หนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
ในที่นี้ผู้เขียนขอศึกษา 3 ประเด็นคือ 1. การใช้ข้อมูลเรียบเรียง 2. เนื้อหาเชิงวิเคราะห์และ 3. บทวิเคราะห์ภาพรวม
การใช้ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” เป็นการนำเนื้อหาจากต้นฉบับพิมพ์ดีด ภาคสอง ส่วนที่ 1 หน้า 1 – 349 จัดแบ่งเป็น 2 บทคือ
บทที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และ
บทที่ 2 ออกจากกรุงเทพฯ
หนังสือฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ปรากฏลายหัตถ์พระนามและปีศักราชที่เชื่อว่าทรงเขียนตอนนี้เสร็จคือปี พ.ศ. 2498 นั้น
เมื่อพิจารณาเนื้อหาทั้ง 2 บท ค่อนข้างแน่ชัดว่าข้อมูลหลักที่ทรงใช้เขียนคือบันทึกประจำวันซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478
เป็นบันทึกของพระองค์เองกับบันทึกของพระภคินีหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุคุณาวรรณ ดิศกุล ทรงเรียก “หญิงเหลือ” มีความระบุว่า
“ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะเล่าตามไดอารีบางวัน” ซึ่งหมายถึงบันทึกส่วนพระองค์
และยังทรง “ขอให้หญิงเหลือทำบันทึกเรื่องราว ตั้งแต่ 24 มิถุนายน จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม”
ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ถูกนายทหารของคณะราษฎรควบคุมตัวไว้ที่นั่น (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 12, 21)
ข้อมูลประกอบการเขียนอีกส่วนหนึ่งเป็นถ้อยคำที่ทรงรับฟังจากบุคคลต่าง ๆ จำนวนมากที่แวะเข้าไปเยี่ยมเยียนตลอด 24 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ทรงเล่าไว้ชัดเจนว่า ยังรับข่าวสารที่อยากรู้เวลานั้นจากเจ้าพระยาวรพงษ์ กระทรวงวังและเจ้าพระยามหิธร (ลออไกรฤกษ์)
ถึงปฏิกิริยาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เมื่อถูกคณะราษฎรอัญเชิญเสด็จกลับกรุงเทพฯ ว่าทรงรู้สึกและดำริการต่อไปข้างหน้าอย่างไร
ส่วนเรื่องเบื้องหลังกระทำการต่อการฯ ทรงได้รับทั้งข่าวบอกเล่าและข่าวหนังสือพิมพ์ “(สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น หน้า 27)”
บทที่ 2 ยัง เปิดเผยถึงแหล่งข่าวสารช่วงแรกหลังการปฏิวัติว่าวังวรดิศ ประกาศปิดวังรับแขกมีแต่พระราชธรรมฯ ซึ่งเคยรับราชการกระทรวงธรรมการแต่เสด็จพ่อยืมตัวมาเป็นเลขานุการอภิรัฐมนตรีสภา
หลังเหตุการณ์ทรงเขียนจดหมายถึงพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา
พระราชธรรมฯ จึงเป็นแหล่งข่าวสำคัญรวมถึงพี่น้องผู้ชายที่ไปทำงานประจำวัน (ขณะนั้นน่าจะรับราชการทางการหลายคน)
เป็นคนบอกเหตุการณ์ภายนอก ทำให้การรับข่าวสารจากภายนอกที่สำคัญเป็นได้ด้วยดี
ขณะเดียวกันทรงรับฟังข่าวสารจากวิทยุที่เป็นการเคลื่อนไหวในการจัดตั้งคณะผู้ปกครองยุคใหม่ที่ทรงเป็นอย่างปราศจากความเชื่อถือในความสามารถหรือไม่ทรงเชื่อมั่นว่าจะบริหารราชการแผ่นดินได้
เห็นได้ว่าตั้งบันทึกแหล่งข่าวหนังสือพิมพ์ และบุคคลต่าง ๆ ที่เกือบหมดเป็นข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลในฝ่ายผู้เขียนโดยเฉพาะสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์
บทที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
บรรยายเหตุการณ์จากสมุดบันทึกที่เปิดเรื่องด้วยหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้ข่าว “ขบถ”
จากนั้นจึงเป็นรายละเอียดการถูกควบคุมตัวที่พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยแบ่งหน้าที่ให้ ม.จ พูนพิศมัยอยู่ข้างนอกคอยส่งอาหารและรับสถานการณ์อยู่ที่วังวรดิศ
โดยมีหญิงเหลือหรือหม่อมเจ้าพัฒนายุคลฯตามเสด็จ ถวายการรับใช้ “เสเด็จพ่อ” ในที่คุมขัง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
งานเขียนนี้ให้ภาพสองฉากที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอาจถือเป็นตัวแทนพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูง
