ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2021

สถานภาพสตรีไทยในวรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 7

ที่มาและความสำคัญของกรอบแนวคิดในการวิจัย สายธารแห่งวรรณกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสะท้อนถึงสถานภาพสตรีไทยอย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่น่าศึกษาค้นคว้า ผู้หญิงไทยยุคเก่านั้น มีสถานะเปรียบเหมือนช้างเท้าหลัง เป็นหลังบ้านของบุรุษหรือเป็นแม่ศรีเรือน มีหน้าที่หลักในการปรนนิบัติสามีและดูแลความเรียบร้อยของบ้านมากกว่าจะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนอกบ้าน บทความเรื่องนี้จึงพยายามศึกษาและวิพากษ์ความคิดเห็นของบุรุษที่มีต่อสตรีและความคิดของสตรีเองผ่านงานวรรณกรรมในช่วงรัชกาลที่ 7 โดยศึกษาเอกสารชั้นต้น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ร่วมรัชสมัย กฎหมายลักษณะผัวเมีย เรื่องสั้น และนวนิยายที่สะท้อนถึงสถานภาพผู้หญิงจากยุคเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคที่ผู้หญิงสามารถมีบทบาทระดับแนวหน้าอย่างหลากหลายในสังคมไทยปัจจุบัน ความหมายทั่วไปของคำว่า “สถานภาพ” ในด้านสังคมวิทยา สถานภาพ คือ ฐานะของบุคคลที่ได้รับการยอมรับความนับถือจากสาธารณชน เป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้นทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน สถานภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด (Ascribed status) คือ สถานภาพที่ได้มาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด หรื