ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

                                 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย (องค์ที่ ๗๖ ) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ   พระนามเดิมว่า   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์   ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน   พ.ศ. ๒๔๓๖   ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๔๘ พระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์   กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา   เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นอันสมควรแก่ขัตติยบรมราชกุมารแล้ว   เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษาหลังจากโสกันต์แล้วได้ทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ ที่วิทยาลัยอีตัน   และต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงสำเร็จการศึกษา

การเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูู่หัว

  การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี              การเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ รวม 4 ครั้ง คือ            1. เสด็จพระราชดำเนินเยือนสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ระหว่าง วันที่ 31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม พ.ศ. 2472            2. เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีนของฝรั่งเศส (เวียดนาม และกัมพูชา) ระหว่าง วันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473            3. เสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ระหว่าง  วันที่  6 เมษายน -28 กันยายน พ.ศ. 2474           4. เสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป ระหว่าง วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 (2477) -27 สิงหาคม พ.ศ. 2477                     ครั้งแรก สิงคโปร์   ชวา และบาหลี พ.ศ. 2472 [1]                        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสิงคโปร์   ชวา   และบาหลี ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม ถึง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2472 ทอดพระเนตรโบราณสถาน   พิพิธภัณฑ์ บ้านเมือง เช่น ปัตตาเวีย   ศิลปะ   เช่น ดนตรี ระบำชวา   เกษตรกรรม   เช่น   การทำไร่ชา   สวนยาง   ไร่กาแฟ   อุตสาหกรรมการทำสบู่   โรงไฟฟ้าพลังน้ำ   โรงกลั่นยาง   โ

กษัตริย์นักถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น

  กษัตริย์นักถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถในการถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์ดังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระองค์ทรงส่งภาพชื่อ“รูปตื่น”เข้าร่วมงานประกวดประชันภาพถ่ายในงานประจำปีของวัด เบญจมบพิตร เมื่อพ.ศ.2448  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดขึ้นและในครั้งนั้นทรงได้รับพระราชทานเหรียญทองแดงประกอบกับการที่พระองค์โปรดการทอดพระเนตรภาพยนตร์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์    จากพระราชนิยมดังกล่าวเป็นรากฐานให้ทรงโปรดการถ่ายทำภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองจากหนังสือวารสารรายเดือนชื่อ"International  Review  of  Educational   Cinematography  "พิมพ์ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี และทรงเพิ่มพูนความรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญจากการถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่น ในขณะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในและต่างประเทศ พระองค์จะทรงถือกล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาดเล็กติดพระหัตถ์อยู่ด้วยเสมอ เพื่อทรงถ่ายภาพยนตร์และบันทึกเหตุการณ์ ต่างๆ เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง  พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของนักถ่ายภาพยนตร์สมัคร

“ราชพัสตราภรณ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7”

    “ราชพัสตราภรณ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันพุธที่ 23 กันยายน 2563                      งานสัมมนาวิชาการพระปกเกล้าศึกษาเรื่อง “ราชพัสตราภรณ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7” เพื่ออธิบายพระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีคู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในยามสุขและยามทุกข์ นอกจากพระสิริโฉม พระสรวลที่ทรงแย้มยิ้มแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระอิริยาบทที่สง่างาม มีพระปรีชาสามารถที่รับสั่งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสอย่างชัดเจนไพเราะ ยังสื่อถึงพระบรมราชินีศรีสยามแบบสากลได้อย่างดียิ่ง พระองค์ทรงเสริมพระบารมีองค์พระประมุขในระบอบรัฐธรรมนูญแห่งสยามประเทศอย่างเหมาะเจาะทั้งในคราวเสด็จเยือนราษฎรในประเทศและเสด็จเยือนต่างประเทศ ทั้งฉลองพระองค์แบบไทยและแบบตะวันตก นับว่าทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนรุ่นหลังได้รับทราบพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระราชจริยวัตรที่พระองค์ทรงมีความจงรักภักดีต่อพระราชสวามีอย่างมิเสื่อมคลายตลอดพระชนม์ชีพ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ อาจารย์เ

การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7

  ใต้ฟ้าประชาธิปก : “การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7 ”                                                            งานสัมมนาวิชาการพระปกเกล้าศึกษา เรื่อง “การสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7 ” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.00-16.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารรำไพพรรณี พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบถึงพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อการแพทย์การพยาบาล และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับงานสาธารณสุขในสมัยรัชกาลที่ 7   ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. นายแพทย์ สรรใจ แสงวิเชียร ที่ปรึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำเสนอถึงพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการสาธารณสุข และด้านการแพทย์ รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานเงินทุนสร้างตึกหลายแห่ง และเสด็จฯ เปิดสถานที่ทำการ ณ โรงพยาบาลศิริราชถึงสามครั้งด้วยกัน ในปีพ.ศ.2741 รวมทั้งวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯไปยังห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึกคณะอักษรศาสตร์) พระราชทานปริญญาเวชชบัณฑิตชั้นตรี (แพทยศาส

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี : พระคู่ขวัญองค์ประชาธิปกในต่างแดน

  สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี : พระคู่ขวัญองค์ประชาธิปกในต่างแดน                                                                                            การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในทุกครั้ง   สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยเสด็จเคียงพระองค์ด้วยเสมอ การเสด็จเยือนดินแดนแห่งแรกของทั้งสองพระองค์ คือ สิงคโปร์ เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตามด้วยเกาะชวา และเกาะบาหลีที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2472   แห่งที่สองคือ อินโดจีนอาณานิคมของฝรั่งเศสเฉพาะ เวียดนามและกัมพูชา ในปีพ.ศ. 2473   และแห่งที่สามคือ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปีพ.ศ. 2474 และครั้งที่สี่ คือการเสด็จประพาสยุโรปในพ.ศ. 2476-2477         เกร็ดประวัติศาสตร์จากหนังสือพิมพ์ที่ผู้เขียนจะเล่าสู่กันฟัง คือจากการเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกา แคนาดาและญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2473 ถึง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เป็นเวลานานถึง 7 เดือน   ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 27 พรรษาเท่านั้น   นักหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ( New

รถยนต์พระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

                         รถยนต์พระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ เป็นรถยนต์ Austin Sheerline Saloon A125 คันนี้เคยเป็นรถยนต์พระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงใช้ระหว่างที่ประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว ต่อมาทางรัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จฯ นิวัตประเทศไทยในพ.ศ. ๒๔๙๒ พระองค์ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงเรือเดินทะเลชื่อ Wihem Ruys ออกจากท่าเรือเมือง Southampton  เสด็จนิวัติประเทศไทย และรถ Austin Sheerline Saloon A125 คันนี้ได้นำมาใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งในประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อนจึงได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในรถเพื่อความเย็นสบายเมื่อประทับรถยนต์พระที่นั่งในการเสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธี             สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงตัดสินพระทัยย้ายที่ประทับจากวังสุโขทัยไปประทับที่วังสวนแก้ว จังหวัดจันทบุรี พระองค์จึงใช้รถยนต์พระที่นั่งคันใหม่เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางไกล ส่วนรถ Austin Sheerline Saloon A125 คันนี้ ได้รับการเก็บรักษาและอนุรักษ์ไ

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

  เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ            เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จกล้าหาญ             พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนั้นสำหรับเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ช่วยเหรือราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในการปราบปรามกบฏบวรเดช [1] ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นสมควรได้รับพระราชทาน โดยได้ตรา “ พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๔๗๖ ” ขึ้นใช้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน                 ผู้ออกแบบ กรมศิลปากร                 เป็นเหรียญทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ ๒๓ มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน ด้านหน้ามีภาพสมุดรัฐธรรมนูญวางบนพานแว่นฟ้าสองชั้น อยู่ภายในวงพวงมาลัยชัยพฤกษ์ แผ่รัศมีกระจายทั่วมณฑล ด้านหลังมีรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์ ยืนลอยอยู่เหนือตัวอักษรตามขอบล่างว่า “ ปราบกบฏ ” พ.ศ. ๒๔๗๖ ” ภายใต้ห่วงอันมีอักษรว่า “ พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ” แพรแถบสีธงไตรรงค์กว้าง ๒๘ มิลิเมต