ที่มีหม่อมเจ้าพูนพิศมัยเป็นผู้ดำเนินเรื่องหลักในฐานะผู้ก่อการฯ สองภาพถูกฉายให้เห็นด้วยอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียนแตกต่างกัน
บทนี้เรื่องเล่าเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 24 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ภาพ “ขบถ” ถูกสื่อสารผ่านบทสนทนาระหว่างผู้เขียนกับผู้คนมาเฝ้าจำนวนมากที่สำคัญทรงบันทึกข่าวและความเป็น “ขบถ”
ด้วยประกาศฉบับแรกคณะราษฎรเต็มฉบับจนเห็นสาระการโจมตี “เจ้านาย” โดยยังไม่ทรงโปรดชื่อผู้เขียนในบทนี้แต่ทรงเขียนให้ทูตฮอลันดา Mr. HW. Huben อ่านประกาศแล้วอุทานว่า
“Depression Impossible” ในที่นี้ยากจะคาดเดา การอุทานว่าเศรษฐกิจตกต่ำเป็นเรื่องไม่จริง ตามประกาศ เป็นความเห็นสวนทางกับคณะราษฎร คือไม่ยอมรับว่ามีภาวะเดือนร้อน
ทางเศรษฐกิจหรือการขบถของคณะราษฎรนั้น “Impossible” รวมถึงการพบกับ Mr. R.B Staved ที่ปรึกษาการต่างประเทศเป็นเรื่องที่ทำให้รู้ว่าผู้เขียนเองรับรู้ก่อนหน้า 24 มิถุนายนว่า
“เวลานี้เจ้ากำลัง degenerate (เสื่อมถอย) และคนที่ขึ้นมากำลังขึ้นมาดิบ ๆ สุก ๆ hall baked ถ้าเราแก้ไขไม่ค้นจะมีภัยแน่” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 8, 9)
และในขณะที่ผู้เขียนอ่านประเทศคณะราษฎรนั้นทรงคิดว่า “งานของชาวต่างประเทศจริง ๆ หรือนี่ เพราะก่อนเกิดเหตุได้สัก 7 วัน
ครูภาษาฝรั่งเศสของข้าพเจ้ามาบอกว่าจะเกิดบอลเชวิคในเร็ว ๆ นี้ (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 85 ) ผู้เขียนยังทราบข่าวจากกลุ่มเพื่อนผู้หญิงว่า
“หมู่นี้มีคณะเกลียดเจ้าเสียจริง ๆ” ทว่าคำตอบจากที่ทรงทราบมาตลอดว่าจะเกิดขบถล้มล้างการปกครองแบบเติม กลับเป็นว่า
“ทรงเชื่อในศาสนาที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว” บางที่คำตอบเช่นนี้อาจเป็นกรอบความคิดและความเชื่อของงานเขียนของท่านก็เป็นได้
ในขณะที่วันถัดมา เป็นวันที่ 25 มิถุนายน เป็นวันที่เขียนถึงบุคคลต่าง ๆ ที่มาเยี่ยมตลอดวัน ที่ทรงเห็นว่ามีทางแสดงความเป็นห่วงและมาสังเกตท่าที
คนสำคัญในยุคนั้นที่ถูกนำมาเขียนถึง เป็นต้นว่า พระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิรยศิริ) เป็นบุคคลที่ทรงแปลกใจมาก “ต้องเคยเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
สมัย “เสด็จพ่อ” ทรงเป็นเสนาบดี เป็นคนเคยทำงานสำเร็จ หรือที่เรียกว่ามือตีมาตั้งแต่ครั้งทำแผนที่ (ส่งหมายถึงทำงานกรมแผนที่มาก่อน) อยู่ใต้บังคับบัญชาเสด็จพ่อ (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 17)
เป็นคนที่ผู้เขียนเห็นว่ามาเยี่ยมด้วยหน้าตาเบิกบาน และปลอบโยน ผู้เขียนว่า “เขาทำตีเรียบร้อย ไม่มีขาดตกบกพร่อง” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 17)
ผู้เขียนฟังประโยคนี้แล้วจงบรรยายความรู้สึกเวลานั้นว่า “ข้าพเจ้าตะลึงมองด้วยความไม่เข้าใจว่า ตี แปลว่าอะไรเวลานั้น” และก็เห็นว่า “เขาพูดต่อไปพร้อมกับร้องไห้ว่า “เสียแต่จับเอาเสด็จไป” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 17)
ในบรรดาผู้ตนที่ทรงเขียนถึงอีกหลายคน มีบุคคลคนหนึ่งที่ควรบันทึกและเขียนถึงบทสนทนาที่ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ “ขบถ”
ซึ่งมีความหมายต่อข้อถกเถียงประวัติศาสตร์การเมือง พ.ศ. 2475 นั่นคือ เมอซิเออร์ ริการี ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ที่มาเยี่ยมด้วยความเป็นห่วง ทรงเขียนไว้ว่า
“เขาถามแกมต่อว่าๆ “ทำไมไม่ให้รัฐธรรมนูญเสียเองท่านหญิง” ข้าพเจ้าถามว่า “ใครใครไม่ให้” เขาตอบว่า “สมเด็จน่ะซิ่”
ข้าพเจ้าถามว่า “ใครบอกเล่าว่าสมเด็จเป็นผู้ไม่ให้” เขาตอบว่า “ทุกคนรู้เช่นนั้น” “แล้วอธิบายต่อว่า” “เขาว่าสมเด็จกับสมเด็จกรมพระนริศฯ
