่งนางพยาบาลประจำพระองค์จัดถวาย แล้วบรรทมต่อ ประมาณ 9 นาฬิกา นางพยาบาลพบว่าเสด็จสวรรคตเสียแล้วด้วยพระหทัยวาย ไม่มีผู้ใดทราบว่าเสด็จไปประทับ ณ สรวงสวรรค์ ณ เวลาใดแน่ ที่แน่ๆ ตามคติไทยก็คือทรงพระบุญญาธิการยิ่งนัก จึงเสด็จสวรรคตอย่างสงบนิ่ง
สมเด็จฯ เสด็จกลับไปประทับที่พระตำหนักคอมพ์ตัน เฮ้าส์ ต่อไปตลอดระยะเวลาสงคราม สองปีหลังจากที่สงครามสงบลง สมเด็จฯ ได้ตัดสินพระราชหฤทัยสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย จึงได้เสด็จออกจากพระตำนักคอมพ์ตันเฮาส์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
ตั้งอยู่ริมถนนสามเสนฝั่งตะวันตก ด้านทิศเหนือติดคลองสามเสน ทิศใต้ติดถนนขาว ทิศตะวันตกติดวัดประสาทบุญญาวาสและตลาดสามเสน มีถนนคั่น ทิศตะวันออกติดถนนสามเสน เป็นวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์เสด็จฯ กลับมาจากศึกษาในต่างประเทศแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงซื้อที่ดิน ๑๙ ไร่ ริมถนนสามเสนพระราชทานเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้สร้างวังที่ประทับ พระตำหนักหลังแรกนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ย้ายตำหนักจากสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต มาสร้างเป็น “ตำหนักหอ” พระราชทานให้เป็นของขวัญในวาระที่ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีสวัสดิวัตน์ (ปัจจุบันได้รื้อถวายวัดราชาธิวาสไปแล้ว)
ภายในวังศุโขทัยมีตำหนักที่ก่อสร้างต่อมาอยู่ ๓ หลัง คือ
พระตำหนักใหญ่ เป็นตำหนักที่ประทับ สร้างโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนลักษณะเป็นตำหนัก ๒ ชั้น ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ หลังคาทรงปั้นหยายกจั่ว ส่วนยอดของจั่วประดับด้วยไม้จำหลักลาย ด้านหน้าพระตำหนักมีมุขยื่นออกมาจากตัวตำหนักชั้นบนเป็นห้อง ชั้นล่างเป็นที่จอดรถยนต์พระที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งฝ้า เพดาน ผนังบางส่วน และบานพระทวารบางบานเฉพาะห้องสำคัญ เช่น ห้องรับแขกและห้องเสวย เป็นต้น
ตำหนักไม้ เป็นตำหนักที่ประทับส่วนพระองค์ในช่วงฤดูร้อน บางครั้งเป็นที่รับรองแขกหรือพระประยูรญาติที่เสด็จมาประทับด้วย ลักษณะเป็นตำหนัก ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง มีเฉลียงกว้างเดินได้เกือบรอบ ด้านหน้ามีมุขยื่นเป็นรูปครึ่งหนึ่งของหกเหลี่ยม เป็นแบบที่เรียกว่า Bay Window ตามแบบต่างประเทศลักษณะที่น่าสนใจคือ โครงสร้างของตำหนักซึ่งเป็นไม้ทั้งหลัง และการใช้ฝาไม้บังใบตีทางนอนบรรจุในเคร่าที่เห็นได้จากภายนอก
ตำหนักน้ำ เป็นตำหนักตั้งอยู่ริมคลองสามเสน ลักษณะเป็นอาคารโปร่ง มีห้อง ๒ ข้าง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นห้องบิลเลียดและห้องเตรียมอาหาร ตรงกลางเป็นทางเดินไปสู่คลองสามเสน หลังคาทรงปั้นหยายกจั่ว ส่วนยอดของจั่วประดับด้วยไม้จำหลักลายเช่นเดียวกับพระตำหนักใหญ่ กล่าวกันว่า ในอดีตสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเสด็จฯ มาประทับพักผ่อนพระอิริยาบถที่ตำหนักนี้เนือง ๆ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์มาก ในวังศุโขทัยจึงมีห้องล้างฟิล์ม อัดขยายและเก็บฟิล์มแยกออกไปเป็นอาคารหนึ่ง ในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องปรับอากาศ จึงโปรดให้ใช้น้ำแข็งก้อนมาใส่ไว้ในห้องข้างเคียง ปล่องให้ไอเย็นของน้ำแข็งระเหยเข้าไปในห้องมืด
นอกจากการถ่ายภาพแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอุปนิสัยประการหนึ่งอันถือได้ว่าเป็นพระราชมรดกของพระราชวงศ์จักรี คือ พระอัจฉริยภาพทางดนตรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ถึง ๓ เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงโหมโรง คลื่นกระทบฝั่ง และเพลงโหมโรงเสภา นอกจากนี้ ยังโปรดกีฬาหลายประเภทในวังศุโขทัยจึงมีโรงยิมสำหรับทรงสควอชและแบดมินตัน มีสนามเทนนิส และสนามกอล์ฟเล็ก ซึ่งก็คือสนามหญ้ากว้างหน้าพระตำหนักใหญ่นั่นเอง ริมสนามด้านหนึ่งตั้งโอ่งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า โอ่งสุโขทัย ให้สัมพันธ์กับพระนามขององค์เจ้าของพระตำหนักด้วย
หลังจากเสด็จขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตบ้างเสด็จกลับมาประทับ ณ วังศุโขทัยบ้างเป็นครั้งคราว ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้เสด็จมาประทับที่วังศุโขทัยอีกคำรบหนึ่ง จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษเพื่อรักษาพระเนตรจนกระทั่งทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ หลังจากสวรรคตแล้ว ๘ ปี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระราชสวามีกลับมายังประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ จากนั้นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ประทับอยู่กับอดีต ณ วังศุโขทัยแห่งนี้ตราบจนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
พระที่นั่งอัมพรสถาน
ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ไว้เป็นที่ประทับ และสำราญพระราชอิริยาบถในเวลาเสด็จประพาสสวนดุสิตอีกองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งอัมพรสถาน” เมื่อสร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๙ และมีการเฉลิมพระที่นั่งอัมพรสถานแล้ว พระองค์ท่านได้เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ในวังสวนดุสิตบ่อยขึ้น จนกลายเป็นที่ประทับถาวรจวบจนเสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งแห่งนี้ใน พ.ศ. ๒๔๕๓
พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน ความสูง ๓ ชั้น รูปแบบตะวันตก ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี อธิบายถึงพระที่นั่งอัมพรสถานไว้ในหนังสือ “มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์” ว่า
“สันนิษฐานว่า ออกแบบโดยช่างชาวเยอรมัน ชื่อ นายซี ซันเดรสกี (C. Sandreczki) ซึ่งรับราชการในกระทรวงโยธาธิการ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างพระราชวังดุสิต นายซันเดรสกีได้รับหน้าที่เป็นสถาปนิกประจำ รับผิดชอบการออกแบบก่อสร้างพระราชวังดุสิตจนการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระที่นั่งองค์นี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ พระที่นั่งอุดรภาค และพระที่นั่งอัมพรสถาน เชื่อมต่อกันด้วยสะพานทั้งชั้นล่างและชั้นบน ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบบารอค (Baroque) เส้นสวยอ่อนไหว ทั้งในผังพื้นและรูปด้าน จุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้ มีทั้งรูปทรงภายนอกที่งดงามด้วยการตกแต่งลวดบัวต่าง ๆ และการเขียนสีปูนแห้งที่ภายในพระที่นั่ง โดยช่างชาวอิตาเลียนที่โปรดเกล้าฯ ให้จ้างเข้ามาโดยเฉพาะ”
พร้อมกับการสร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดระเบียบของวังสวนดุสิตเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ตามแบบแผนของพระราชวัง โปรดให้ขุดคลองใหญ่น้อยเป็นเครื่องแบ่งแยก มีการสร้างสะพานสร้างถนนภายใน และสร้างสวนจัดเป็นภูมิทัศน์อันร่มรื่นงดงามภายในพระราชฐานสร้างกำแพงและประตูรอบพระราชวังพร้อมทั้งสร้างตำหนักใหญ่น้อย พระราชทานพระมเหสี พระสนมเอก และพระราชธิดาขึ้นเป็นจำนวนมาก ตำหนักเหล่านี้ตั้งอยู่ใน “สวน” ที่มีชื่อจีน เป็นชื่อลายกิมตึ๋งของเครื่องลายครามที่นิยมเล่นกันในสมัยนั้นทั้งสิ้น เป็นต้นว่า
สวนสี่ฤดู เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
สวนหงส์ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สวนนกไม้ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุฉาเจ้า พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระอัครราชเทวี
สวนบัว เป็นที่ประทับของพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ
สวนฝรั่งกังไส เป็นที่ประทับของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี
ฯลฯ
ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักกดิ์ศรี เขียนไว้ในหนังสือ “มรดกสถาปัตยกรรมกรุง รัตนโกสินทร์” ว่า
“นอกจากนั้น ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักที่กลางสวน เรียกว่า “เกาะสน” จำนวน ๖ ตำหนัก เป็นที่ประทับของพระเจ้าน้องนางเธอ พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ สร้างพลับพลาขึ้นในสวนอีกหลายหลัง พระราชทานชื่อตามนามพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังที่รื้อไปแล้ว เช่น พระที่นั่งราชฤดี พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ เป็นต้น”
การสร้างพระตำหนักเพื่อแปรพระราชฐาน : วังไกลกังวล หัวหิน
ในรัชกาลนี้ เหตุการณ์ทางการเมืองบางประการทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะหาที่ประทับแปรพระราชฐานให้ห่างจากพระนคร เพื่อให้ไกลจากความกังวลทั้งหลายแหล่ที่บังเกิดขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังขึ้นแห่งหนึ่งที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานนามว่า “วังไกลกังวล”
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ โปรดเกล้าฯให้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปกร สถานเป็นผู้ออกแบบและอำนวยการสร้างโดยใช้เงินพระคลังข้างที่ซึ่งถือว่าเป็นเงินใช้สอยส่วนพระองค์ เริ่มลงมือก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จึงลงมือก่อสร้างพระตำหนักที่ประทับและอาคารแวดล้อมบางหลัง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเมืองวันที่ ๑๐ และ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อจากนั้นก็ได้สร้างอาคารเพิ่มเติมเรื่อยมา จน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงยุติไปตอนหนึ่ง
ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับในฤดูร้อนเสมอมา จึงได้มีการซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม และก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายหลัง
พระราชนิเวศน์แห่งนี้เมื่อแรกสร้าง มีพระตำหนักที่สำคัญ ๓ หลังได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักปลุกเกษม และพระตำหนักน้อย นอกจากนั้นยังมีเรือนที่มีชื่อคล้องจองกับพระตำหนักอีก ๒ หลัง ได้แก่ เรือนเอิบเปรม และเรือนเอมปรีด์ ส่วนตำหนักที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีการพระราชทานชื่อแต่อย่างไร นอกจากนั้นยังมีศาลาเริง ซึ่งเป็นศาลาโถงเอนกประสงค์ที่เสด็จฯ ทรงพระสำราญหรือพระราชทานเลี้ยงเป็นการภายในอีกด้วย
รูปแบบสถาปัตยกรรมของวังไกลกังวล :
พระราชนิเวศน์แห่งนี้แม้ว่ามีสถาปนิกไทยเป็นผู้ออกแบบ แต่ก็เป็นสถาปนิกที่ได้รับการศึกษา สถาปัตยกรรมจากประเทศตะวันตก รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกด้วย แต่ก็ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย และเหมาะสมกับการเป็นที่ประทับตากอากาศ รูปแบบจึงคล้ายไปทาง “บ้าน” ขนาดใหญ่ มากกว่าการเป็นพระราชวังที่ต้องการความมีระเบียบ และระบบที่ขึงขัง ไม่มีการแยกเป็นฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ตามแบบแผนของพระราชวังที่เคยมีมาในโบราณราชประเพณีอีกต่อไป
