ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2011

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ กับการบุกเบิกสวนบ้านแก้ว

ขอบคุณบทความจาก ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล “สวนบ้านแก้ว”      ภายหลังที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯได้รับสั่งให้ พลตรีหม่อมทวีวงศ์  ถวัลยศักดิ์ เลขานุการสำนักพระราชวังหาสถานที่เป็นที่ประทับอยู่ ๒ แห่ง คือที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดจันทบุรี พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยเลือกที่จังหวัดจันทบุรี คือ "สวนบ้านแก้ว"      “สวนบ้านแก้ว” อยู่บริเวณเขาไร่ยา มีพื้นที่เป็นเขาชันสูงสู่ระดับต่ำ “คลองบ้านแก้ว” เป็นป่ารกชัฏด้วยหญ้าคา ต้นอ้อ และพงแขม และป่าไม้ล้มลุก สภาพโดยรอบมีความสมบูรณ์ แต่ขาดการพัฒนา ซึ่งในขณะนั้นถนนระหว่างจันทบุรี – กรุงเทพฯ บางส่วนยังเป็นลูกรัง การคมนาคมมาไม่สะดวกพระองค์ทรงมาบุกเบิกถางป่าทำทางมาปลูกขนำอยู่ทางทิศตะวันออกโดยไม่มีน้ำประปา ใช้น้ำบ่อน้ำคลอง ไม่มีไฟฟ้า ต้องใช้เครื่องปั่นไฟ พาหนะบางครั้งพระองค์ต้องใช้วัวเทียบเกวียน       ต่อมาทรงให้หม่อมเจ้าสมัครสมาน กฤดากร ปรับพื้นที่เพื่อจัดทำการพัฒนาสวนบ้านแก้วด้านเรือนพัก และการเกษตรต่าง ๆ อาทิเช่น ปลูกข้าว มะพร้าว ขนุน พริกไทย ลิ้นจี่ มะปราง เป็นต้น โดยการทำสวนเป็นการช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับการเพาะเลี้ยงพันธุ์ไก่ต่างๆ ตลอด

ชีวิตเด็กหญิงคนหนึ่งใต้ร่มพระบารมีองค์ประชาธิปก

                                                                               พระอิริยาบถเรียบง่ายในสวน   สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ กับ ม.ร.ว.ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อมระนันท์  ขอบคุณบทความจาก  ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล และคุณปิงคสวัสดิ์ อมระนันท์       เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้ มีการเปิดตัวหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “Siamese Memoirs : The Life and Times of Pimsai Svasti” หน้าปกเป็นภาพวาดรากไม้ใหญ่ซึ่งมีช่อดอกตูมงอกออกมาตรงปลาย สะท้อนให้รู้ถึงลักษณะเฉพาะของหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นการนำข้อเขียนที่หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย สวัสดิวัตน์ (อมระนันท์) หรือ “คุณต้อ” เขียนไว้เกี่ยวกับชีวิตของเธอ ซึ่งเคยตีพิมพ์เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานศพของเธอเมื่อพ.ศ. 2520 ภายใต้ชื่อว่า My Family, My Friends and I มาตีพิมพ์ใหม่เป็นบทๆ แต่ละบทคั่นด้วยข้อเขียนของปิงคสวัสดิ์ อมระนันท์ บุตรชายคนเล็กของเธอซึ่งเขียนขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ บทคั่นเหล่านี้เล่าถึงชีวิตคุณต้อเพิ่มเติม และถึงความเป็นไปของครอบครัวของเธอ หลังจากที่เธอถูกปลิดชีวิตไปเมื่อวัยเพียง 48 ปี ปิงคสวัสดิ์บอกว่า พวกเขาเหมือนกระรอกที่ปีนป่ายต

A Royal Couple’s Joint Passion for Gardening

Author : M.R.Prudhisan Jumbala Associate professor in Politics, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University, and is on the committees of the two foundations and the King Prajadhipok Museum.          Eighty-Five years ago, on February 25, 1926, a Thai King was crowned, and at his coronation ceremony elevated his only wife to the position of Queen Consort. The Proclamation of Investiture evoked as an important reason her companionship to the King “in happiness and sorrow in a way unsurpassed” over the previous seven years of their married life.         In his letter to King Vajiravudh seeking royal permission to marry her, that king, then Prince Prajadhipok, wrote of how acquaintanceship had grown into fondness and love.        What did he see in her and what did they have in common? A newly opened Permanent Exhibition on Queen Rambhai Barni of the Seventh Reign at the King Prajadhipok Museum at Panfa Lilat intersection attempts to answer these two questions. It does so

70 ปีวันสวรรคตพระปกเกล้าฯ

 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี  ขอบคุณบทความจาก รศ. ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพลกรรมการพิพิธภัณฑ์ฯ           เมื่อปีใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้กรุณาส่งปฏิทินตั้งโต๊ะ “70 ปีความรักของพระปกเกล้าฯ” มาให้ ทำให้นึกออกว่า ปีนี้ครบ 70 ปีของการเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่พระตำหนักคอมพ์ตันเฮาส์ ประเทศอังกฤษ พระชนมพรรษาเพียง 48 พรรษา           บทกวีวัจนะของรองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา ซึ่งตีพิมพ์ไว้บนหน้าแรกเบื้องข้างพระบรมฉายาลักษณ์ ไขข้อสงสัยว่า “ความรักของพระปกเกล้าฯ” นั้น เป็นอย่างไร ในที่นี้ขอคัดมาเพียงบางส่วน           “รักหนึ่งคือภักดิ์ เชษฐาธิบดี...            รักสองทรงมี รำไพพรรณี มเหสีภูบาล...            รักสามคือรักปวงประชา ให้การศึกษา...            รักสี่ที่รักเป็นหนักหนา รักประชาธิปไตยในสยาม...            รักห้ารักแท้มอบแก่ชาติ สละราชสมบัติตัดปัญหา            มอบประชาธิปไตยให้ประชา เสด็จลาลับไทยไปนิรันดร์...” และจบลงด้วยกลอนสุภาพ บรรทัดสุดท้ายความว่า             “ขอความรักปกเกล้าปกชาวไทย ดลชาติใ

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อทรงพระเยาว์)

                พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประสูติเมื่อวันพุธแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  ได้รับพระราชทานพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า           "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกร ณนาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ มหามกุฎราชพงศบริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาพิษิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยกุล อดุลยราชกุมาร กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา มุสิกนาม"            (พระนามที่ปรากฏในพระสุพรรณบัฎ " ศุโขไทยธรรมราชา " ต่อมาในรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนเปลี่ยนไปตามที่ปรากฏในประกาศทางราชการว่า " สุโขทัยธรรมราชา ")           โดยเหตุที่ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้าย  สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเอ็นดูรักใคร่  ได้ทรงมอบให้เจ้าจอมเยื้อนในรัชกาลที่ ๕ เป็นพระอภิบาล  พร้อมทั้งหม่อมเจ้าหญิงมนัศสวาสดิ (ภายหลังเป็นพระองค์เจ้า) กับหม่อมเจ้าหยิงโพยมมาลย์ ทรงเรียกว่า

พระราชกรณียกิจ : การเสด็จในประเทศและต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ ๗

เสด็จฯมณฑลภูเก็ต             พระราชจริยาวัตรประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งแสดงถึงพระราชประสงค์ที่จะไม่ทรงแสดงพระองค์เป็น “สมมติเทพ” ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินออกไปเยี่ยมราษฎรในส่วนภูมิภาค ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ที่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร คือเสด็จพระราชดำเนินทั่วมณฑลพายัพ จังหวัดต่างๆริมฝั่งทะเลอ่าวไทย และทั่วมณฑลทักษิณ เพื่อให้ราษฎรมีโอกาสได้เห็นพระองค์และสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นยังมีพระราชประสงค์ที่จะทอดพระเนตรภูมิประเทศถิ่นฐานบ้านเมือง ทรงทราบความเป็นไปอันเนื่องด้วยสุขด้วยทุกข์ตลอดถึงการทำมาหาเลี้ยงชีพของข้าขอบขัณฑสีมาอาณาจักรทั่วไป ได้ทรงพบเห็นสิ่งต่างๆ มากอย่างสำหรับจะได้มาเป็นเครื่องทรงพระราชดำริดัดแปลงแก้ไขสิ่งที่พ้นสมัย ผดุงสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้คงดีตลอดไปและพยายามให้ดียิ่งขึ้นสมกับที่ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของชาติ        ดังพระราชดำรัสที่เมืองภูเก็ต ดังนี้       " ...ที่เราลงมาเลียบมณฑลภูเก็ตครั้งนี้  มีความประสงค์อันเป็นข้อสำคัญก็คือ เพื่อจะได้เห็นภูมิสถานบ้านเมือ