ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2012

รัชกาลที่ 7 เสด็จฯยุโรป พ.ศ.2476-2477 (4) :

                           คราวที่แล้วได้กล่าวถึงว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระราชดำริเรื่องการสละราชสมบัติไว้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเมื่อมีผู้ทัดทาน ได้ทรงแบ่งรับแบ่งสู้ โดยรับสั่งว่า ขึ้นอยู่กับว่าอาการของพระเนตรจะเป็นอย่างไร และว่าคณะราษฎรจะทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในพระองค์(อีก)หรือไม่                 คราวนี้เรามาดูกันว่าต้องทรงคิดคำนึงถึงเรื่องนี้อีกเมื่อใดบ้าง โดยผมขอแบ่งเป็น 3 กาลด้วยกันโดยเรียกว่า เหตุการณ์สมมติ ก่อนเกิดเหตุการณ์สมมติ และหลังเกิดเหตุการณ์สมมติ ตามลำดับ [1] ซึ่งจะนำเรากลับไปที่การเสด็จฯประพาสยุโรป เหตุการณ์สมมติ                 ในช่วงที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ถาวร” คณะอนุกรรมการร่างฯของสภาผู้แทนราษฎรดำริจะกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในประเด็นนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย โดยรับสั่งว่าได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานตั้งพระราชหฤทัยแต่ครั้งที่ทรงเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ซึ่งเป็นตามราชประเพณี ย่อมเท่ากับว่าพระองค์และพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไปต้องรักษารัฐธรรมนูญ [2]

รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ยุโรป พ.ศ.2476 – 2477 (3)

จดหมายเหตุข่าวฯ   ฉบับนี้เป็นฉบับประจำเดือนมีนาคม เดือนที่เมื่อ 77 ปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 (พ.ศ.2478 นับตามปฎิทินปัจจุบันสมัย) มาจากที่ประทับในประเทศอังกฤษ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้เริ่มอธิบายขยายความว่าเหตุใดผมจึงเห็นว่า วัตถุประสงค์ประการที่ 3 ของการเสด็จฯ ประพาสยุโรป คือ เพื่อตัดสินพระราชหฤทัยว่าจะทรงสละราชสมบัติหรือไม่               ในตอนที่แล้ว ผมได้ทิ้งท้ายไว้ด้วยการ สืบสาวให้เห็นว่า เมื่อเสร็จสิ้นการเสด็จฯประพาสประเทศต่างๆในยุโรปแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯจากสวิตเซอร์แลนด์ถึงกรุงปารีสเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2477 และประทับอยู่ที่นั่นอย่างน้อยถึงวันที่ 20 กันยายน 2477 ส่วนที่ว่า ในช่วงระยะเวลากว่า 3 สัปดาห์นั้น ทรงประกอบพระราชกิจใดไม่ปรากฏรายละเอียด แต่มีพระราชกิจหนึ่งที่สำคัญ ดังจะได้ไขให้ทราบ ณ บัดนี้               ในวันที่ 26 กันยายน พระยาราชวังสัน(ศรี กมลนาวิน)อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส ได้มีจดหมายถึงพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ที่กรุงเทพฯ โดยทางไปรษณีย์อากาศ อ้างถึง

Royal Virtues in Their Religious Activities

                                                       H.M. King Prajadhipok while still Prince, is in the  monkhood.   Spending time in the Buddhist monkhood           At the age of 24 while still Prince, H.M. King Prajadhipok demonstrated his faith in Buddhism by ordaining as a monk according to royal tradition at the Temple of the Emerald Buddha and spent the whole Buddhist Lent of 3 months in residence at Wat Bovornives Vihara. Over the duration, he demonstrated mastery of the Buddhist Teachings or Dharma to the extent that the Supreme Patriarch, H.R.H. Kromphraya Vijarayana Varoros, who performed his ordination wanted him to stay on in the monkhood and in time become one of his successors.            In October 1956, H.M. King Bhumibol wished to become ordained for a time. After gaining the approval of Parliament to appoint H.M. Queen Sirikit as Regent over the duration of his monkhood, he personally announced his intention in public, explaining: