ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2022

แรกมีโรงเรียนสตรีในสยาม

สังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่แล้ว แต่ด้วยค่านิยม ขนบประเพณีในสังคมที่เป็นลักษณะปิตาธิปไตย บุตรธิดาต้องอยู่ภายใต้การบังคับดูแลของบิดา มารดา และสามี ที่คาดหวังให้สตรีมีความประพฤติและจริยธรรมที่มีเป้าหมายการครองเรือนและดูแลกิจการภายในครอบครัว สตรีจึงถูกกำหนดให้ต้องเรียนรู้การวางตัวและการปรนนิบัติพ่อแม่และสามี ความรู้ของสตรีจึงมีเพียงการฝึกหัดงานบ้านและวิชาชีพจากประสบการณ์ในครอบครัวหรือไปถวายตัวในราชสำนัก จนกระทั่งการศึกษาแบบตะวันตกถูกนำเข้ามาในสยามโดยคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน (Presbyterianism) เผยแพร่ศาสนาไปพร้อมกับก่อตั้งโรงเรียนสตรีที่มีหลักสูตรและระบบสมัยใหม่ การเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะบทบาทและอิทธิพลของหมอสอนศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ ที่ให้ความสำคัญแก่การศึกษาสตรีทั้งในด้านศีลธรรมจรรยา และการรู้อักขรวิธีเพื่อให้มีความรู้ด้านวิทยาการใหม่ๆจากตะวันตก เมื่อพ.ศ. 2417 มีการจัดตั้งโรงเรียนแหม่มโคล์ หรือโรงเรียนวังหลัง(Harriet M. House School for Girls) หรือวัฒนาวิทยาลัย จึงเป็นตัวแบบให้กับการศึกษาของสตรีชนชั้นสูงไทยต่อมา อย่างไรก็ต

สตรีสยามกับการประกอบอาชีพยุคใหม่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสมัยรัชกาลที่ 7 : ศึกษากรณีอาชีพนักเขียนสตรี

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษา อาชีพของสตรีสยามในช่วงเปลี่ยนผ่านในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ระหว่าง พ.ศ. 2468-2477) โดยศึกษาถึงบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จากนโยบายของรัฐและหลักสูตรทางการศึกษาสู่ความทันสมัยว่าส่งผลต่อการประกอบอาชีพของสตรีสยามที่เปลี่ยนแปลงไป โดย ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร นักวิชาการผู้ชำนาญการ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจัยแรก คือ “สิ่งแวดล้อม” ในช่วงเวลาดังกล่าว หมายถึง บริบทการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าและระบบเงินตราสมัยใหม่ การเติบโตธุรกิจในเมือง การมีชุมชนเมืองสมัยใหม่ มีตลาด ร้านค้า ตึกแถว บ่อน ซ่อง แหล่งบันเทิงและที่พักแรม ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของเมืองสมัยใหม่ (แทนที่วัดและวัง) สิ่งแวดล้อมนี้ ทำหน้าที่เป็นตลาดรองรับ บทบาท หน้าที่ทำให้สตรีสยามดำเนินอาชีพสมัยใหม่ ปัจจัยที่สอง คือ การศึกษาสมัยใหม่ ระบบโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายจำนวนโรงเรียนสตรีเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 ทั้งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาล ทั้งในเมืองกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดหัวเมือง ที่รู้จักกันดีต่อมาว่า โรงเรียนประจำจังหวัด การตั้งโรงเ

พฤศจิกา-ประชาธิปก

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน ปีมะเส็ง ร.ศ. 112 พ.ศ. 2436 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ ประสูติเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นทรงรับราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช ที่ประชุมเจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ และเสนาบดีกระทรวงต่างๆปรึกษากันว่าพระบรมนามาภิไธยจะใช้อย่างไร สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช “ทรงเห็นว่าในระหว่างที่ยังไม่ได้ทรงรับราชาภิเษกนี้ ถ้าจะใช้ว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอก็เป็นคำฟั่นเฝือ คำว่า สมเด็จพระอนุชาธิราชไม่สู้ตรงกับแบบแผน... ส่วนการราชาภิเษกนั้นเป็นงานแผ่นดินจำต้องหาฤกษ์...เพราะฉะนั้นเห็นควรให้ใช้ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”ไปพลางโดยมิต้องรอการราชาภิเษก... ” ในที่สุดจึงตกลงให้ขนานพระนามาภิไธยในระหว่างนี้ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา”... ส่วนพระบรมนามาภิไธยซึ่งจะจารึกในพระสุพรรณบัตรเป็นอันยังไม่ตกลงเด็ดขาดทางใด” วันรุ่งขึ้น โปรดเกล้าฯให้ประกอบ