ลักษณะทั่วไปของพระราชนิเวศน์แห่งนี้คล้ายไปทางสถาปัตยกรรมแบบสเปญ เช่น มีการใช้หลังคาบางส่วนเป็นรูปโค้ง การทำลานโล่ง (Court yard) ด้านหลังของพระตำหนักเปี่ยมสุขและด้านทิศเหนือของพระตำหนักน้อย การทำนอกชานกว้างและมีซุ้มต้นไม้ (Pergola) ที่พระตำหนักเปี่ยมสุข การทำพระทวารและพระบัญชรเป็นรูปโค้งครึ่งวงกรมตามพระตำหนักต่าง ๆ เป็นต้น
พระตำหนักต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพระตำหนักที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดละออของสถาปนิก ที่จะเลือกใช้วัสดุก่อสร้างให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น การประดับด้วยหินก้อนใหญ่ที่ฐานเพื่อแสดงความหนักแน่นของอาคาร แล้วค่อยกลายเป็นผิวฉาบปูนปาดเกรียงรูปโค้ง มีการใช้โค้งประกอบทั้งส่วนของช่องเปิดตามที่ต่าง ๆ ตอบรับกับรูปโค้งของหลังคาบางส่วน นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมตามที่ต่าง ๆ เช่น จันทัน ฝ้า เพดาน ทับหลัง บัวน้ำตก ฯลฯ อีกเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับงานสถาปัตยกรรมในรัชกาลนี้
นอกจากพระตำหนักต่าง ๆ แล้ว ยังมีสวนหน้าพระตำหนักเปี่ยมสุข ที่จัดทำเป็นสวนแบบตะวันตกเป็นลวดลายแบบเรขาคณิต ไม้พุ่มต่าง ๆ ได้รับการตกแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีศาลาระหว่างพระตำหนักเปี่ยมสุขและตำหนักน้อย มีทางเท้าเชื่อมต่อกัน ปลูกต้นปาล์ม ๒ ข้าง และมีส่วนประดับภูมิทัศน์ ได้แก่ รูปงานปฎิมากรรมต่าง ๆ ได้แก่ รูปแกะสลักของบาหลี รูปอุปกรณ์การเดินเรือ และนาฬิกาแดด เป็นต้น นอกนั้นมีโคมไฟ และหินก้อนใหญ่รูปทรงงดงามประดับตามทางเดิน และสอดแทรกไปตามส่วนต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
พระตำหนักโนล
ทั้งสองพระองค์เสด็จกลังถึงประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะได้ทรงรับการตรวจผลการผ่าตัดพระเนตรอีกหนหนึ่งก่อนเตรียมพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร ในการนี้ได้ทรงเช่าบ้านโนล (Knowle) ไว้ประทับ
พระตำหนักนี้อยู่ที่ตำบลแครนลี (Cranleigh) จังหวัดเซอร์เร่ย์ (Surrey) ใกล้เมืองกิลด์ฟอร์ด (Guildford) ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๓๕ ไมล์ และนับว่าใกล้กับสถานที่ ซึ่งเคยประทับสมัยที่ทรงเป็นนายทหารอังกฤษ คือเมืองออลเดอร์ชอต คฤหาสน์ขนาดใหญ่สีเทา ๆ นี้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบบาโร้ค (Baroque) มีปล่องไฟสูงต่ำเป็นจำนวนมาก หน้าต่างทรงสูงแบบฝรั่งเศสและหน้าจั่วรูปทรงชดช้อยแทนที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีบริเวณโดยรอบกว้างขวางพร้อมพฤกษานานาพันธุ์ จึงเหมาะที่จะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และข้าราชบริพารในกระบวนเสด็จ แต่เมื่อทรงสละราชสมบัติใน ๕ เดือนเศษต่อมา ข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการก็ได้รับคำสั่งให้กลับเมืองไทยเพราะหมดหน้าที่แล้วเหลือแต่ประยูรญาติไม่กี่พระองค์และข้าราชบริพารในพระองค์ไม่กี่คน ประกอบกับพระตำหนักโนลเป็นตึกที่มีลักษณะทึบ ไม่ค่อยเหมาะกับพระอนามัย อีกทั้งค่าเช่าค่อนข้างสูง ดังนั้น ในเมื่อจะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษต่อไปไม่มีกำหนด โดยรัฐบาลอังกฤษอนุญาต จึงทรงเสาะแสวงหาซื้อที่ประทับที่อื่นแทน”
ปัจจุบัน บ้านโนลได้รับการดัดแปลงเป็นสถานพักฟื้นจากอาการป่วย เรียกว่า Knowle park Nursing Home มีสวนเขียวชอุ่มพร้อมพุ่มไม้ดอกไม้นานาชนิด สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเขาลูกย่อม ๆ ของเซอร์เร่ย์ได้โดยรอบ ผู้จัดการสถานพักฟื้นยืนยันว่าชาวบ้านแถบนั้นยังคงเล่าขานถึงล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์สืบต่อมา ดังนั้น สถานพักฟื้นจึงได้ตั้งชื่อห้องชุด ๆ หนึ่งว่า “The Siam Suite” เป็นการเทิดพระเกียรติ
พระตำหนักเกล็นแพมเมิ่นต์
พระตำหนักที่ทรงซื้อเป็นที่ประทับแห่งใหม่ ตั้งอยู่ใน ตำบลเวอร์จิเนีย วอเตอร์ (Virginia Water) ทางเหนือของจังหวัดเซอร์เร่ย์เช่นกันแต่ใกล้เมืองสเตนส์ (Staines) ซึ่งอยู่ในจังหวัดมิลเดิลเซกซ์ (Middlesex) องค์พระตำหนักมีขนาดย่อมลง แต่ก็ยังใหญ่โตและมีเนื้อที่กว้าง ด้วยทรงพระราชดำริว่า ยังต้องทรงดำรงพระเกียรติยศในฐานะอดีตพระมหากษัตริย์แห่งสยามต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง แต่ก็ได้ทรงอนุโลมตามประเพณีท้องถิ่นแถบนั้นซึ่งมักตั้งชื่อบ้านโดยมีคำว่า Glen นำหน้า ตามลักษณะภูมิประเทศ โดย Glen หมายถึงหุบเขา จึงพระราชทานนามพระตำหนักนี้ว่าเกล็นแพ็มเมิ่นต์ (Glen Pammant) ซึ่งทรงกลับตัวอักษรมาจากวลีที่ว่า “ตามเพลงมัน” ซึ่งสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Tam Pleng man อันหมายถึงว่า “แล้วแต่อะไรจะเกิดขึ้น” หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงชุบเลี้ยงมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์และทรงเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารในกระบวนเสด็จทรงเล่าว่า การที่ไม่ทรงใช้นามอย่างดีหรู เช่น ไม่มีกังวล ภาษาฝรั่งเศสว่าซองส์ซูซีส์ (Sans Soucis) อย่างวังไกลกังวล นั้น รับสั่งว่า “พอเกิดเรื่องขึ้นมา เดี๋ยวก็ถูกยึด..”
หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย อมระนันท์ พระนัดดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่เวอร์จิเนียวอเตอร์กับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ท่านพ่อ ซึ่งทรงทำหน้าที่ราชเลขานุการส่วนพระองค์อยู่ในขณะนั้น บรรยายภาพพระตำหนักและบริเวณโดยรวมไว้อย่างละเอียดละออว่า
“ประตูรั้วเหล็กดัดด้านหน้าของพระตำหนักอยู่ที่ตีนเนินเขา มีถนนโรยกรวดคดเคี้ยวขึ้นเนินไป ผ่านต้นอเซเลีย (azalea) นับร้อยต้นทางด้านซ้ายและต้นโรโดเดนครอน (rhododendson) ดอกม่วงใหญ่ทางด้านขวา หลังต้นอเซเลียมีต้นสนยูว์ (yew trees) มหึมา ทำให้ไม่อาจแลเห็นองค์พระตำหนักหรือสนามหญ้าจนกว่าจะเลี้ยวโค้งสุดท้าย ด้านขวาของบริเวณที่จอดรถหน้าพระตำหนักมีสวนหินขนาดใหญ่สวยงามครบถ้วนด้วยสระน้อยใหญ่และน้ำตกถนนเลี้ยวคดอ้อมพระตำหนักไปยังที่โรงจอดรถขนาด ๗ คันด้านหลังและมีที่ให้คนขับรถ หัวหน้าคนรับใช้ชายหนึ่งคนกับลูกน้อง ๒ คน ได้พักอาศัย อีกทั้งมีกระท่อมหลังหนึ่งสำหรับหัวหน้าคนสวนด้วย พระตำหนักเป็นแบบวิคตอเรียน (Victorian) มี ๓ ชั้น และห้องหับจำนวนมาก เช่น ห้องโถง ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น.. ห้องเหล่านี้เต็มไปด้วยเครื่องเรือนแบบอังกฤษ แต่ก็มีสิ่งของต่าง ๆ ของไทยอยู่ประปราย เช่น พระแสงประดับเพชรพลอย หีบพระโอสถมวนถมทองและฉากสีแดงภาพตัวละครไทย ๒ ตัว” (เข้าใจว่าเป็นนางรจนากับเจ้าเงาะ ซึ่งภายหลังตั้งอยู่ที่ทางไปห้องพระบรรทมที่พระตำหนักใหญ่ วังศุโขทัย ผู้เขียน)
กว่า ม.ร.ว.ปิ่มสาย และ ม.ร.ว.สมานสนิท น้องสาว ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็ก จะได้เฝ้า ก็ต้องเดินไปตามห้องต่าง ๆ และชื่นชมในความงดงามไปด้วย จนกระทั่งได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในห้องทรงพระสำราญซึ่งมีไฟจุดอยู่ในเตาผิง ในห้องมีม่านหนาสีน้ำเงินแขวนอยู่ ซึ่งใช้กั้นส่วนที่ย่อมกว่าของห้องให้เป็นเวทีการแสดงได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ประทับยืนอยู่เคียงกับม่านผืนใหญ่นี้ ทำให้พระวรกายยิ่งดูเล็ก ซูบแต่กระนั้นก็ยืดตรงสง่าผ่าเผย พระโอษฐ์แย้ม แต่พระเนตรมีแววเศร้า พระมัสสุ (หนวด) หนา พระขนง (คิ้ว) เข้ม ทรงฉลองพระองค์สูทสักหลาดแบบทวีด (Tweed suit แบบคหบดีชาวชนบทอังกฤษ – ผู้เขียน) แม้พระชนมพรรษาเพียง ๔๓ พรรษา แต่เราเด็ก ๆ คิดว่าทรงพระชรามาก แม้ว่า เส้นพระเจ้า (เส้นผม) จะยังคงเป็นสีดำอยู่...”
