ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2010

The Exhibition “Siamese Footprints on King Prajadhipok’s Movies”

H.M. King Prajadhipok (Rama VII) was a pioneer in movie-making even before he was crowned. During his reign, he took or directed to be taken many documentary films of royal ceremonies and of his trips in the country and abroad. Some of these have been preserved, copied on to new film and transferred into DVD format by the National Film Archive with support from the King Prajadhipok’s Institute. The Exhibition on show at the King Prajadhipok Museum at Panfa Lilat intersection from August 25 to September 30, 2010 provides recollections about Siam in the last years of the Absolute Monarchy. On opening day at 1.00 p.m., presided over by Dr. Tej Bunnag, a former Minister of Foreign Affairs and an historian, the films to be shown are Rama VII’s Coronation, Celebrations on the 12th Anniversary of his Royal Wedding to Queen Rambhai Barni and Prince Chirasakhi Suprapart’s Tonsure(topknot) Cutting Ceremony. On September 4 at 1.30 p.m., excerpts from documentary movies on Their Late Majes

นิทรรศการ "รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้าฯ"

โดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร           ในประเทศสยาม ภาพยนตร์ประเภทข่าวและเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์รวมถึงภาพยนตร์สารคดี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการคิดสร้างสรรค์ผูกเรื่องราวให้เป็นภาพยนตร์บันเทิงเช่นเดียวกับประเทศอื่นในโลก สมัยรัชกาลที่ ๗ ภาพยนตร์ข่าวและสารคดีจำนวนหนึ่ง เป็นภาพยนตร์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงโปรดการทอดพระเนตรและการถ่ายทำภาพยนตร์มาก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็มักจะทรงกล้องถ่ายภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ส่วนหนึ่งไว้เสมอ ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้ตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพ.ศ. ๒๔๗๓ พระราชจริยาวัตรด้านนี้ไม่เพียงจะเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าเท่านั้น หากยังแสดงถึงพระปรีชาสามารถในการถ่ายทำภาพยนตร์ที่บ่งชี้ถึงความสนพระทัยในความเป็นอยู่ของราษฎร รวมถึงศิลปวิทยาการ สังคมและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง           นิทรรศการ“รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้าฯ” จัดแสดงระหว่างวันที่ ๒๕ สิงหาคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มุ่งหวังให้คนไทยย้อนรำลึกถึงภาพอดีตของสยาม

รอยพระบาทยาตรา ณ เกาะชวา บาหลี

ภาพรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงฉายร่วมกัน ในคราวเสด็จประพาสชวา พุทธศักราช 2472  นับเป็นการเสด็จประพาสต่างประเทศเพื่อเจริญพระราชสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังจากขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ โดย รศ.ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศครั้งแรกในรัชกาล ประพาสสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคมถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2472 รวมเวลาทั้งสิ้น 78 วัน เพื่อทรงเจริญพระราชไมตรีกับทั้งอังกฤษและฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์) เจ้าอาณานิคมของสิงคโปร์ และชวาบาหลีตามลำดับ อีกทั้งกับเจ้าผู้ครองนครพื้นเมืองดั้งเดิมบนเกาะชวาและบาหลี มีสุลต่านแห่งยกยาคาร์ตา สุสุนันแห่งสุรการ์ตาที่เกาะชวา และอนักอะกุงต่างๆที่เกาะบาหลี ทั้งยังได้เสด็จฯทอดพระเนตรโบราณสถานมากแห่ง มีเทวสถานบรัมบานันและเจดีย์บุโรพุทโธเป็นต้น รวมทั้งทรงศึกษากิจการต่างๆทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมตลอดจนภูมิประเทศแปลกตา เช่นภูเขาไฟ น้ำพุร้อน การประกอบอาชีพ เช่น การทำนาขั้นบันไดบนไหล่เขา สวนยาง และการประมง อีกทั้งศิลปวัฒนธรรม ช

นิทรรศการ "ของเก่าเล่าเรื่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

นิทรรศการ "ของเก่าเล่าเรื่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"     ศิลปวัตถุและภาพถ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เป็นศิลปวัตถุอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระนามและพระบรมนามาภิไธยสิ่งของซึ่งพระราชทานหรือผลิตขึ้นเนื่องในพระราชพิธีและโอกาสสำคัญๆในรัชกาลเชิญชวนให้ผู้เข้าชมได้มีความสนใจในพระราชประวัติและเข้าถึงคติธรรมต่างๆ ที่แฝงอยู่ในศิลปวัตถุและในพระราชพิธี อีกทั้งพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติในช่วงต่างๆ จักน้อมนำให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงตระหนักอยู่โดยตลอดว่าจะต้องทรงปกป้องคุ้มครองปวงประชา ทั้งในสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายในทศพิธราชธรรมจรรยาและในสมัยที่มีการปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ               พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดนิทรรศการนี้ขึ้นในวาระครบ 80 ปีแห่งวันบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 7 คือตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มีกิจกรรมสัมมนาประกอบนิทรรศการเรื่อง 'การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 7' ในวันที่ 25 ก

