ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2011

“มนุษยธรรม” ในรพินทรนาถปาฐกถา สยาม พ.ศ.2470

ขอบคุณบทความจาก  ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล *                 ในจดหมายข่าวสถาบันพระปกเกล้า ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผมได้เล่าถึงการที่รพินทรนาถ ฐากูร นักคิดนักประพันธ์ชาวอินเดียเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดีประจำค.ศ. 1913 มาเยือนสยามระหว่าง 8-16 ตุลาคม 2470 และได้แสดงปาฐกถาหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและที่อื่นๆ คราวนี้ขอเก็บเล็กประสมน้อยจากการประชุมระหว่างประเทศเพื่อเฉลิมฉลอง 150 ปีวันเกิดของรพินทรนาถ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียจัดขึ้นภายใต้แนวเรื่อง “ วิสัยทัศน์ของฐากูรสำหรับเอเชีย : ความเป็นเอกภาพของมนุษย์ที่ก้าวล่วงชาตินิยม ” [1] มาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติม                 ปาฐกถาที่รพินทรนาถแสดงที่กรุงเทพฯ มี 5 เรื่องด้วยกันคือ 1. India’s Roles   in the World ในงานเลี้ยงรับรองที่จัดโดยชาวอินเดียในสยาม ณ โรงแรมพระราชวังพญาไท 2. Child Education ที่ตึกอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 3. Chinese Birth ในงานเลี้ยงรับรองของชาวจีนในสยามซึ่งจัดที่โรงเรียนเผยอิง    ถนนทรงวาด 4. Asia’s Continental Culture หน้าพระที่นั่ง ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน และ 5. Ideals of National Ed

พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ขณะประทับที่ประเทศอังกฤษระหว่าง พ.ศ. 2477-2492

 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ราชนารี 5 แผ่นดิน    หม่อมราชวงศ์ พฤทธิสาณ ชุมพล เรียบเรียง ความนำ           พระราชประวัติส่วนนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ด้วยเหตุที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติจากพระตำหนักโนล (Knowle) หมู่บ้านแครนลี (Cranleigh) ประเทศอังกฤษมายังรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ หลังจากนั้น ทั้งสองพระองค์ได้ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษสืบไปโดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษ ทรงใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิมคือ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา หรือ the Prince of Sukhodaya ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษนั้นเอง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้ประทับอยู่ ณ ประเทศนั้นต่อมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนิวัติประเทศไทย ถึงกรุงเทพฯเ

ตายเสียดีกว่าเสียเกียรติศักดิ์ : สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในเหตุการณ์วิกฤตทางการเมือง

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ     (จากบทนิทรรศการถาวรสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ : พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 7)           “เช้าวันนั้น รู้เรื่องกันที่สนามกอล์ฟนั่นแหละ... พอเกิดเหตุการณ์แล้ว พระยาอิศราฯเป็นคนไปกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ก็รับสั่งว่า ไม่เป็นไรหรอก เล่นกันต่อไปเถอะ แต่ฉันกลับก่อน แล้วจึงไม่ทราบเรื่องจนเสด็จกลับมา ก็รับสั่งกับฉันว่า ‘ว่าแล้วไหมล่ะ’ ฉันทูลถามว่า ‘อะไร ใครว่าอะไรที่ไหนกัน’ จึงรับสั่งให้ทราบว่า มีเรื่องยุ่งยากทางกรุงเทพฯ ยึดอำนาจและจับเจ้านายบางพระองค์”           สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ พระราชทานสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวไว้ดังนี้ เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๕ เกี่ยวกับเหตุการณ์ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๔๐ปี ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะนั้นล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์เสด็จฯ ไปประทับแรมอยู่ที่ ‘สวนไกลกังวล’ หัวหิน ภาพฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 7 ทรงถ่ายสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีที่วังไกลกังวล          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชหัตถเลขาทรงเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวพระราช ทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ พระราชนัดดา ซึ่งประทับอยู่ที่ประเทศอังก

พระราชบันทึกทรงเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ

 หนังสือพระราชบันทึกทรงเล่า       หนังสือพระราชบันทึกทรงเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ นั้นเป็นบทความหนึ่งในหนังสือ "เบื้องแรกประชาธิปตัย: บันทึกความทรงจำของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สมัย พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๐๐ " คณะกรรมการสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ (สมเด็จฯพระชนม์ ๖๙ พรรษา )เพื่อขอพระราชทานทรงเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น  ต่อมา สถาบันพระปกเกล้าได้นำมาจัดพิมพ์ใหม่ เมื่อตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ในอีกแง่มุมหนึ่ง                     "ความจริงเรื่องปฏิวัตินี่นะ ในหลวงท่านทรงเดาไว้นานแล้วว่าจะมีปฏิวัติ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันฉลองพระนคร ในหลวงท่านรับสั่งว่า วันนั้นน่ะไม่มีหรอกเพราะมีคนรู้กันมาก ถ้าจะระวัง ก็ต้องหลังจากวันงานผ่านไปเสียก่อน"  (วันงานคือ วันฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕)         ส่วนแรกของบทความบอกเล่าเรื่องการพระราชทานสัมภาษณ์  โดยเริ่มจากเหตุก

การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม : มิถุนายน 2475

ยาสุกิจิ ยาตาเบ เขียน  : อดีตอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยามในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศสยาม แปลโดย : ศ.เออิจิ มูราชิมา บัณฑิตวิทยาลัยเอเชียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยวาเซดะ และ รศ. ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารศิลปวัฒนธรรมปีที่ 26 ฉบับที่ 8 มิถุนายน 2548 (ขอขอบคุณ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อนุญาตให้พิมพ์เผยแพร่บางส่วน)      ประเทศสยามนับจากสร้างประเทศขึ้นมา  ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างการเมืองของรัฐกับเรื่องครอบครัวของพระมหากษัตริย์ การแบ่งแยก 2 สิ่งออกจากกันนั้น กล่าวได้ว่า เพิ่งเริ่มต้นเมื่อทศวรรษ 1890 นี้เอง  เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนับเป็นเรื่องแปลกแต่ประการใดที่รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามสามารถดำรงอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปีค.ศ. 1932  (พ.ศ.2475)  อย่างไรก็ตามได้มีบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ดังปรากฏว่ามีคนบางกลุ่มมีความประสงค์ที่จะปฎิรูปการเมือง  ตัวอย่าง เช่น หลังจากรัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี คือปี ค.ศ. 1912 (พ.ศ.2455 ) ปรากฎว่ามีแผนการที่จะก่อการปฏิวัติขึ้น  คณะบุคคลที่เข้าร่วมในขบวน