เป็นคนที่ไม่ให้ “ข้าพเจ้าหัวเราะตอบว่า “อ้อคนแก่สมัยเก่าเกินไปซิ่” เขาทำหน้าประหลาดใจแล้วถามว่า “ทำไมไม่จริงหรือ” ข้าพเจ้าก็ตอบว่า
“ฉันเคยได้ยินเสด็จพ่อตรัสเล่าว่า ควรให้ เพราะอย่างไร ก็จะต้องให้ในวันหนึ่งข้างหน้า แต่ต้องฝึกหัดให้ราษฎรให้รู้ตัวว่ามีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองของตัวอย่างไรเสียก่อนจึงให้
มิฉะนั้นจะกลายเป็นอันตรายแก่บ้านเมืองโดยไม่รู้ตัว “เมอซิเออร ริการีหน้าตื่นถามว่า “จริงหรือท่านหญิง” เรื่องเล่านี้ผู้เขียนยังอ้างอิงหลักฐานสำคัญ
คือ เมมเมอแรนดัม ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทำขึ้นถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
จนทำให้ เมอซิเออร์ริการีตกใจและทุนผู้เรียนว่าเขาต้องนำเรื่องนี้ไปแจ้งให้เพื่อนของเขาทราบ (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 15-16)
ในบทนี้ผู้เขียนใช้กลวิธีเขียนถึง “ผู้นำ” ก่อการขบถทีละน้อยผ่านการสนทนากับผู้มาเยี่ยมในวันที่ 25 มิถุนายน นั่นคือ
มิสเตอร์อละมิสซิส เจ เอฟ จอนสัน กงสุลเยเนราชอังกฤษ ผู้ตั้งคำถามกับผู้เขียนว่า “ท่านรู้ไหม หลวงประดิษฐ์ คือใคร เมื่อตอบว่าไม่รู้
กงสุลตอบได้ทันทีว่า “พ่อเป็นเจ๊ก เกิดที่กรุงเก่า” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 19) ดูเหมือนว่าข้อความปรากฏชื่อ “หลวงประดิษฐ์หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดีพนมยงค์)
มีนัยยะถึงการทรงเห็นว่า หลวงประดิษฐ์คือผู้นำหลักหรือต้นคิดเหตุการณ์นี้ เพราะตลอดเรื่องไม่พบการเขียนถึงชื่อผู้ก่อการอื่นเลย
ที่สำคัญยังเชื่อมโยงความเป็นจีนให้สัมพันธ์กับหลวงประดิษฐ์ รวมถึง การเขียนให้บทสนทนา วันถัดมา 26 มิถุนายน กับบุคคล ชื่อ “หลวงชำนิฯ”
ซึ่งเรียกพวกคณะราษฎรว่า “ก๊กมินตั๋ง” อีกด้วย ในเวลาเดียวกันผู้เขียนเชื่อ
ว่าในบรรดาพวกผู้ก่อการมีกองกำลังใช้ความรุนแรง ที่รับข่าวมาว่ามี “คณะฆ่าเจ้า” เป็นพวกผ้าเช็ดหน้าสีเหลืองโผล่จากกระเป๋าซ้าย
ซึ่งทรงพบเห็นในท้องถนนระหว่างนั่งรถไปส่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
รวมถึงสังเกตเห็นผู้แต่งกายลักษณะนั้นหน้าห้องขัง (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 20)
ผู้เขียนยังเล่าถึงสภาพการณ์อันไม่น่าไว้ใจและอาจก่ออันตรายได้ตลอดเวลา ผ่านบทพูดคุยในการเยี่ยมเยียนจากพูดชาติต่างๆ
กรณีทูตออลันตา ทูลแนะนำให้นำทรัพย์สินออกจากวางไปไว้ที่อื่น เพราะกลัวอันตราย ด้วยเหตุผลว่า “บางกอกเต็มไปด้วยคนต่างชาติ”
ถ้าเขาเลยลุกขึ้นด้วย ท่านหญิงจะว่าอย่างไร (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 13) คนต่างชาติในบทสนทนานี้ คือ ชาวจีนอพยพที่เข้ามาพำนักและประกอบอาชีพในกรุงเทพฯ
การเชื่อมโยง เหตุการณ์ 2475 และผู้นำการก่อการเข้ากับชาวจีนและความเป็นจีน ยังปรากฏอีกตัวอย่างหนึ่ง ทรงเขียนว่า
“ขณะที่ฟังข่าววิทยุเป็นประกาศของคณะราษฎรในวันที่ 26 มิถุนายน ยกเลิกการปกครองอย่างเก่าหลายอย่าง
มีสภาอภิรัฐมนตรีสภา สภาการคลัง สภาองคมนตรี ฯลฯ ฟังแล้วรู้สึกได้ยินเสียงหลวงชำนิฯ ตะโกนบอกเมื่อเช้านี้ว่า ‘ฉิบหายแล้วฝ่าบาตรก๊กมินตั๋ง’ แล้วยกมือพยักหน้าคอตกกลับไป
เนื้อหาอีกด้านหนึ่งของบทที่ 1 ผู้เขียนบรรยายถึงภาพตรงข้ามกับกลุ่มก่อการที่เฉลิมฉลองชัยชนะด้วยเสียงชัยโย
การเขียนถึงอากัปกิริยาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ถูกควบคุมตัวนั้น แม้กำลังทหารที่เข้ามาพยายามใช้อาวุธปืนขู่บังคับ
แต่ต้องเผชิญกับท่าทีของพระองค์ที่ไม่เกรงกลัว แม้จะไม่ได้ต่อต้าน ทรงตรัสด้วยวาจาสุภาพ แต่หนักแน่นและจริงจัง
เตือนให้รู้จักที่ถูกที่ควร จนสามารถห้ามปรามการบุกรุกและต่อรองการเดินทางไปพระที่นั่งอนันตสมาคมด้วยรถของพระองค์เองไม่ใช่รถทหาร ซึ่งไม่ให้พระเกียรติ
ผู้เขียนบรรยายถึงห้องที่คุมสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพขณะไปส่งอาหาร ก็เป็นเพียงห้ององครักษ์ ที่อยู่ในสภาพไม่เป็นการถวายพระเกียรติยศ