ในส่วนของสวนนั้นกว้างใหญ่มาก จากองค์พระตำหนักเป็นเนินลาดลงไปยังสนามหญ้าใหญ่ที่ปลายสุดมีสนามเทนนิสแบบแข็ง และจากนั้นเป็นสวนกุหลาบอันเป็นระเบียบ ส่วนทางด้านซ้ายมีทางเดินไปสู่บังกะโลไม้หลังหนึ่ง ทางด้านขวาของสนามหญ้า มีสวนผักกำแพงล้อมรอบและเรือนกระจกหลายหลังซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นผลไม้ต่าง ๆ หลากชนิด อีกทั้งดอกไม้สำหรับตัดปักแจกันตกแต่งพระตำหนัก แสดงว่าทรงถือหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามสมควร ส่วนด้านหลังพระตำหนักเป็นสวนสนและป่าละเมาะเป็นทางระหว่างเนิน ปกคลุมไปด้วยดอกไม้คลุมดินต่าง ๆ เช่น บลูเบลล์ (bluebell) แดฟโฟด์ล (daffodil) และ พริมโรส (primrose) ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ แลดูเป็นสีฟ้าสีเหลืองพริ้วอยู่ในสายลม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โปรดที่จะเสด็จลงมาทรงพระดำเนินกับสุนัขซึ่งทรงเลี้ยงไว้ในช่วงบ่าย ๆ
สำหรับพระราชานุกิจนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสวยพระกระยาหารเช้าในห้องพระบรรทม โดยมหาดเล็กคนไทยเชิญเครื่องไปตั้งถวายเช่นเดียวกับที่เคยทรงปฏิบัติในประเทศไทยส่วนสมเด็จฯ เสวยในห้องแต่งพระองค์ ซึ่ง ม.ร.ว.ปิ่มสาย เล่าว่า “สวยน่ารัก สมกับที่เป็นของสุภาพสตรี ทั้งยังอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมเย็น ๆ ของดอกสวีทพี (sweet peas)” พืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ตัดดอกสีอ่อน ๆ ต่าง ๆ มาปักแจกัน แต่ที่เด็ก ๆ ติดใจมาก คือ “ตู้กระจกหลายใบที่เต็มไปด้วยตัวสัตว์และรูปปั้นเล็ก ๆ ตรึงตาและน่าจับต้องยิ่งนัก” ส่วนพระญาติจะเสวยและรับประทานอาหารเช้าแบบอังกฤษ บางครั้งเสด็จลงมาเสวยด้วย สำหรับอาหารกลางวันตอนบ่ายโมงและอาหารค่ำตอนสองทุ่มนั้น ก็เป็นอาหารฝรั่งเช่นกัน เริ่มด้วยซุป ตามด้วยปลาแล้วก็เนื้อ จบด้วยของหวาน ขนม ผลไม้ โดยทุกคนต้องเข้านั่งโต๊ะเสวยให้เป็นระเบียบและตรงต่อเวลา โดยหัวหน้าบริกร (butler) ตีฆ้องเป็นสัญญาณ และต้องแต่งชุดราตรีอย่างโก้ตอนมื้อค่ำด้วย การที่ต้องทรงจ้างฝรั่งมาเป็นคนรับใช้และคนขับรถและการที่ทุกคนต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยตามธรรมเนียมฝรั่ง ตลอดจนรักษามารยาทในการกิจการอยู่เช่นนี้ ก็เพื่อดำรงพระเกียรติยศ เพื่อไม่ให้ฝรั่งดูถูกเอาว่าไทยเราไม่รู้จักความเป็น “อารยะ” มีแต่ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นวันหยุดพักผ่อนของคนรับใช้เท่านั้นที่บางครั้งทรงพระคำนึงถึงพระกระยาหารไทย แต่ก็มิได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำในครัวฝรั่งบนพระตำหนัก เพราะจะมีกลิ่นแรงติดอยู่ จึงรับสั่งให้ไปทำกันที่บังกะโล สมเด็จฯ โปรดทรงตำน้ำพริก ส่วนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นั้น แม้จะไม่ทรงปรุงเอง แต่ทรงทราบว่าอาหารชนิดใดต้องปรุงอย่างไร ผู้ที่ทำถวายเสนอคือ หลวงศักดิ์นายเวร (แจ่ม เงินยอง) มหาดเล็กข้าหลวงเดิมและนางศักดิ์นายเวร (เชย เงินยอง) ข้าหลวงสมเด็จฯ ผู้จงรักภักดีอย่างที่เรียกได้ว่า “ถวายชีวิต”
ในช่วงบ่าย มักจะทรงพระดำเนินเล่นที่ป่าละเมาะ ในช่วงฤดูร้อน สมเด็จฯ ทรงกอล์ฟหรือเทนนิส บางครั้งนายบันนี่ ออสติน (Bunny Austin) นักเทนนิสชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงระดับโลกในเวลานั้นได้ไปเฝ้าและเล่นคู่กับสมเด็จฯ สิ่งหนึ่งที่ทรงปฏิบัติตามแบบฉบับของคนอังกฤษคือ เสวยพระสารสชาในช่วงบ่ายประมาณ ๑๗.๐๐ น. ที่สนามหญ้า ซึ่งบางครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ไปเสวยตามร้านธรรมดาทั่วไป เช่น ริมแม่น้ำเทมส์ เป็นการที่ได้ทรงผ่อนคลายพระอารมณ์อย่างหนึ่ง
หลังพระกระยาหารค่ำ จะประทับอยู่กับพระประยูรญาติเหมือนพ่อแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระอักษรซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือประเภทประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ตำราการทำสวน และนวนิยายของซัมเมอร์เชท มอห์ม (Somerset Maugham) อีเวอร์ลิน วอห์ (Evelyn Waugh) หรือแม้แต่แบบขำขันของพี.จี.วูดเฮาส์ (P.G.Wodehouse) ส่วนพระประยูรญาติจะเล่นแผ่นเสียงและคุยกัน ซึ่งดูเหมือนว่าทรงรักษาพระสมาธิในการทรงพระอักษรได้ดี แต่ก็ทรงสามารถรับส่งแทรกเข้าไปในวงสนทนาได้ดังที่ ม.ร.ว.ปิ่มสาย เล่าว่า เมื่อเนื้อร้องของเพลง The Very Thought of you ถึงตอนที่ว่า “ฉันมีความสุขราวกับพระราชา” ก็รับสั่งพ้อว่า “ฉันไม่มีความสุขเลยต่างหาก เจ้าโง่” (“I m not happy,you fool”)
พึงเข้าใจว่า ในช่วงเวลานั้น ประทับอยู่กับแต่กับพระประยูรญาติและข้าราชบริพารที่ใกล้ชิด จริง ๆ เพราะที่ช่วงที่ทรงสละราชสมบัติใหม่ ๆ คนไทยในอังกฤษยังวางตัวไม่ถูก เช่น หากบังเอิญอยู่ในร้านอาหารเดียวกัน ก็จะไม่เข้าไปเฝ้าฯ หรือแม้แต่ถวายคำนับ เกรงว่าจะมีภัยมาถึงตน หรือครอบครัวในเมืองไทยไม่กล้าถวายความเคารพหรือเข้าไปเฝ้าฯ แต่ก็มีบางคนที่กล้าลุกขึ้นยืนถวายคำนับ ในขณะที่เพื่อน ๆ นั่งก้มหน้าทำเป็นมองไม่เห็น
