ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2023

ประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศเชคโกสโลวาเกียและความหมาย“The Order of the White Lion”

>1. ประวัติความเป็นมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “Order of the White Lion” ได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2465 มีทั้งหมด 5 ชั้น (classes) และแบ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพลเรือน (Civil Division) และทหาร (Millitary Division)การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละครั้งจะมีการบันทึกหมายเลข (Inventory) เอาไว้ ซึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ลำดับที่ B 41634021 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 เดิมการสถาปนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 มีกฎหมายกำหนดให้ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ White Lion ให้รัฐบาลเช็กเมื่อผู้รับเสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม ต่อมาเมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอีกหลายครั้ง ในปัจจุบันกำหนดให้มีการส่งคืนเมื่อผู้รับชาวเช็กเสียชีวิต ขณะที่ผู้รับต่างชาติต้องส่งคืนเมื่อไม่มีผู้สืบทอดในครอบครัวแล้ว สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “White Lion” ที่มีการมอบระหว่างปี พ.ศ. 2473-2533 ไม่จำเป็นต้องส่งคืนประธานาธิบดีเชคโกสโลวาเกียจะมอบ Order of the White Lion ให้กับชาวเช็กและชาวต่างชาติที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศเชคโกสโลวาเกีย 2. ลั

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากราชอาณาจักรฮังการี ของรัชกาลที่ 7

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากราชอาณาจักรฮังการี ประกอบด้วยดวงตรา จี้ พร้อมสายสะพายสีเขียวเดินทองสีขาวและสีแดง ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2477 ขณะเสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป ประวัติ รูปลักษณะ และนัยสำคัญ 1. ประวัติความเป็นมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล เดอะ ฮังกาเรียน ครอส ออฟ เมริต “The Cross of Merit Order of the Kingdom of Hungary” เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ครอส ออฟ เมริต” ในภาษาอังกฤษ หรือในภาษาฝรั่งเศส “ครัว เดอ เมริต” (Le Croix de Merite) ชั้นสูงสุด สายสะพายพื้นสีเขียวเดินทองสีขาวและสีแดง ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยฯพณฯนายพลเรือโทมิคลอส ฮอร์ธีย์ (Miklos Horthy) (Vice Admiral ) “ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน” หรืออาจใช้ว่า “ผู้รักษาพระนคร” ( The Honthy Era ค.ศ.1920-1944) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ถูกสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) ซึ่งขณะนั้นประเทศฮังการีถือว่าเป็นราชอาณาจักร (Kingdom) แม้ว่าจะยังไม่ได้ตกลงว่าจะเชิญเจ้านายพระองค์ใดเป็นพระมหากษัตริย์จากนั้นฮอร์ธีย์ มิคลอส ก็ได้ออกคำสั่งให้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลเดอะ

“สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

หนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ในที่นี้ผู้เขียนขอศึกษา 3 ประเด็นคือ 1. การใช้ข้อมูลเรียบเรียง 2. เนื้อหาเชิงวิเคราะห์และ 3. บทวิเคราะห์ภาพรวม การใช้ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” เป็นการนำเนื้อหาจากต้นฉบับพิมพ์ดีด ภาคสอง ส่วนที่ 1 หน้า 1 – 349 จัดแบ่งเป็น 2 บทคือ บทที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และ บทที่ 2 ออกจากกรุงเทพฯ หนังสือฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ปรากฏลายหัตถ์พระนามและปีศักราชที่เชื่อว่าทรงเขียนตอนนี้เสร็จคือปี พ.ศ. 2498 นั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาทั้ง 2 บท ค่อนข้างแน่ชัดว่าข้อมูลหลักที่ทรงใช้เขียนคือบันทึกประจำวันซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478 เป็นบันทึกของพระองค์เองกับบันทึกของพระภคินีหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุคุณาวรรณ ดิศกุล ทรงเรียก “หญิงเหลือ” มีความระบุว่า “ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะเล่าตามไดอารีบางวัน” ซึ่งหมายถึงบันทึกส่วนพระองค์ และยังทรง “ขอให้หญิงเหลือทำบันทึกเรื่องราว ตั้งแต่ 24 มิถุนายน จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม” ซึ่งเป็