ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2021

พระราชปณิธานสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระชนมพรรษา 48 พรรษา เสด็จครองสิริราชสมบัติ 9 ปี ตลอดระยะเวลา 9 ปีในรัชกาลพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและบ้านเมืองเป็นอเนกประการ อาทิ ในด้านการเมืองการปกครอง ในทางการเมืองการปกครองทรงมีพระราชดำรินับแต่เริ่มรัชกาลว่า "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" นับวันจะล้าสมัยไป จึงทรงศึกษาและทรงเตรียมการอย่างเป็นลำดับ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง "อภิรัฐมนตรีสภา" ขึ้นเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ โปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง "สภากรรมการองคมนตรี" เพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งการใช้พระราชอำนาจในทางที่ผิดและเพื่อเป็นวิธีการในการทดลองและเรียนรู้เกี่ยวกับการประชุมแบบรัฐสภา แนวพระราชดำริ

ทรงเลิศล้ำวิชาการทหารและสืบสานงานศิลปวัฒนธรรม

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก่อนทรงบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ แม้พระองค์จะมีพระพลานมัยที่ไม่แข็งแรงนัก หากแต่ทรงวิริยะอุตสาหะต่อการศึกษาในแขนงวิชาการทหารเป็นอย่างยิ่ง นับแต่ยังทรงศึกษาในประเทศและเมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น ก็ยังทรงมุ่งมั่นไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ในวิชาการทหารชั้นสูง ณ ประเทศอังกฤษ ในแผนกวิชาทหารม้าปืนใหญ่ จนได้รับสัญญาบัตรนายร้อยตรีกิตติมศักดิ์แห่งกองทัพอังกฤษ ครั้นเสด็จกลับมาประเทศสยามแล้ว แม้ว่าจะมีพระอาการ ประชวรพระโรคเป็นระยะๆ แต่ก็ทรงเจริญในหน้าที่ราชการตามลำดับ อาทิ ตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก พระยศนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่2 และผู้บัญชาการพิเศษทหารปืนใหญ่ที่2 ซึ่งพื้นฐานในวิชาการทหารนี้หล่อหลอม พระราชหฤทัยให้ทรงเด็ดเดี่ยวในคราวที่จะต้องตัดสินพระทัยต่อชาติบ้านเมืองและประชาชน ทรงเลิศล้ำวิชาการทหาร > ทรงสืบสานงานด้านศิลปวัฒนธรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า

พระบิดาแห่งการแพทย์ของไทย

สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลยเดช หรือต่อมา คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกในรัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งการแพทย์ของไทย ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 เสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สิริพระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน 24 กันยายน 2564 จะมีการถวายสักการะ และวางพวงมาลา กิจกรรมรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ การจัดนิทรรศการ การจัดสัมมนาทางวิชาการ การประกวดหรือการแข่งขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกวดโรงพยาบาลดีเด่น และรัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ซึ่งมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต

สถานภาพสตรีจากวรรณกรรมดอกไม้สด เรื่อง ศัตรูของเจ้าหล่อน

“ศัตรูของเจ้าหล่อน” “บทประพันธ์ของ หม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ ใช้นามแฝงว่าดอกไม้สดภาษาในการประพันธ์ใช้ได้งดงาม และใช้ฉากยุคสมัยของรัชกาลที่ 7 ซึ่งเขียนเมื่อพ.ศ. 2472 และเคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์ไทยเขษมรายเดือนในปีพ.ศ. 2472 จนกระทั่งพ.ศ. 2487 กองอาสากาชาดจึงได้พิมพ์รวมเล่ม จำหน่ายในงานสโมสรสันนิบาต ณ อุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ เสนอความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ กล่าวคือ คนรุ่นใหม่เห็นว่า ประเพณีคลุมถุงชนเป็นเรื่องพ้นสมัยไร้เหตุผล แต่ในตอนจบเรื่องยุติปัญหาว่าในที่สุด คู่ที่ผู้ใหญ่เลือกให้เป็นคู่ที่เหมาะสมที่สุด เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ มยุรี นางเอกของเรื่อง และประสงค์ วิบูลย์ศักดิ์ ผู้เป็นคู่หมั้นคู่หมายกันแต่วัยเด็ก เมื่อประสงค์เติบโตขึ้นก็หลงรักมยุรี แต่มยุรีกลับเห็นว่า การหมั้นหมายเปรียบเสมือนเครื่องผูกมัดหล่อน อีกทั้งเวลาผ่านไปทั้งสองคนไม่ได้ติดต่อกันทำให้มยุรีปฏิเสธการแต่งงานกับประสงค์ ทำให้นายประสงค์ปลอมตัวเป็นนายประสมมาเป็นลูกจ้างเพื่อจะได้เข้าใกล้ชิดกับมยุรี ภายหลังจบลงด้วยความสุขสมหวัง นวนิยายเรื่องนี้จะคล

ละครแห่งชีวิต : วรรณกรรมอมตะของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์

"หนังสือเล่มนี้เขียนสำหรับคนไทยและชาติไทย ซึ่งข้าพเจ้ารักและต้องการให้เป็นสุข หม่อมเจ้า อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 6 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์กับหม่อมอ่อน ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญแล้วมาศึกษาต่อชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แต่ไม่จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 และทรงลาออกไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ ด้วยปัญหาด้านสุขภาพจึงต้องทำให้เสด็จกลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2471 และต่อมาได้สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่ประเทศฮ่องกง หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ทรงเป็นนักประพันธ์รุ่นแรกๆที่กำเนิดในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ซึ่งนักประพันธ์รุ่นนี้ประกอบด้วย ดอกไม้สด ศรีบูรพา สด กูรมะโรหิต มาลัย ชูพินิจ ส่ง เทภาสิต และยาขอบ นักประพันธ์รุ่นดังกล่าวเติบโตในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก