ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2010

ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองสยามสมัยแรกกับน้ำใจนักกีฬา

ปกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต   โดย ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร               ภาพล้อและการ์ตูนเป็นงานศิลปะรูปแบบหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามในแนวตลกขบขัน ภาพล้อและการ์ตูนต่างจากงานเขียนประเภทจิตรกรรมที่แสดงออกให้เห็นความวิจิตรงดงามและประณีต ขั้นตอนการสร้างการ์ตูนการเมืองต้องมีกระบวนการวางโครงเรื่องและวาดรูปให้เหมาะกับยุคสมัย ประกอบกับคนไทยมักจะมีนิสัยความเกรงอกเกรงใจผู้หลักศักดิ์ใหญ่เป็นทุนเดิม จะว่ากล่าวหรือทักท้วงผู้มีอำนาจวาสนา หรือนักการเมือง ผู้ปกครองก็ต้องหาวิธีที่เหมาะสมโดยใช้อารมณ์ขันมาผ่อนคลาย ภาพล้อและการ์ตูนจึงปรากฏมาในรูปแบบของการสะกิดสะเกาพอเจ็บๆ คันๆ         การเขียนภาพการ์ตูนการเมืองในประเทศไทยเริ่มจุดประกายขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสนพระทัยเรื่องการเขียนศิลปะภาพล้อยิ่งนัก ต่อมายังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแปลศัพท์ “Cartoon” เป็นภาษาไทยว่า“ภาพล้อ” เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๐        ในพ.ศ. ๒๔๖๓ ขณะที่รัชกาลที่ ๖ เสด็จฯประทับ ณ พระราชวังพญาไทใหม่ๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้ย้าย เมือง“ดุสิตธานี” (เมืองจำลอง) จากพระราชวังดุสิตไปด้ว

พระราชดำริทางเศรษฐกิจและการเมืองในรัชกาลที่ ๗

พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัสทางเศรษฐกิจและการเมือง ในรัชกาลที่ ๗ เรียบเรียงโดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร “…ประโยชน์ของประเทศชาติย่อมสำคัญกว่าประโยชน์ของส่วนตัวบุคคล และในเวลาที่บ้านเมืองเข้าสู่ที่คับขันเช่นนี้เป็นหน้าที่ของข้าราชการและพลเมืองทุกคนที่จะต้องยอมเสียสละประโยชน์ของตนให้แก่ประเทศสยาม ...” (ข้อความบางส่วนใน พระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้า ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๒๕กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๔)   ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของสยามและการแก้ไขในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาแรก  ทรงตัดทอนรายจ่ายต่าง ๆ ในราชสำนัก ลดจำนวนข้าราชบริพารในกระทรวงวัง ยุบหรือรวมหน่วยงานทุกระดับ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดเล็กและผู้บัญชาการกรมมหรสพ ทรงลดจำนวนเงินที่ถวายพระองค์ จากปีละ ๙ ล้าน เหลือ ๖ ล้านบาท ในปี ๒๔๖๙ ทรงดุลยภาพข้าราชการออกก่อนกำหนด ให้รับเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแทน “Prob lems of Siam” พระราชปุจฉา (คำถาม)   ๙   ข้อ ข้อ ๑-๒ เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการสืบราชสมบั