ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

สุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์

สุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์ “ท่านผู้เป็นประธาน”                 ในวาระที่การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับ   พ.ศ. ๒๔๗๕   จะได้สิ้นสุดลงในวันนี้   ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญชวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น   คณะราษฎรพึ่งทราบเมื่อ ๖ วัน   ภายหลังที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว   คือ   เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน   ได้มีพระกระแสรับสั่งให้พระยาพหลพลพยุหเสนา   พระยาปรีชาชลยุทธ   พระยามโนปกรณ์นิติธาดา    พระยาศรีวิสารวาจา   พร้อมทั้งข้าพเจ้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท   และเจ้าพระยามหิธร   ซึ่งเป็นราชเลขาธิการขณะนั้นเป็นผู้จดบันทึก   มีพระกระแสรับสั่งว่ามีพระราชประสงค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น   เมื่อได้ปรึกษาข้าราชการมีตำแหน่งสูงในขณะนั้นก็ไม่เห็นพ้องกับพระองค์   ในสุดท้ายเมื่อเสด็จกลับจากประพาสอเมริกา   ได้ให้บุคคลหนึ่งซึ่งไปเฝ้าในวันนั้นพิจารณา   บุคคลนั้นก็ถวายความเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา   และที่ปรึกษาก็กลับเห็นพ้องด้วยบุคคลนั้น   คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์มาก่อน   ก

เมื่อพระปกเกล้าฯพระราชทานสัมภาษณ์นักหนังสือพิมพ์อเมริกัน

                                                                                                                              วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ วิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เคมบริดจ์ ถวายปริญญาบัตร                                                                                                                                                                                                                                                          ม.ร.ว.พฤทธิสาณ   ชุมพล จดหมายข่าวสถาบันพระปกเกล้าฉบับนี้   เป็นฉบับประจำเดือนพฤษภาคม   ซึ่งเป็นเดือนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ วันที่ ๓๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต   ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน เฮาส์ ( Compton House ) ประเทศอังกฤษ   ตามธรรมดาคงจะต้องเขียนถึงวาระนั้น   แต่เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงพระองค์ท่านในอีกรูปแบบหนึ่ง   จึงขอเล่าสู่กันฟังถึงพระราชกรณียกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญ   และทรงประกอบแต่ครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาในพ.ศ. ๒๔๗๔แทน   พระราชกรณียกิจที่สำคัญนั้น   ก็คือ การพระราชทานสัมภาษณ์นักหนังสือพิมพ์อเมริกันที่โ