ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2011

พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 7

        พระบรมราโชวาทซึ่งพระราชทานในวันงานประจำปีของวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงอธิบาย วิธีการอบรมบ่มนิสัยของโรงเรียนเอกชนชั้นดีของประเทศอังกฤษหรือที่เรียกว่า “ปัปลิกสกูล” (public school) ซึ่งเป็นแม่แบบของวชิราวุธวิทยาลัยนั้นเป็นผลดีแก่การปกครองแบบประชาธิปไตย ดังข้อความในพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า        “...หลักที่สาม ที่ปัปลิกสกูลเขาใช้ก็คือ เขาฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจเป็นนักกีฬาแท้คือ ที่เรียกว่าสปอร์ตสแมน การฝึกน้ำใจนั้นเป็นของสำคัญมาก ยิ่งเราจะปกครองแบบเดโมคราซียิ่งสำคัญขึ้นอีก ในที่นี้จะขอหยิบยกหลัก ๒ -๓ อย่างที่ว่าน้ำใจเป็นนักกีฬานั้นคืออะไร ประการที่หนึ่ง นักกีฬาจะเล่นเกมอะไรก็ตามต้องเล่นให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของเกมนั้น ไม่ใช้วิธีโกงเล็กโกงน้อยอย่างใดเลย จึงจะสนุกจึงจะเป็นประโยชน์ ประการที่สอง ถ้าเกมที่เล่นนั้นเล่นหลายคนต้องเล่นเพื่อความชะนะของฝ่ายตน ไม่ใช่เล่นเพื่อตัวคนเดียว ไม่ใช่เพื่อแสดงความเก่งของตัวคนเดียว ประการที่สาม นักกีฬาแท้นั้นต้องรู้จักชะนะและรู้จักแพ้ ถ้าชะนะก็ต้องไม่อวดทำภูมิ ถ้าแพ้ก็ต้องไม่พยาบาทผู้ชะนะ เป็นต้น หลักสามอย่างนี้สำคัญม

แหวนวิเศษ : ภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 7 กับการสร้างสำนึกเยาวชนพลเมือง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เป็นนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น ทรงสนพระทัยการถ่ายภาพและภาพยนตร์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2468 ยังทรงฝึกฝนการถ่ายภาพและภาพยนตร์อย่างสม่ำเสมอ ทรงสนับสนุนกิจการภาพยนตร์ไทยและสนพระราชหฤทัยทอดพระเนตรภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศเมื่อทรงว่างจากพระราชกิจทรงนำภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ออกฉายให้พระประยูรญาติ และข้าราชบริพารชมในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ด้านข่าวสารการเมือง หรืองานสารคดี หลายชิ้นถือเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าในสังคมไทยยุคต่อๆ มา เช่น งานพิธีเปิดสะพานพุทธยอดฟ้า พระราชพิธีโสกันต์เจ้านายเป็นต้น รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงทดลองใช้เอง กล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัย โปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง           ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราช-อัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉากและอำนว

นสพ.เก่าเล่าเรื่องการเมืองไทย

           หนังสือพิมพ์  นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะสื่อมวลชนประเภทหนึ่ง  การจัดทำหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงต้นรัชกาลที่ 6 จัดหน้าแรกของหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องของการโฆษณาสินค้าทั้งหมด  หน้าต่อไปจึงเป็นข่าวที่มีปะปนไปกับการโฆษณาแจ้งความต่างๆ  ซึ่งในสมัยนั้นข่าวยังไม่ได้แยกแบ่งเป็นหมวดหมู่  มีทั้งข่าวภายในประเทศ  ข่าวต่างประเทศ ข่าวต่างจังหวัด และบทความยังลงปะปนกัน  ไม่ได้แบ่งหน้าเป็นสัดส่วนเฉพาะ  ต่อมาจึงมีความเปลี่ยนแปลง เช่นมีการพาดหัวข่าว  เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในข่าว เช่น  การใช้ภาษาที่ตื่นเต้นชวนให้อ่านข่าว  ต่อมาเมื่อกิจการการพิมพ์เจริญขึ้น มีโรงพิมพ์เพิ่มหลายแห่งขึ้น และประชาชนสนใจข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น จึงมีหนังสือพิมพ์ออกกันอย่างแพร่หลาย ทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ดังรายชื่อหนังสือพิมพ์รายวันในสมัยรัชกาลที่ 6 ดังนี้ 1. สามสมัย เจ้าของ คือ นายเพ็ง พ.ศ. 2453 2.สยามราษฎร์ เจ้าของ คือ นายสุกรี วสุวัต พ.ศ. 2463-2468 3. ประชาโภคา เจ้าของคือ โรงพิมพ์บุญช่วยเจริญ พ.ศ. 2464-2465 4. ยามาโต  เจ้าของ คือ นายไอ มียาคาวา พ.ศ. 2465-2466 5. บางก