ตลอดระยะเวลานี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่ค่อยทรงสบาย ทรงแพ้อากาศหนาวชื้น ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวจึงมักจะเสด็จไปยังที่ซึ่งอากาศอุ่นกว่าทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ครั้นเมื่อประทับอยู่ที่เกล็นแพ็มเมิ่นต์ได้ประมาณ ๒ ปี คือ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๘ และ ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๕ – ๑๙๓๗) พระอาการประชวรหนักขึ้น ประกอบกับไม่ต้องทรงรักษาพระเกียรติยศมากเท่าเดิมแล้ว จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยขายพระตำหนัก “ตามเพลงมัน” และซื้อพระตำหนักใหม่ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การดูแลรักษามากกว่า ที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น (Biddenden) ใกล้เมืองแอชฟอร์ด (Ashford) ในจังหวัด (Kent) ประมาณ ๒๐๐ ไมล์จากกรุงลอนดอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญมีภูมิอากาศดีกว่าที่เวอร์จิเนีย วอร์เตอร์ เพราะใกล้ทะเลกว่า แต่ความที่ไม่ห่างจากช่องแคบโดเวอร์ (Strait of Dover) มากนักเช่นนี้ กลับกลายเป็นเหตุให้ทรงเดือดร้อนอีกดังจะได้กล่าวต่อไป
ส่วนพระตำหนักเกล็แพ็มเมิ่นต์นั้น ปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน และใช้ชื่อว่า Greywell Court และ Greywell House เป็นบ้านส่วนบุคคล
พระตำหนักเวนคอร์ต
นับเป็นความบังเอิญที่หมู่บ้านบิ้ดเด็นเด็น ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกวีเอกเชคสเปียร์ (Shakespeare) คือ ต้นคริสศตวรรษที่ ๑๗ นี้ มีสัญญลักษณ์ของหมู่บ้านปรากฏอยู่เป็นรูปหญิงสาวฝาแฝดตัวติดกันที่บั้นเอว (The Bidden Sisters) คล้ายแฝดสยาม (Siamese twins) อินกับจัน
องค์พระตำหนักเวนคอร์ต (Vane Court) ซึ่งเสด็จเข้าประทับเมื่อเดือนกันยายน ๒๔๘๐ เป็นตึกผนังถือปูนสีขาวประกบด้วยท่อนไม้โอ้ค (Oak beamed) ทาสีดำแบบทิวเดอร์ (Tudor) คานค้ำพื้นชั้นบนที่เพดานเป็นท่อนซุงใหญ่ เช่นกัน ความเก่าแก่ทำให้พื้นมีความลาดเอียงถึงจนาดที่สิ่งใดที่อยู่บนพื้นกลิ้งไปถึงอีกห้องหนึ่งได้
ที่พระตำหนักเวนคอร์ตนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงพระสำราญมาก เสด็จลงสวนทรงรดน้ำพรวนดินสวน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงวางผังปลูกต้นไม้และไม้ดอกด้วยพระองค์เอง ทรงดูแลดอกคาร์เนชั่น (Carnation) ทุก ๆ วัน ในเรือนกระจกที่มีไฟฟ้าทำให้อุณหภูมิพอเหมาะ สมเด็จฯ ทรงตัดมาปักแจกันไว้ตามห้องต่าง ๆ ในพระตำหนักทุกวัน ในสวนมีสะพานหินเล็ก ๆ ข้ามบ่อน้ำที่ทรงเลี้ยงเป็ดเทศและปลาไว้หลายพันธุ์ “ทรงเพลิดเพลินในการทอดพระเนตรพวกเป็ดน้ำเทศสีสวยงามเหล่านี้ ซึ่งว่ายวนอยู่ระหว่างกอไม้ในบ่อเล็กกลางสวนดอกไม้ บางตัวก็เดินขึ้นไปบนบกเข้าไปในบ้านเล็ก ๆ ที่สร้างไว้บนเนินเขาเตี้ย ๆ ริมบ่อให้เป็นที่พักและฟักไข่ได้
ที่พระตำหนักนี้ มีสนามเทนนิสเช่นเดียวกับที่พระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ และถึงเวลานั้นบรรดาคนไทยและนักเรียนไทยในอังกฤษมีความกล้ามากขึ้นที่จะมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ของพระราชทานพระบรมราชานุญาตแข่งขันเทนนิสที่สนามส่วนพระองค์ ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกันเองมากกับนักเรียนไทยและประทับที่พื้นสนามพระตำหนักกับพวกเขาขณะเสวยพระสุธารสชาในช่วงฤดูร้อน แวดล้อมไปด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ต่อมาจึงเสด็จไปทรงร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ (meeting) ที่นักเรียนไทยจัดขึ้นปีละครั้ง และสมเด็จฯ ได้ทรงเทนนิสกับพวกเขาด้วยโดยครั้งหนึ่งทรงครองตำแหน่งรอบชนะเลิศ
ในช่วงที่ประทับอยู่ที่เวนคอร์ตนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์พระราชประวัติของพระองค์เอง โดยทรงวางแผนว่าจะทรงเล่าตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ถึงทรงสละราชสมบัติด้วยต้องพระประสงค์จะให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ น่าเสียดายที่พระโรคทำให้ทรงพระนิพนธ์ได้ถึงเมื่อทรงมีพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา เท่านั้น
