ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2013

พระราชขันติธรรมในสุโขทัยธรรมราชา

                                                                                                  พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานที่รัฐสภา                                                                                                                                       ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร           พุ ทธศาสนสุภาษิตหมวดขันติวรรค คือ หมวดอดทน กล่าวถึงข้อคิดที่สำคัญไว้ดังนี้   “ ผู้มีขันติได้ชื่อว่า นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น   ผู้มีขันติธรรมอยู่ในใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทาง สวรรค์ และนิพพานโดยแท้ พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า " ยกเว้น ปัญญา แล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า “ขันติเป็นเลิศ"เพราะฉะนั้น ขันติบารมีจึงเป็นบารมีที่เราจะต้องสั่งสมไว้ให้มาก ให้ติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น   ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันเป็นต้นได้ ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ   มียศ   และมีสุขเสมอ   ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย [1]

หัวหิน : พัฒนาการของสถานตากอากาศกว่าร้อยปี

                                                                                   ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร  การตากอากาศชายทะเลเป็นรสนิยมของชนชั้นสูงที่แพร่เข้ามาพร้อมกับชาวตะวันตก ผ่านความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่และการคมนาคมทางรถไฟ   การเริ่มต้นไปตากอากาศชายทะเลในสยามเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕   จากการเรียกร้องของชาวอังกฤษในกรุงเทพฯที่ต้องการสถานที่พักผ่อนชายทะเล เพื่ออากาศบริสุทธิ์และการรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับการขอให้ทางการตัดถนนเพื่อขี่ม้าออกกำลังกายและการขอเช่าที่ดินแถบทุ่งพญาไทเพื่อการสร้างสนามม้า การขยายตัวออกไปด้วยเส้นทางคมนาคมทางรถไฟสายใต้ที่สร้างเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสถานพักตากอากาศที่ชื่อว่า “ หัวหิน ” ทางรถไฟสายใต้เปิดเดินทางจากสถานีบ้านชะอำ-หัวหิน   เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๔   ก่อนหน้านั้นได้เปิดเดินรถไฟจากสถานีธนบุรี-เพชรบุรี   เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๖   และจากสถานีเพชรบุรี-บ้านชะอำ   เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน   พ.ศ. ๒๔๕๔   (สงวน อั้นคง ๒๕๑๔ .: ๔๐๑