นิทรรศการ "เฉลิมพระยศเจ้านายฝ่ายใน"

นิทรรศการเฉลิมพระยศเจ้านายฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีในสมัยอดีตนั้น เบื้องหลังกำแพงกั้นกลางในพระบรมมหาราชวังคือ พระตำหนักและที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์หญิงทั้งมวลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระบรมราชชนนี พระอัครมเหสี พระสนม พระราชธิดา และ พระประยูรญาติชั้นต่าง ๆ ส่วนราชสำนักฝ่ายใน ก็รวมถึงข้าราชสำนักหญิงผู้ทำหน้าที่ราชการในเขตพระราชฐาน ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ เจ้านายฝ่ายในมีพระยศซึ่งทรงดำรงเมื่อประสูติตามกฎมณเฑียรบาล ต่อมาบางพระองค์ได้รับสถาปนาเฉลิมพระยศเลื่อนพระยศ เช่น เมื่อเจริญพระชันษาโสกันต์แล้ว เมื่อทรงพระฐานันดรศักดิ์ตามราชประเพณี เช่น สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระอัครมเหสี หรือเลื่อนพระยศขึ้นด้วยทรงความชอบในราชการและการส่วนพระองค์ เลื่อนหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า เลื่อนพระองค์เจ้าขึ้นเป็นเจ้าฟ้า และการเฉลิมพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ให้ทรงดำรงพระอิสริยยศตามโอกาสสมควร นอกจากนี้เจ้านายฝ่ายในได้รับการเฉลิมพระยศทรงกรมเช่นเดียวกับเจ้านายฝ่ายหน้า คือ เจ้านายผู้ชาย ด้วยเช่นกัน ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพ

ความเปลี่ยนแปลงของพระราชพิธีต่างๆในสมัยรัชกาลที่ ๗

ภาพเขียนสีน้ำมัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เครื่องบรมราชภูสิตาภรณ์ทรงพระมหาพิชัยมงกุฏ ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง           โดย  ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร           พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นงานหลวงที่จัดขึ้นในราชสำนักสยามสืบมาเป็นเวลานาน ปรากฏหลักฐานแบบแผนการพระราชพิธีอยู่ในกฎมนเทียรบาลตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ที่ทรงปฎิบัติเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลในเดือนต่างๆทั้งสิบสองเดือนของรอบหนึ่งปี สืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์           ในชั้นต้นนั้นการพระราชพิธีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์เป็นสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีทอดเชือกดามเชือก พระราชพิธีกะติเกยา และพระราชพิธี ตรียัมพวาย ตรีปวาย ฯลฯพระราชพิธีบางอย่างยกเลิกหรือเพิ่มเติมใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่           สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ตรงกับปี๒๓๖๐ มีการฟื้นฟูพระราชกุศลวิสาขบูชา โดยจุดโคมตามประทีปบูชาในอารามหลวง            สมัยพระบาทสมเ

“เพลงไทยสากล”: การผสมผสานทางวัฒนธรรม

                                       รัชกาลที่ 7 ทรงซออู้ การแสดงละครของเจ้านายในราชสำนัก           ประเทศไทย หรือ สยามในอดีตเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาในสังคม โดยผ่านการติดต่อการค้า ความสัมพันธ์ทางการทูต การศึกษา และวัฒนธรรมการบันเทิง ฯลฯ ในทางหนึ่ง สังคมไทยได้รับเอาวิทยาการและเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตก มาเพื่อพัฒนา ปรับปรุง และอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต แต่ขณะเดียวกัน รูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ ความคิดอ่าน ย่อมเข้ามาพร้อมกับวิทยาการเหล่านั้น ผู้คนในสังคมรับและเลือกรับ ปรับและดัดแปลงวัฒนธรรมที่มาจากภายนอก ให้สอดคล้องกับค่านิยม ความคิดจนเกิดการผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันตกและความเป็นไทย เพลงไทยสากล ผลที่สะท้อนให้เห็นถึงการรับและปรับใช้วัฒนธรรมที่มาจากภายนอก จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของไทย ดังที่ จำนง รังสิกุล ได้นิยามความหมายของเพลงไทยสากลไว้ ดังนี้“เพลงที่ใช้ดนตรีสากลเป็นหลักในการบรรเลง ดำเนินตามแบบดนตรีตะวันตก ทั้งกระบวนการสร้างจังหวะ ท่วงทำนองการบันทึก และเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงไทยสากลเป็นเพลงขับร้อง ที่รับเอารูปแบบลักษณะของดนตรี ลักษณะการบรรเลง การเรียบ