ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2021

สวนไกลกังวล

                                  พ ระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีโปรดการเสด็จประพาสชายทะเลหัวหินมาแต่เมื่อยังมิได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ    ซึ่งทรงทราบดีว่าหัวหินขาดแคลนน้ำจืด    ดังนั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการจัดสภาบำรุงสถานที่ทะเลฝั่งตะวันตก พุทธศักราช ๒๔๖๙     เพื่ออนุวัตรตามแนวพระราชดำริให้ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตยในภายหน้า    “ สภาบำรุงฯ ”  จึงเป็นการทดลองปกครองตนเองระดับท้องถิ่นในรูปแบบ municipality หรือ “ ประชาภิบาล ” ( ภายหลังเรียกว่า “ เทศบาล ” ) “ ให้ราษฎรได้รู้จักเข้าควบคุมกิจการท้องถิ่นด้วยตัวเองก่อนที่เขาจะพยายามควบคุมราชการแผ่นดินโดยผ่านทางรัฐบาล ”     พร้อมกันนั้นมีพระราชประสงค์สร้างที่ประทับส่วนพระองค์พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี   พระบรมราชินี      โปรดให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์    กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาเป็นสถาปนิก โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากพระคลังข้างที่    โปรดเกล้าฯ   ให้ใช้ชื่อว่า “ สวนไกลกังวล ”   

“การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934

  การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 ( พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๔๗๗ )                                                                            ศ.ดร. พรสรรค์ วัฒนางกูร                                                                                                ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม                                                                                                       ความนำ             การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว [1]  แห่งราชอาณาจักรสยาม ค.ศ. 1934/พ.ศ. 2476-2477 (นับตามปฏิทินจันทรคติของสยาม) เป็นการเดินทางครั้งสำคัญหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ท่ามกลางช่วงเวลาระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของสถานการณ์ที่ผันผวนทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในโลก ในเอเชีย ตลอดจนในประเทศสยามเองหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 ได้รับผลกระทบและได้รับอิทธิพลจาก