สรุปความรู้เกี่ยวกับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร เรียบเรียง
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
หมายถึงการเฉลิมพระเกียรติยศพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วยการรดน้ำ โดยจะสังเกตเห็นได้จากคำว่าอภิเษกที่แปลว่าการรดน้ำ
นับเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่งในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
แบบแผนของการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีมาแต่โบราณเพราะประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขมาช้านานแล้ว
ดังปรากฏหลักฐานในสมัยสุโขทัยอยู่บ้าง และมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นในสมัยอยุธยาบ้าง
ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่มีขึ้นคราวแรกในสมัยรัตนโกสินทร์
ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ใช้แบบอย่างของการพระราชพิธีสมัยอยุธยาเป็นตำราสำคัญ
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักสำคัญที่สืบเนื่องกันมาโดยไม่เปลี่ยนแปลง
หากแต่มีรายละเอียดบางประการที่อาจเพิ่มเติมหรือลดทอนไปบ้างตามความเหมาะสม
ด้วยพระราชดำริและพระราชวินิจฉัยในแต่ละรัชกาล เช่น
พิธีสรงมุรธาภิเษก
คือ การรดน้ำที่พระเศียร ถือเป็นการเปลี่ยนพระราชสถานะสู่ความเป็นพระมหากษัตริย์
และพิธีรับน้ำอภิเษก คือการรดน้ำที่พระหัตถ์
แต่เดิมราชบัณฑิตและพราหมณ์เป็นผู้ถวายน้ำอภิเษก
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงรับน้ำอภิเษกจากผู้แทนสมาชิกรัฐสภาประจำทิศทั้งแปด
เป็นนัยแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
นับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน
คือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประเทศไทยมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาแล้ว
จำนวน 12
ครั้ง เพราะมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจำนวน
2 ครั้ง ใน 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 1 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2326 แต่เพียงสังเขป
อาจเนื่องจากติดขัดเรื่องการสงครามในขณะนั้น และเมื่อ พ.ศ. 2328 จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเต็มตามแบบแผนโบราณราชประเพณีอีกครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 5
ทรงประกอบพระราชพิธีจำนวน 2 ครั้ง เพราะ ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 1
เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2411 โดยในขณะนั้นทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา
และยังไม่ได้ทรงบริหารพระราชภาระของแผ่นดินด้วยพระองค์เอง
ต่อเมื่อมีพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา จึงทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2416
และรัชกาลที่ 6 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11
พฤศจิกายน 2453 ซึ่งเป็นการพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี แต่งดเว้นการแห่เสด็จเลียบพระนครและการรื่นเริง
เพราะอยู่ในช่วงการไว้ทุกข์ เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว
จึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2454
และทรงเชิญพระราชอาคันตุกะจากนานาประเทศร่วมพิธีด้วย
ขั้นตอนการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นประกอบด้วยขั้นตอนหลักสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1)
ขั้นเตรียมพิธี
ประกอบด้วย
-
การเตรียมน้ำอภิเษก
และสรงน้ำพระมุรธาภิเษก อันประกอบด้วย
น้ำจากปัญจมหานที น้ำเบญจสุทธคงคา และน้ำจากสระทั้ง 4
สระ
-
การจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ
และแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล
-
การตั้งแต่งเครื่องบรมราชาภิเษกบนพระแท่นมณฑล
-
การจัดเตรียมสถานที่สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ซึ่งประกอบด้วย พระมณฑปพระกระยาสนาน พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
พระที่นั่งภัทรบิฐ และโรงพระราชพิธีพราหมณ์
2)
พิธีเบื้องต้น
เป็นพิธีที่ประกอบด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัย
และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในระหว่างการเจริญพระพุทธมนต์
ฝ่ายพราหมณ์ก็ทำพิธีถวายน้ำพระมหาสังข์ แล้วถวายใบสมิทธิ คือ ใบมะม่วง ใบทอง
และใบตะขบ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปัดพระองค์ ซึ่งถือเป็นการปัดป้องภยันตราย
แล้วพราหมณ์จึงนำใบไม้เหล่านี้ประกอบพิธีตามไสยวิธี
จากนั้นเป็นพิธีประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยพระราชาคณะ
3)
พิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อพิธีเบื้องต้นเสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้นจะเป็นพิธีบรมราชาภิเษก
ประกอบด้วยพิธีสรงพระมุรธาภิเษก พิธีถวายน้ำอภิเษก
และพิธีถวายสิริราชสมบัติและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ที่พระที่นั่งภัทรบิฐ
พิธีสรงพระมุรธาภิเษก
เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อทรงประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ คำว่า
“มุรธาภิเษก” คือการรดน้ำเหนือศีรษะ
โดยเสด็จฯประทับบนตั่งไม้อุทุมพรภายในพระมณฑปพระกระยาสนาน ผันพระพักตร์สู่ทิศมงคล
พิธีถวายน้ำอภิเษกจากผู้แทนทิศทั้งแปดที่พระแท่นอัฐทิศอุทุทพรราชอาสน์
ภายใต้พระบรมเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ราชบัณฑิตประจำทิศคุกเข่าถวายบังคมกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล
การสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี
เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสืบเนื่องมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
การเฉลิมพระราชมณเฑียร
หมายถึงการขึ้นบ้านใหม่ของพระเจ้าแผ่นดิน คือจะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นเวลา
1 คืน เรียกว่า การเสด็จเถลิงพระแท่นราชบัญจถรณ์
4)
พิธีเบื้องปลาย
มีการเสด็จออกมหาสมาคม ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนเข้าเฝ้า และประชาชนเข้าเฝ้าในการเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
และทางชลมารค ตามลำดับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น