ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2011

อภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7

             อภิรัฐมนตรีสภา  คือ สภาการแผ่นดินชั้นสูงซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468  หลังจากขึ้นครองราชย์เพียง 2 วัน  เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  ประกอบด้วยอภิรัฐมนตรีซึ่งเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูง 5 พระองค์  ได้แก่           1)  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช              (พ.ศ. 2402-2471) ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์            ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งประธานอภิรัฐมนตรี ( พ.ศ.2468 )ในคณะอภิรัฐมนตรีสภา ปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ทรงได้รับการถวายพระเกียรติยศสูงสุด  ให้เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงศักดินา 100,000 ไร่ เสมอวังหน้า"ทรงเป็นหลักเมือง ของพระบรมราชวงศ์จักรี" ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และโทรเลขเป็นพระองค์แรก               2) สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต              (พ.ศ. 2424-2487) ต้นราชสกุลบริพัตร                สมเด็จ

กลอนเพลงยาวการเมือง จากนสพ.สยามรีวิว พ.ศ. 2470

ภาพการ์ตูนล้อการเมืองจากนสพ.สยามรีวิว       กลอนเพลงยาวทางการเมืองนี้มุ่งสะท้อนปัญหาของการดุลยภาพที่รัฐบาลสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงระหว่างพ.ศ. 2469-2470  เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งมีข้อบกพร่องที่สร้างความไม่พอใจและมีการตั้งคำถามจากหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นเรื่อง "เรากำลังจะก้าวหน้าหรือถอยหลัง" ในสยามรีวิว ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2470 หน้า 37 ความว่า    "นับจำเดิมแต่รัฐบาลได้จัดการดุลยภาพมาแล้วจนถึงเดี๋ยวนี้  เรามีอะไรบ้างที่พอจะหยิบยกขึ้นมาอวดอ้างกันได้? การยุบมณฑลลงหลายมณฑลเพื่อรวมกิจการให้รายจ่ายลดน้อยถอยลงนั้น  กลับปรากฏผลที่ได้รับไม่น่าเลื่อมใสเสียเลย เช่น โจรผู้รายแทนที่จะลดน้อยถอยลง ก็ยิ่งกลับชุกชุมขึ้น...   การดุลยภาพที่จัดทำไปมีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงอยู่ข้อหนึ่งคือ รัฐบาลเลือกคนดีสมกับงานไม่ได้  คนเข้าใหม่กับคนเก่าก็คือกัน  แต่คนเก่าที่ดุลย์ออกไปก็ได้เบี้ยบำนาญในเดือนหนึ่งรัฐบาลต้องจ่ายเงินให้ไม่น้อย  และคนพวกนั้นก็เป็นพวกที่ยังทำงานให้รัฐบาลได้ดีอยู่  เมื่อเป็นเช่นนี้เท่ากับรัฐบาลต้องเสียเงินสองต่อ" ดังคำกลอนเพลง

กระแสความคิดเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7

                    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นระยะที่กระแสความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ได้รับการศึกษาจากตะวันตก  จะเห็นได้จากหลังจากที่ทรงครองราชย์ได้เพียง 9 วัน  นายภักดีและนายไทย  ราษฎร จังหวัดพระนคร  ทำหนังสือกราบบังคมทูลถวายความเห็นให้พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนเป็นพระราชภารกิจแรก  โดยอ้างเหตุผลว่า ไม่มีพระราชกรณียกิจใดที่สำคัญเท่ากับการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ( สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เอกสารรัชกาลที่ 7 ม.2-1/7 หนังสือลงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468  ของนายภักดีและนายไทย  กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)             จากหนังสือกราบบังคมทูลดังกล่าว  แสดงให้เห็นว่า  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าในวันหนึ่งข้างหน้าประเทศไทยจะต้องปกครองในระบบรัฐสภา  และการที่ทรงปรึกษากับพระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B" Sayre) ศาสตราจารย์สอนวิชากฏหมายแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ที่มาเยือนกรุงเทพฯในระหว่างหยุดพักฤดูร้อน ปีพ.ศ. 2469  พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2469  ไ