“สภาพห้องโสโครก ติดลูกกรงเหล็ก หน้าต่างช่องลมใช้ไม้ปิดตอกตะปู ถึงกับคิดว่า ‘พ่อข้าพเจ้าทำผิดสถานใด จึงถูกทำราวกับผู้ร้ายฆ่าคน”
ขณะเดียวกัน ก็เห็นอาการสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าทรงอยู่ในอาการสงบ แต่ไว้พระยศ แม้ทรงได้รับการปฏิบัติที่ไม่สุภาพ
ก็ทรงตอบโต้ด้วยกิริยาอาการของ “ผู้ดี” และทรงมีพระดำรัสกับนายทหารชั้นผู้น้อยด้วยความสุภาพ
หลังถูกคุมขัง 3 วัน ก็ได้รับการปล่อยตัว พร้อมกับข่าวพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากหัวหินเข้ากรุงเทพฯ ในวันที่ 28 ธันวาคม
และก่อนจบบทที่ 1 ผู้เขียนตอบคำถามปิดท้ายว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 จะทรงดำเนินการอย่างไรต่อไป
ว่า พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยามหิธร (ละออไกรฤกษ์) ไปติดต่อกับผู้ใช้อำนาจให้แก้รัฐธรรมนูญฉบับที่ถวายให้ลงพระนาม
และให้ออกฉบับชั่วคราวไปก่อน ผู้เขียนยังได้อ้างคำบอกเล่าจากเจ้าพระยาวรพงศ์ เสนาบดีกระทรวงวังและเจ้าพระยามหิธร (ละออไกรฤกษ์) ราชเลขาธิการว่า
พระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่าเสนาบดีคณะใหม่ที่เข้าเฝ้าว่า “ก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ เหตุใดจึงต้องทำการหักหาญกันถึงเพียงนี้”
คำบอกเล่ายังขยายความดํารัสต่อว่านั้น ไปจนถึงเรื่อง เนรเทศสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ ที่พวกผู้ก่อการนำตัวไปขัง
และใส่รถไฟคุมไปทิ้งทั้งแฟมมิลี่ที่ชายแดนปาดังเบซาร์ ไม่มีความกรุณาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 27)
ทั้งนี้ ข้อเรียนได้เปิดเผยชื่อผู้ให้การช่วยเหลือสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร ให้ออกไปอยู่ที่เมืองบันดุง เกาะชวา คือ พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) นั่นเอง
บทที่ 2 “ออกจากกรุงเทพฯ”
หลังจากเป็นอิสระจากการควบคุมตัว เหตุการณ์สำคัญที่สร้างจุดเปลี่ยนการใช้ชีวิตของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
คือ การถูกตัดลดค่าใช้จ่ายประจำลงอย่างมาก หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยเขียนถึงเหตุการณ์นี้จากบันทึกประจำวันว่า “เสด็จพ่อและพวกเรา”
ต้องออกจากการประทับในวังวรดิศที่กรุงเทพฯ ไปอยู่หัวหินแทน ส่งเล่าเหตุผลไว้ 2 เรื่อง
เรื่องแรก คือ พระสุขภาพและพลานามัยที่ไม่แข็งแรงของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเอง ทำให้แพทย์ประจำตัวถวายความเห็นให้ประทับนอกกรุงเทพฯ
เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และสนับสนุนการไปอยู่หัวหิน รับอากาศทะเลที่เหมาะกว่าการอยู่กรุงเทพฯ
เรื่องต่อมา เป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายหลังจากพระองค์ถูกคณะราษฎรตัดลดบำนาญเดิมได้รับ 3,600 บาท ลงเหลือ 1,500 บาท
ผู้เขียนเล่าลำดับภาพตลอดชีวิตการรับราชการของ “เสด็จพ่อ” ที่มีรายได้หลักมาจากเงินเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ
เมื่อเกษียณจากราชการสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงรับบำนาญเพียงเดือนละ 3,600 บาท พร้อมเงินปีพระราชทานตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความดีความชอบในการปฏิบัติราชการถึงปีละ 10,000 บาท แต่เป็นเงินส่วนพระคลัง ที่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงคงเงินเดือนนี้รวมถึงเงินประจำตำแหน่งต่าง ๆ เมื่อทรงเกษียณจากราชการ
ปลายรัชกาลใน พ.ศ. 2466 โปรดให้กลับข้าพเจ้ารับราชการก็ยังพระราชทานเงินเดือนใหม่เพิ่ม ฃ
จนถึง พ.ศ. 2473 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุบกระทรวงมุรธาธร (ตามนโยบายปรับลดงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ยังให้เงินเดือนเพิ่ม สรุปรายได้จากราชการ (ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์)
ส่งได้ถึงเดือนละ 10,000 บาท โดยที่รายได้ทางอื่นยังค่าเช่านาก็ผันแปรตามสภาพเศรษฐกิจ
ทรงเห็นว่าการที่คณะราษฎรตัดเงินราชการทั้งหมดเหลือแต่บำนาญทางเดียว แล้วยังถูกตัดลดจากเดือนละ 3,600 บาท เหลือเพียง 1,500 บาทนั้น
ไม่พอกับค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวและบ่าวไพร่ มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 50 คน แล้วจะลดคนและลดเงินเดือน รวมถึงเงินเดือนประจำสำหรับหม่อมและโอรสธิดาที่มีอยู่หลายพระองค์
และตัดรายจ่ายอาหารแบบฝรั่งที่ทรงโปรดแล้ว ทรงอยู่ในฐานะลำบากหากใช้ชีวิตประจำวันที่วังวรดิศในกรุงเทพฯจำเป็นต้องต้อนรับแขกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
บางรายที่ทรงต้องเลี้ยงรับรองตามแบบฉบับการเข้าสมาคมชั้นสูง การออกไปประทับที่หัวหินให้ห่างไกลจากผู้คนที่มาเยี่ยมเยียน และใช้ชีวิตแบบ “ชาวบ้าน” จึงเป็นทางออกในการแก้ปัญหา
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยทรงถือว่าโลกอดีตก่อน 24 มิถุนายน สำหรับพระองค์และเป็นความสุขชวนโหยหา ทรงใช้พื้นที่เขียนพรรณนาถึงงานเลี้ยงต้อนรับแขกชนชั้นสูงชาวต่างประเทศ
ที่ “เสด็จพ่อ” จัดขึ้นตามแบบแผนการเข้าสมาคมในวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีการนำศิลปะวัฒนธรรมราชสำนักอย่างโขน และดนตรีปี่พาทย์ แสดงอวดอาคันตุกะผู้ไม่เคยเห็นการแสดงชั้นสูง
ทรงถือว่าได้ทำการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติสยามให้ชาวตะวันตกได้ชื่นชม จงภูมิใจกับถ้อยคำสรรเสริญของบรรดาแขกเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทูตฝรั่งเศสประจำราชสำนักกัมพูชา
มิสเตอร์ตักลาส แฟรแบงค์ ซีเนียร์ ไปจนถึงการแสดงวิวัฒนาการดนตรีไทยในงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำเป็นการส่วนพระองค์ ถวายเจ้าฟ้าเฟรตเดอริค มกุฎราชกุมารพี่เสด็จเยือนไทย
พ.ศ. 2473 การนำคำชมจากอาคันตุกะ ไม่ว่าจะเป็นทูตฝรั่งเศสที่ร่วมเกียรติตอนนั้น และจากที่เคยถามเปรียบเทียบละครไทยกับเขมรนั้น ถึงกับเอ่ยว่า
“ปริ้นเซสฉันจะไม่ดูละครเขมรอีกต่อไป” และถึงกับเอ่ยปากว่า “อายที่ประเทศฝรั่งเศสไม่มีศิลปะ” หรือเมื่อมิเตอร์ดักลาส แฟรแบงค์ ซีเนียร์ เอ่ยชมการเล่นดนตรีพิณพาทย์ว่า
“ท่าน ฉันจะมีเลือดของชาวตะวันออกอยู่ในตัวเสียดอกกระมัง ดนตรี (พิณพาทย์ไม้นวม) มันลงไปทางกระดูกสันหลังฉันแน่ะ” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 32-33)
การถอดบทสนทนาตอนนี้ ผู้เขียนต้องการแสดงถึงความภาคภูมิใจวัฒนธรรมราชสำนักที่ทรงรับการกล่อมเกลา
จนเป็นวัฒนธรรมบันเทิงในชีวิตประจำวัน และต้องการเผยแพร่ต่อชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก ดังที่ทรงเขียนว่า “ถ้าเป็นการเลี้ยงรับรองแขกเมืองหรือท่านผู้ชมมาเรียนเรื่องเมืองไทย ความรักชาติของเรามีเกินกว่าจะไปหายี่เกหรือละครสมัยใหม่มาเล่นให้เขาดูได้ (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : หน้า 32) บางทีอาจจงเชื่อว่าวัฒนธรรมราชสำนักเป็นตัวแทนวัฒนธรรมประจำชาติก็เป็นได้
เรื่องเล่าการรับแขกเมืองด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมราชสำนัก แม้ผู้เขียนทรงยอมรับว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตในอดีตที่ดี สนุกสนาน ให้คอยโหยหา
นอกจากมีความสุขและไม่เคยลืม รวมถึง ทรงถือว่า “ความสำเร็จอันภาคภูมิใจเช่นนี้หรือจะทำให้เรานึกถึงเงิน” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 34) ข้อความนี้ยังแสดงและให้ความเห็นว่า ช่วงเวลาก่อน 24 มิถุนายน รายได้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้นยังทรงมีบำนาญและเงินประจำตำแหน่งต่าง ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับวัฒนธรรมชั้นสูง ที่ยังความพึงพอใจจนทรงคิดว่าเป็นความน่าภูมิใจที่ทำให้วัฒนธรรมที่งดงามเป็นตัวแทนชาติ
ถูกเผยแพร่ออกไปสู่ชาวตะวันตก ชาติที่ครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นภัยคุกคามความมั่นคงและเป็นอันตรายต่อชาติไทยนั้น ค่าใช้จ่ายมูลค่าสูง ย่อมคุ้มค่าสำหรับความภาคภูมิใจที่ได้รับคำสรรเสริญกลับมา
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีผลให้ “แต่พอนึกถึงรายได้ใหม่ของเราแล้วก็เป็นอันหมดหวัง” ซึ่งหมายถึงการจัดงานเลี้ยงรับรองเช่นในอดีต
การตัดลดเงินบำนาญของคณะราษฎร จึงเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตทั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าพูนพิศมัยอย่าง “พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน”
หม่อมเจ้าพูนพิศมัยผู้เขียนจึงนำเสนอช่วงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยภาพบ้านเมืองที่เกือบเป็นกลียุคด้วยกองกำลัง และรถทหารพร้อมอาวุธ
และวาดภาพคณะราษฎรที่ทรงเริ่มเปิดชื่อผู้นำคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรมและเชื่อมโยงเข้ากับความเป็นจีน ซึ่งเวลานั้น ประชากรกว่าครึ่งของกรุงเทพฯ
เป็นชาวจีนอพยพที่สร้างปัญหาความไม่สงบบ่อยครั้ง ดังนั้น การปฏิวัติของคณะราษฎร จึงถูกเรียกให้เป็น “ขบถ” ความหมาย “ขบถ” เป็นการทรยศต่อแผ่นดิน ต่อชาติ ด้วยการนำเสนอพระดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีต่อคณะรัฐบาลชุดใหม่ในเรื่องที่จะทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้อยู่แล้ว ข้อมูลเรื่องพระดํารัสเป็นความตอกย้ำเรื่องที่หม่อมเจ้าพูนพิศมัยพูดกับ ร. แลงกาต์ ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแน่นอน เมื่อเวลาที่ราษฎรรู้จักกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยังไม่ใช่เวลา 2475 แน่นอน การขบถที่ถือเป็นเรื่องผิดต่อแผ่นดิน จึงเป็นการกระทำความชั่วแบบหนึ่ง
เรื่องเล่าที่เขียนถึงรัฐบาลคณะราษฎร จึงมีแต่อารมณ์ความรู้สึกที่ไม่มีความเชื่อถือในความสามารถที่จะบริหารประเทศ
เช่น ทรงเล่าถึงการประกาศรายชื่อ “เสนาบดี” ใหม่ ทรงเห็นว่า “ไม่น่าจะทำงานได้” ด้วยเหตุผล คือ “ไม่มีชื่อคนรู้จักเลย”
รวมถึงประกาศยกเลิกองค์กรบริหารราชการแผ่นดินในระบบเดิม เช่น อภิรัฐมนตรีสภา สภาที่ปรึกษาและองคมนตรี เป็นต้น
ทรงบรรยาย “หมดหวังกับผู้ก่อการ” ทำให้เรามองเห็นกลวิธีการเขียนที่ทรงวางตำแหน่งแห่งที่ “คณะราษฎร”
ซึ่งเป็น “พวกขบถ” เอาไว้เป็นขั้วตรงข้ามกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่อยู่ในกลุ่มเจ้านายและพระมหากษัตริย์ที่ถือว่ามีความชอบธรรมในการปกครองแผ่นดิน
ขั้วตรงข้ามในงานเขียนแสดงด้วยความคิดเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นความขัดแย้งกัน เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเป็นแนวคิดขัดแย้งในการมองปัญหาสตรีในการสมรส
นั่นคือ ข้อเขียนตอนหนึ่ง “(วิทยุ) บรรยายร่างเปิดสภาวันแรกว่า มีกฎหมายออก 2 เรื่อง คือ 1) เรื่องแบงค์ในเมืองไทย
2) คือ ให้เจ้าหญิงในพระราชวงศ์ลาออกจากเจ้าเพื่อแต่งงานกับคนสามัญได้” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 28)
บทบรรยายแสดงอารมณ์ผู้เขียนไว้ชัดเจนว่า “เราหัวเราะกันลั่น เพราะรู้สึกตัวว่าสำคัญเท่าแบงค์ หรือมิฉะนั้นก็เหมือนแบงค์กับเจ้าหญิง
เป็นชิ้นสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ใครบ้างจะนึกว่าเราเจ้าหญิงจะสำคัญถึงเพียงนี้” (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น : 28)
ข้อเขียนนี้บอกถึงแนวคิดเรื่องผู้หญิงของหม่อมเจ้าพูนพิศมัยที่ตรงกันข้ามกับรัฐบาลคณะราษฎร
นั่นคือยังทรงเชื่อมั่นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และกฎหมายยังมีข้อห้ามเจ้านายสตรี (ตั้งแต่หม่อมเจ้า)
สมรสกับผู้ชายที่มีฐานันดรต่ำกว่า ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นว่ากฎหมายเป็นปัญหา ตรงข้ามกับคณะราษฎรที่น่าจะได้ข้อมูลที่สะท้อนปัญหานี้จากราชสกุลอื่น
โครงเรื่อง (Plot) แก่นเรื่อง (Theme) และคุณค่าของสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น
“สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” ฉบับงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย วางโครงเรื่อง
เล่ารายละเอียดเหตุการณ์นี้ 24-29 มิถุนายน 2475 ตั้งแต่เริ่มก่อการคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ปล่อยตัว
จนอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 จากหัวหินกลับพระนคร และสาเหตุที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพต้องออกจากกรุงเทพฯ ไปประทับที่หัวหิน
โครงเรื่องข้างต้นใช้ตัวผู้เขียนหรือหม่อมเจ้าพูนพิศมัยผู้เป็นธิดาเป็นตัวดำเนินเรื่องในฐานะผู้เล่า
แม้ประเด็นเรื่องหลักอยู่ที่องค์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยให้ความผันแปรในชีวิตเกิดจากการกระทำของคณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ดึงดูดความสนใจผู้อ่านให้ติดตามเรื่องทั้ง 2 บท การดำเนินเรื่องจึงใช้ทัศนคติ อารมณ์ ความคิด ความเชื่อของผู้เขียน เป็นคำอธิบายตัวเรื่องรวมถึง
กลวิธีการใช้และอ้างอิงแหล่งข้อมูลของเรื่องเล่า ยังจำกัดเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในเครือข่ายความสัมพันธ์ในกลุ่มพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทั้งกลุ่มขุนนางที่เคยทำราชการใต้บังคับบัญชาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขุนนางที่ถวายการรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ไปจนถึงบรรดาทูตของประเทศตะวันตกประจำประเทศไทย
แก่นเรื่องที่ทรงนำมาเป็นกรอบการดำเนินเรื่อง เป็นหลักคำสอนทางพุทธศาสนาที่ทรงศึกษาและเคยมีทักษะในการเขียนหนังสือเล่มแรกของผู้เขียน
คือ “ศาสนคุณ” แก่นเรื่องของ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” คือชีวิตอันเป็นอนิจจังย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ เพื่อนำมาใช้เดินเรื่องความผันแปรในชีวิตสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ ที่ปรากฏชัดเจนในงานเขียนพระประวัติลูกเล่าตอน “คติธรรมเวลามีทุกข์” เนื้อหาตอนเดียวกับสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังความว่า
“มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ ไม่มีผู้ใดจะหนีทุกข์สุขได้ ฉันใดก็ดี เสด็จพ่อผู้ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็นบาปของพระองค์ท่านเลย ก็ยังต้องตกอยู่ในอำนาจโลกธรรม คือ หนีไม่พ้น ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงคิดว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่น่ารู้ว่าท่านทรงรับทุกข์อย่างไร เพื่อผู้ที่จะต้องประสบทุกข์บ้าง บางเวลาจะได้ดูเป็นเยี่ยงอย่าง ไม่ได้มีเจตนาจะเขียนขึ้นเพื่อเจ็บใจ หรือคุมแค้นอย่างหนึ่งใดเลย”
(หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย 2525, พระประวัติลูกเล่า ตอน “คติธรรมเวลามีทุกข์”, หน้า 32)
แก่นเรื่องชีวิตว่าเป็นทุกข์ปรากฏชัดในบทที่ 1 “24 มิถุนายน 2475” เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพต้องถูกคุมตัวอย่างที่ทรงเขียนไว้ว่า “ราวกับเป็นนักโทษ” ทั้งที่ในชีวิตทำแต่ความดีให้บ้านเมือง
แก่นเรื่องบอกเล่าชีวิตที่เป็นสุขปรากฏในบทที่ 2 “ออกจากกรุงเทพฯ”
เมื่อบรรยายการใช้ชีวิตทางวัฒนธรรมแบบราชสำนักในเรื่องการเลี้ยงรับรองแขกชั้นสูงและพระบรมวงศานุวงศ์จากประเทศตะวันตกกับการแสดงศิลปวัฒนธรรมชั้นสูง
