ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2019

การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียว พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7

                          ใต้ฟ้าประชาธิปก : การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียว พ.ศ. 2476                                                                                                     นางฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร  เรียบเรียง ประเทศไทยของเรามีระบอบการปกครองประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข หากจะย้อนศึกษาที่มาที่ไปของการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2476 หลังจากที่เปลี่ยนแปลง การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประมาณ 1 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 การเลือกตั้งครั้งแรกนั้นน่าสนใจว่า เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งเดียวเกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  จุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่เป็นคนไทยมีสิทธิมีเสียงในการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารบ้านเมือง เป็นช่วงที่พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นประเทศไทยมีเพียง 70 จังหวัด และมีการเลือกตั้งผู้แทนได้จังหวัดละคน ยกเว้น จังหวัดพระนคร อุบลราชธานี มีผู้แทนได้ 3 คน  เชียงใหม่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา มีผู้แทนได้ 2 คน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโด

การแต่งกายของคนไทย : ความเปลี่ยนแปลงของชนชั้นนำไทย

บทคัดย่อ           “ ความเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำไทยตั้งแต่พ.ศ. 2399-2490” เป็นงานวิจัยที่มีพื้นฐานมาจากการใช้กระบวนการวิจัยทางประวัติศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่ออธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของการแต่งกายของชนชั้นนำในสังคมไทย งานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำไทยสืบเนื่องมาจากการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก กล่าวคือ การปรับรูปแบบการแต่งกายของชนชั้นนำไทย เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากทำสัญญาเบาว์ริง ( Bowring ) กับประเทศอังกฤษในพ.ศ. 2398 ด้วยเหตุที่ว่า มีการติดต่อสัมพันธ์ค้าขายกับประเทศตะวันตกต่างๆ มากขึ้นเป็นทวีคูณ อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลจากรัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชกาลที่ 7 ผู้ทรงปกครองมีพระราชประสงค์ที่จะปรับประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตกซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนลักษณะรูปแบบการแต่งกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสตรีขั้นนำ และเครื่องแบบข้าราชการ ทหารและพลเรือนนำความเป็นตะวันตกมาผสมผสานกับของไทยที่มีมาแต่เดิมมากขึ้นจนเป็นลำดับ แต่พบว่าในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการปรับให้เรียบง่ายและประหยัดขึ้น ตามพระราชนิยม แ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยุโรปกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 7

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยุโรปกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 7            ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศสยามกับประเทศในยุโรปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงในบริบททั้งปัจจัยภายในและภายนอก การดำเนินการความสัมพันธ์กับต่างประเทศ คือ การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศตะวันตก และการมีบทบาทเป็นประเทศสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ  ต่อเนื่องจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 6 นับเป็นเวทีโลกระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนเพื่อนบ้านที่อยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ สิงคโปร์ ชวา และบาหลี ในปีพ.ศ. 2472  การเสด็จเยือนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2473  และการเสด็จเยือน สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2474 รวมทั้งการเสด็จเยือนประเทศต่างๆในยุโรป พ.ศ.2476-2477 แสดงให้เห็นถึงการปรากฏสถานะและทิศทางใหม่ของประเทศสยามในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะที่เป็

งานวิจัยการ์ตูนการเมืองสมัยรัชกาลที่ 7

                            ภาพล้อจาก หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต สมัยรัชกาลที่ 6                                                                                           นิยามของภาพล้อและการ์ตูนการเมือง แดน เบเคอร์ (Dan Backer) ในบทความชื่อ “Brief  History of political Cartoon”  ได้รวบรวมนิยามและบริบทที่เกี่ยวข้องกับภาพล้อและการ์ตูนการเมืองจากการอธิบายของนักเขียนและนักวิชาการสำคัญไว้อย่างหลากหลายและน่าสนใจ ดังนี้        จูลล์  ไฟฟ์เฟอร์ (Jull Pfiffer) นักเขียนการ์ตูนรางวัลฟูลิตเซอร์ (Jules Ffferer) ระบุว่า  “นอกเหนือจากพื้นฐานของข่าวสารทั้งหมดแล้ว ไม่มีอะไรสำคัญต่อนักเขียนการ์ตูนที่ดีเท่ากับเจตนารมณ์อันชั่วร้าย” ดร.พอลปาร์เกอร์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยทรูแมนสเตท ในบทนำการ์ตูนการเมืองอเมริกันDr. Paul Parker , political science, Truman State University , American Political Cartoon: An Introduction) กล่าวว่า “นักเขียนการ์ตูนการเมืองไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบจรรยาบรรณเดียวกันกับนักหนังสือพิมพ์” ตามความเห็นของเขา “ การ์ตูนการเมืองเป็นงานสร้างสรรค์แบบพิเศษ ที่ใช้ประ