พระราชบันทึกระบอบประชาธิปไตยในประเทศสยาม

พระราชบันทึกระบอบประชาธิปไตยในประเทศสยาม (มิถุนายน พ.ศ. 2470)              พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ระบอบประชาธิปไตย"  ปรากฏชัดเจนในพระราชบันทึกภาษาอังกฤษที่มีความยาว 3 หน้ากระดาษ  พระราชทานลงมายังคณะกรรมการจัดระเบียบองคมนตรี เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2470           ปัญหาที่ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเหมาะสม หรือจะมีวันเหมาะสมแก่ประเทศสยามหรือไม่นั้น เป็นปัญหาที่ได้ถกเถียงกันระหว่างปัญญาชนของประเทศสยาม มาเป็นเวลานานแล้วและแม้ในขณะนี้ก็กำลังเป็นปัญหา ที่ถกเถียงระหว่างคนที่มีการศึกษาครึ่งๆกลางๆ ซึ่งคนเหล่านี้บางคนได้แสดงความคิดเห็นลงในหน้าหนังสือพิมพ์ภาษาไทยแล้ว ประมวลความเห็นทั่วไปนั้นมีอยู่ว่า ประเทศสยามในปัจจุบันยังไม่พร้อม ที่จะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่อาจนำมาใช้ได้ในวันข้างหน้าซึ่งยังห่างไกลอยู่ คนบางคนยืนยันว่าการปกครองระบอบรัฐสภานั้น จะไม่วันเหมาะสมสำหรับประชาชนชาวสยามโดยให้เหตุผลว่า มีแต่ชนชาวแองโกลแซ็กซอนเท่านั้น ซึ่งได้สามารถทำให้ระบอบการปกครองระบอบนั้นเป็นผลสำเร็จได้ ไม่มีที่สงสัยเลยว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น จะเป็น

พระปกเกล้าฯกับการฝึกหัดเยาวชนพลเมืองเรื่อง "น้ำใจดี"

พระบรมฉายาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณีฯ        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  ทรงมีพระราชดำริในการปลูกฝังให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพโดยให้ศึกษาจากข้อธรรมะในพระศาสนาและการปลูกฝังให้การศึกษาแก่ประชาชนให้มี "น้ำใจดี"   เพื่อความสำเร็จในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  การอบรมเยาวชนในพระพุทธศาสนา  ทรงพระราชดำริว่า  การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด  และในรัชสมัยทรงริเริ่มโปรดเกล้าฯให้มีการประกวดการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กเป็นครั้งแรก  และทรงมีพระราชดำรัสว่า   "พระศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิต คือ  " ...ศาสนาถ้าสอนให้ถูกทาง  ศาสนาจะเป็นยาบำรุงกำลังน้ำใจให้ทนความลำบากได้  ให้มีแรงที่จะทำการงานของตนให้เป็นสำเร็จ  และยังเป็นยาที่จะสมานหัวใจให้หายเจ็บปวดในยามทุกข์ได้ด้วย... พวกเราทุกๆคน  ควรพยายามให้เด็กๆลูกหลานของเรามี "ยา"  สำคัญคือคำสอนของพระบรมศาสดาสัมพุทธเจ้าติดตัวไว้เป็นกำลังเพราะ  "ยา" อย่างนี้เป็นทั้งยาบำรุงกำลัง  และยาสมานหรือระงับความเจ็บปวด"   พระบาทสมเด็จพระปกเกล

การเตรียมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

                       ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1  ประเทศต่างๆในยุโรปบางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย  เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ต่อสู้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรงการต่อสู้ระหว่างทั้งสองระบอบนี้เต็มไปด้วยการนองเลือด เช่น ในอังกฤษ ฝรั่งเศส  รัสเซีย   ตลอดจนกระแสความคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยแพร่เข้ามาในเอเชีย และจีน รวมทั้งสยาม    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสดับเหตุการณ์จลาจลในประเทศจีน  ตามรายงานที่เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศกราบถวายบังคมทูลเป็นการส่วนพระองค์  ทรงรู้สึกอนาถในพระราชหฤทัยยิ่งนัก  พ.ศ. 2453  ตรัสให้กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ  เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศอ่านรายงานเกี่ยวกับการปฏิวัติใหญ่ในประเทศจีน  ครั้นจบลงแล้วจึงมีพระราชดำรัสว่า         "ฉันคิดว่า  มันเป็นสัญญาณของกลุ่มประเทศตะวันออกที่จะปกครองบ้านเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว  เราจะต้องตั้งปาลิเมนต์ (Paliament) และให้คอนสติติวชั่น (Constitiution) แก่ราษฎร  เขาฉลาดพอที่จะปกครองตัวเองได้หรือยังล่ะ  ฉันไม่อยากเห็นแผ่