ครั้นถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๙) สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งเค้า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ แน่พระทัยว่า สงครามจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงทรงเตรียมพร้อมด้วยการประหยัดทุกทาง ทรงเลิกเช่าห้องชุดที่ลอนดอนและทรงหาที่ประทับใหม่ให้ใกล้กับตำหนักดอนฮิลล์ (Dawn Hill) ซึ่งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิระศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม และหม่อมมณี ภานุพันธุ์ ณ อยุธยา (ภายหลังเป็นคุณหญิงมณี สิริวรสาร) เช่าอยู่ ณ สถานที่จัดสรรชั้นดีชื่อว่า เวนท์เวอร์ธ เอสเตท (Wentworth Estate) ในแถบเวอร์จิเนีย วอเตอร์ ไม่ไกลจากพระตำหนักเกล็นแพ็มเมิ่นต์ ทั้งนี้เพราะหากสงครามเกิดขึ้นจริง จังหวัดเค้นท์ ซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบอังกฤษอาจถูกเยอรมันบุก จึงจะถูกประกาศเป็นเขตทหาร
หนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ Sunday Dispatch เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๑) ได้รายงานจากหมู่บ้านบิ้ดเด้นเด็นว่า หมู่บ้านนี้กำลังตื่นเต้นที่เจ้าชายประชาธิปก” (Prince Prajadhipok) อดีตพระมหากษัตริย์สยามกำลังจะเสด็จกลับมาที่นั่นหลังจากที่ได้เสด็จประพาสประเทศ อียิปต์ ทั้งนี้เพราะบรรดาชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ต่างรักและเทิดทูนพระองค์ด้วยทรงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ (generosity and kindness) พวกเขาได้เฝ้าฯ บ่อย ๆ เพราะแทนที่จะทรงสั่งซื้อของและให้ร้านในเมืองไปส่งที่พระตำหนัก กลับทรงจักรยานตามถนนเล็ก ๆ ของหมู่บ้าน เพื่อทรงจับจ่ายจากร้านในหมู่บ้าน โดยทรงคำนึงถึงความเป็นธรรมมาก เพราะสัปดาห์หนึ่งจะทรงซื้อของที่ร้านหนึ่ง อีกสัปดาห์หนึ่งที่อีกร้านหนึ่งโปรดที่จะทรงซื้อช็อคโกแล็ตที่ร้านกาแฟประจำหมู่บ้านทำเองและบางครั้งเสวยพระกระยาหารมื้อย่อม ๆ ที่ร้านนั้นด้วย ในช่วงฤดูร้อน ทรงพระกรุณาทำหน้าที่ “มูลนาย” (Squire) ประจำหมู่บ้าน โดยทรงเป็นองค์ประธานพระราชทานถ้วยรางวัลในงานประกวดดอกไม้ และงานแข่งม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง “มูลนาย” พระองค์นี้ทรงรถยนต์แทนที่จะทรงม้าล่าสัตว์อย่างมูลนายอังกฤษดั้งเดิมทั้งหลาย นอกจากนั้นยังทรงเป็นขวัญใจของพวกเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน แม่หนู่โอล์เว่น โจนส์ (Olwen Jones) วัย ๔ ขวบ อวดตุ๊กตาตัวใหญ่ซึ่งเธอได้รับพระราชทาน เธอจะถวายบังคม (Salaam) ทุกครั้งที่ได้เข้าเฝ้าฯ เธอพูดคำภาษาไทยที่ทรงสอนเธอได้หลายคำ เช่น “มือเปื้อน” หรือ “น้ำชา” และชื่อวันต่าง ๆ ในสัปดาห์ แม่หนูบอกกับผู้สื่อข่าวว่า “อยากให้เสด็จกลับมาเร็ว ๆ จังเลย” ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้มีความมั่นใจว่า ไม่มีวันที่จะเสด็จกลับสู่ประเทศสยาม เพราะทุกครั้งที่เขาเห็นพระองค์ทรงพระดำเนินไปตามถนนในหมู่บ้านกับสุนัขพันธ์ แอร์เดล (Airedale) ที่ชื่อ “แซม” (Sam) ของพระองค์แล้ว เขาเชื่อว่าพระองค์โปรดที่จะประทับในประเทศอังกฤษอย่างเงียบ ๆ มากกว่า
หนังสือพิมพ์อังกฤษอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) รายงานข่าวสำคัญเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ขณะเสด็จจากบิ้ดเด็นเด็นไปประทับแรมที่ตำหนักดอนฮิลล์เพื่อทรงคอยการเกิดของโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตว่าทรงได้รับโทรเลขแจ้งว่ารัฐบาลไทยได้ยื่นฟ้องพระองค์ และสมเด็จฯ โดยกลาวหาว่าทรงยักยอกเงินแผ่นดิน ไม่กี่วันหลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองโรยาต์ (Royat) ที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อประทับรักษาพระองค์โดยทรงสรงน้ำแร่แล้วเสด็จประพาสอียิปต์ เสด็จกลับไปอังกฤษได้ไม่กี่วัน ประเทศอังกฤษได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีในวันที่ ๓ กันยายน ค.ศ. ๑๙๓๙ (พ.ศ. ๒๔๘๒) ดังนั้นการเตรียมการของพระองค์ที่จะเสด็จไปประทับอยู่ที่อินเดียเพื่อที่นายเครก (Mr.R.D.Craig) ทนายความของพระองค์ซึ่งจะไปดูแลการสู้คดีที่กรุงเทพฯ จะได้เดินทางนำเอกสารถวายให้ทรงลงพระนามได้ทันกาล จึงต้องเป็นล้มเลิก กลับต้องทรงเตรียมพระองค์ที่จับกับสถานการณ์สงครามในประเทศอังกฤษ ทรงปิดพระตำหนักเวนคอร์ตไว้และทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักใหม่ ชื่อว่า คอมพ์ตัน เฮ้าส์ (Compton House)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับอยู่ที่เวนคอร์ต ระหว่างเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗) ถึงประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙) ครั้นในเดือนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จสวรรคต คือ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) พระตำหนักนี้ก็ถูกยึดครองโดยฝ่ายทหารอังกฤษเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการแห่งหนึ่ง จากนั้นได้เปลี่ยนเจ้าของหลายครั้ง โดยครั้งหนึ่งเคยอยู่ในมืองเจ้าของบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ดอกไม้และพืชผัก ปัจจุบันเป็นบ้านส่วนบุคคล
พระตำหนักคอมพ์ตัน
พระตำหนักคอมพ์ตัน เฮาส์ (Compton House) ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเว้นท์เวอร์ธ (Wentworth) ในเวรอ์จิเนีย วอเตอร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเช่าระยะยาว ๒๐ ปี มีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ และนับว่ามีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระตำหนักที่เคยประทับมาก่อนหน้านี้ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและดูแลง่าย องค์พระตำหนักเป็นแบบสมัยใหม่แนวจอร์เจียน (Georgian) สีขาว มีสองปีก ปีกละประมาณ ๓ – ๔ ห้องในแต่ละชั้น ชั้นล่างของปีกหน้ามุข มีห้องประทับรับแขกห้องเสวย ห้องเครื่อง (ครัว) และห้องพักอาหาร (Pantry) เล็ก ๆ โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตและหม่อมมณี พร้อมบุตร ได้ย้ายเข้ามาร่วมพระตำหนักด้วยในภายหลัง
ช่วงนี้เป็นภาวะสงคราม ซึ่งมีเครื่องบินของเยอรมันไปทิ้งระเบิดที่อังกฤษ รัฐบาลจึงให้ทุกบ้านเย็บผ้าดำติดกับม่านหน้าต่างทุกบาน เพื่อมิให้แสงสว่างเล็ดลอดออกไปในตอนกลางคือให้เครื่องบินของศัตรูเห็นได้ว่าเป็นที่ซึ่งมีอาคาร แจกหน้ากากป้องกันก๊าซ (gas masks) ให้ประชาชนทุกคน รวมทั้งแจกจ่ายคูปองแบ่งปันอาหารและน้ำมัน (rations) ด้วย นับว่าเป็นภาวะที่ต้องทรงลำบากเช่นเดียวกับชาวบ้านอังกฤษทั้งหลาย
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2483 สงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นภัยต่ออังกฤษมากขึ้น จึงทรงอพยพครอบครัวของพระองค์ ไปประทับที่ตอนเหนือของจังหวัดเดวอน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษ ทรงอพยพไปที่นั่นในช่วงฤดูร้อนคือประมาณเดือนมิถุนายน ของปี พ.ศ. 2483
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จฯ ประทับอยู่ที่จังหวัดเดวอนเพียงไม่กี่เดือน ก็ได้ตัดสินพระราชหฤทัยย้ายที่ประทับอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ปลอดภัยจริงๆ โดยเสด็จไปประทับที่โรงแรมเลคเวอร์นี่ (Lake Vyrwny Hotel) ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง ใจกลางแคว้นเวลส์ตอนเหนือ ประทับอยู่ที่โรงแรมนี้จนกระทั่งฤดูหนาว อากาศที่นั่นหนาว ชื้นมาก พระโรคพระหทัยกำเริบหนัก ทรงมีพระอาการหอบมาก และเจ็บพระหทัย ทรงอ่อนเพลียมาก ดังนั้น จึงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับไปประทับ ที่คอมพ์ตัน เฮ้าส์ อีกครั้งหนึ่ง หม่อมมณีฯ เขียนไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รับสั่งว่า “ถ้าฉันตาย ก็ขอให้ตายสบายๆ ในบ้านช่องของเราเองดีกว่าที่จะมาตายในโรงแรม...” และหมอประจำพระองค์จะได้ถวายการรักษาพยาบาลได้ง่ายขึ้นด้วย
เสด็จประทับ ณ สรวงสวรรค์
หลังจากเสด็จกับไปประทับที่คอมพ์ตัน เฮาส์ พระอาการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ดีขึ้น มีหมอเวลเลิ่น (Lewelan) ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ๆ พระตำหนักถวายรักษาและฉีดพระโอสถ พระอาการเจ็บพระหทัยเบาบางลงเมื่อฤดูใบไม้ผลิ ของ พ.ศ. 2484 มาถึง อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ดอกไม้บานสะพรั่ง มีเสียงนกร้องชวนให้พระอารมณ์แจ่มใส รับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าฯ ได้ ทรงพระสำราญกับเด็กๆ เช่นเคย
พระชะตาชีวิตถูกโหมกระหน่ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้ทรงทราบว่าเวนคอร์ตที่ทรงปิดไว้ถูกยึดครองเป็นที่ทำการของฝ่ายทหารอังกฤษไปแล้ว ควรที่จะส่งคนไปเก็บสิ่งของมาในพระตำหนักก่อนที่จะส่งมอบเป็นทางการต่อไป สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงอาลัยพระตำหนักนี้มาก จึงทรงมีพระราชดำริจะเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง แต่พระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรุดหนักลง
ครั้นเช้าวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ทรงตื่นพระบรรทมแต่เช้าตรู่พระอาการดูดีขึ้นมาก จึงรับสั่งกับสมเด็จฯ ว่าให้สมเด็จฯ เสด็จไปพระตำหนักเวนคอร์ตได้ ไม่ต้องทรงเป็นพระกังวล สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ จึงเสด็จไปโดยรถยนต์พระที่นั่งตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งยังทรงฉลองพระองค์ชุดบรรทมเป็นสนับเพลาแพรและฉลองพระองค์แขนยาว เสวยไข่ลวกนิ่มๆ ซึ่งนางพยาบาลประจำพระองค์จัดถวาย แล้วบรรทมต่อ ประมาณ 9 นาฬิกา นางพยาบาลพบว่าเสด็จสวรรคตเสียแล้วด้วยพระหทัยวาย ไม่มีผู้ใดทราบว่าเสด็จไปประทับ ณ สรวงสวรรค์ ณ เวลาใดแน่ ที่แน่ๆ ตามคติไทยก็คือทรงพระบุญญาธิการยิ่งนัก จึงเสด็จสวรรคตอย่างสงบนิ่ง
สมเด็จฯ เสด็จกลับไปประทับที่พระตำหนักคอมพ์ตัน เฮ้าส์ ต่อไปตลอดระยะเวลาสงคราม สองปีหลังจากที่สงครามสงบลง สมเด็จฯ ได้ตัดสินพระราชหฤทัยสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย จึงได้เสด็จออกจากพระตำนักคอมพ์ตันเฮาส์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น