ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

พระราชวังดุสิตกับพระปกเกล้าศึกษา (2)

ขอบคุณบทความจาก ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล รำไพพรรณีใต้ร่มพระบารมี “สมเด็จป้า” ณ สวนสี่ฤดู          ในบรรดา “เรือนหมู่” หรือ “สวน” ที่ประทับในสวนดุสิตของเจ้านายฝ่ายใน ซึ่งได้เกริ่นถึงไว้ในตอนที่แล้ว มีพระตำหนักสวนสี่ฤดู ของ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ณ พระตำหนักนี้เอง ใน พ.ศ.2450 ปีเดียวกันกับที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยฯ เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ยุโรป หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี (สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ในภายหลัง) พระชันษา 2 ปี ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวอยู่ในพระราชอุปการะของสมเด็จฯ พระองค์นั้น ผู้ทรงเป็น “สมเด็จป้า” ของท่านหญิง เนื่องด้วยทรงเป็น พระภคินี (พี่สาว) ร่วมพระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (พระยศขณะนั้น) พระบิดา          การ “ถวายตัว” นั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของความนิยมในอดีตที่มีการมอบบุตรธิดาบางคนให้อยู่ในการเลี้ยงดูของบุคคลที่เคารพนับถือ และเป็นการที่เด็กจะได้รับการอบรมสั่งสอนในทางที่เหมาะสม ซึ่งสำหรับเด็กหญิงนั้น การอยู่ในพระอุปการะของเจ้านายฝ่ายในเป็นหนทางหนึ่งจะได้รับการอบรมกิริยามารยาท ต

พระราชวังดุสิตกับพระปกเกล้าศึกษา(1)

ขอบคุณบทความจาก ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล พระที่นั่งวิมานเมฆ ในบริเวณพระราชวังสวนดุสิต    เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ไปเยี่ยมชมพระที่นั่งวิมานเมฆและพระที่นั่งอนันตสมาคม ในบริเวณพระราชวังดุสิต อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ไม่ได้ไปมานานแล้ว เมื่อเข้าไปในห้องแรกของเส้นทางนำชมพระที่นั่งวิมานเมฆ พระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระอิริยาบถทรงยืนก็ปรากฏเป็นสง่าอยู่เบื้องหน้า นึกแปลกใจว่าไม่ได้เป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งนั้นขึ้น สอบถามเจ้าหน้าที่ผู้กรุณาพานำชมเป็นพิเศษ ได้ความว่าเป็นไปดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯตั้งแต่แรกบูรณะในพ.ศ. 2525 และเปิดพระที่นั่งให้สาธารณชนได้เข้าชมตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จิตรกรผู้วาดคือ พระสรลักษณ์ลิขิต   (ยุ่น จันทรลักษณ์)                 ผู้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานทุนให้ไปเรียนเขียนภาพเหมือนบุคคลที่ยุโรป*  พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว             ครั้นเก็บมาคิดต่อ จึงนึกขึ้นได้ว่า อันที่จริงในพระราชประวัติขององค์ประชาธิปกแล