นอกจากชีวิตต้องมีทั้งสุขและทุกข์แล้วผู้เขียนยังใช้หลักธรรมเรื่อง “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” มาใช้เขียน “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น”
ซึ่งเป็นเรื่องเล่าหลักที่สัมพันธ์กับชีวิตเจ้านายและพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจบริหารแผ่นดิน เพื่อตอบโต้งานเขียนที่ทรงเห็นว่าเป็น
“เรื่องแปลก ๆ” ที่ไม่จริงและอยุติธรรมต่อฝ่ายพระเจ้าแผ่นดิน ดังปรากฏในคำนำของหนังสือดังนี้
“ถ้าการกระทำดีกลับเป็นผลชั่ว การกระทำชั่วกลับเป็นผลดีไปทั่วทุกแห่งแล้ว โลกนี้จะเป็นที่ที่ไม่น่าอยู่เป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในเมืองไทยนี้ เรายังไม่มีหนังสือพอที่จะให้ความรู้ความจริงดังที่เป็นมา... เหตุการณ์นี้ต่อมา (ทรงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
ที่ยุ่งในการต่อสู้และการสร้างตัวใหม่ แม้จะได้มีผู้ช่วยรวบรวมมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ก็ยังเป็นของยากที่จะทำให้มีผู้เอาใจใส่ในทางที่เป็นจริง ฉะนั้นเพียงเวลาใน 20 ปี (ขณะนั้นคือ พ.ศ. 2498) มานี้
เราต้องจึงต้องได้ ยังได้ยินเรื่องแปลก ๆ จนเศร้าใจ ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าต่อไปถึงเวลา 200 ปีข้างหน้า ผู้ที่ได้เหนื่อยยากมาเพื่อความสุขของคนอื่นจะเป็นอย่างไร
พระเจ้าแผ่นดินของเราคงจะต้องทรงพระมหามงกุฎเที่ยววิ่งไล่ฆ่าฟันผู้คนอยู่บนจอหนังหรือละครเวทีที่ตั้งอยู่กลางโลก
ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วไซร้จะมีอะไรหนุนใจคนภายหลังให้ทำดีตามได้เล่า ข้าพเจ้าทนความอยุติธรรมชนิดนี้ไม่ได้ จึงตกลงใจเขียนหนังสือนี้ไว้
คุณค่าของหนังสือที่ผู้เขียนประกาศจุดยืนชัดเจนในการเลือกฝ่ายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้เป็น “เสด็จพ่อ”
วิธีการเลือกใช้ข้อมูลจำกัดเฉพาะบันทึกประจำวัน รวมถึงคำบอกเล่าของฝ่ายที่เห็นใจพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรูปแบบการเขียนที่แสดงความรู้สึก อารมณ์ และทัศนคติจากด้านของผู้เขียนเท่านั้น
เมื่อพิจารณาเนื้อหาแล้ว งานเขียนนี้จึงนับเป็นงาน “สารคดีการเมืองและชีวประวัติ” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ผู้เขียนถือเป็นภาระหน้าที่ที่ต้องเขียน ดังคำชี้แจงของพระองค์ท่านเองว่า
“การเขียนหนังสือก็คล้ายกับการเขียนรูป ด้วยต้องมีหุ่นหรือแบบเป็นเรื่องตรึงไว้ดูเป็นหลัก คนเขียนย่อมนั่งในที่ต่างมุม
และเห็นหลักนั้นได้ตามเหลี่ยมหรือแสงสว่างต่างกันตามที่ตนได้รับได้เห็น มุมของข้าพเจ้านั้น คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ซึ่งได้เคยเป็นผู้ปฏิรูประบบราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
แต่ใน พ.ศ. 2420 มาแล้ว ได้ทรงเป็นผู้จัดตั้งการทหาร การศึกษา การพยาบาล การปกครองมาแต่ต้น และเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมาถึง 23 ปี
ตอนหลังได้ทรงเป็นสภานายกของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งรวมทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปะด้วย
และได้ทรงเป็นองคมนตรีในที่สุด เมื่อตำแหน่งและเวลาร่วมกันเข้า เหตุการณ์ที่ต้องเกี่ยวข้องก็ย่อมมีทุกทาง
ข้าพเจ้าผู้อยู่ด้วยจึงจำต้องได้รับรู้ ได้เห็น ได้ฟังตามไปด้วย จนรู้สึกตัวว่าได้รู้เกินฐานะที่เป็นเพียงผู้หญิงคนหนึ่งในประเทศตะวันออก”
สถานะของหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” จึงเป็นสารคดีการเมืองที่มีคุณค่าอย่างมากต่อการศึกษาประวัติศาสตร์
เนื่องจากเนื้อหาสาระที่ปรากฏเป็นการนำเสนอข้อมูลในฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งในด้านการเมือง ชีวิตประจำวัน และชีวิตทางวัฒนธรรม
จากมุมมองของ “สตรี” จึงแตกต่างจากงานเขียนสารคดีการเมืองช่วงเวลาเดียวกันที่ผู้เขียนเป็นผู้ชายทั้งหมด
<
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น