ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2020

“ประชาภิบาล” : การทดลองปกครองตนเองระดับท้องถิ่นในรูปแบบ municipality (เทศบาล) ในสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีโปรดการเสด็จประพาสชายทะเลหัวหินมาแต่เมื่อยังมิได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ซึ่งทรงทราบดีว่าหัวหินขาดแคลนน้ำจืด ดังนั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการจัดสภาบำรุงสถานที่ทะเลฝั่งตะวันตก พุทธศักราช ๒๔๖๙ เพื่ออนุวัตรตามแนวพระราชดำริให้ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตยในภายหน้า “สภาบำรุงฯ” จึงเป็นการทดลองปกครองตนเองระดับท้องถิ่นในรูปแบบ municipality หรือ “ประชาภิบาล” (ภายหลังเรียกว่า “เทศบาล” ) “ให้ราษฎรได้รู้จักเข้าควบคุมกิจการท้องถิ่นด้วยตัวเองก่อนที่เขาจะพยายามควบคุมราชการแผ่นดินโดยผ่านทางรัฐบาล”         พร้อมกันนั้นมีพระราชประสงค์สร้างที่ประทับส่วนพระองค์พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โปรดให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาเป็นสถาปนิก โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากพระคลังข้างที่ โปรดเกล้าฯ ให้ใช้

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระสวามี กลับประเทศไทย

  วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เรือภาณุรังสีอัญเชิญหีบพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๗ ถึงกรุงเทพฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จพระราชดำเนินลงจากเรือ เจ้าพนักงานเชิญพระพุทธรูปประจำพระองค์อยู่เบื้องขวา (ขอบคุณภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร) พระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุดตานถม ภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (ขอบคุณภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร) เสด็จคืนถิ่นไทยสมศักดิ์ศรี           พุทธศักราช ๒๔๙๐ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงพระราชดำริว่าค่าใช้จ่ายในการประทับที่อังก ฤษสูงมาก และเป็นการอาศัยบ้านเมืองเขาอยู่เท่านั้น หากได้เสด็จฯกลับเมืองไทยจะได้ทรงงานเพื่อประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์หรือด้านศาสนา           อย่างไรก็ตาม การเสด็จกลับนั้นรัฐบาลไทยต้องอัญเชิญเสด็จฯอย่างเป็นทางการ และอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสมพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริย์ จึงจะเสด็จฯก

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

                      ทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาไทย            สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ทรงประสบเหตุการณ์ที่ก่อเกิดความผันแปรในพระชนม์ชีพหลายครั้งคราว ทั้งที่สุขปีติ และทุกข์โทมนัสจนบั่นทอนกำลังพระราชหฤทัย แต่ทั้งหมดนั้นทรงผ่านมาได้ด้วยพระปรีชา ทำให้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ จากยุวราชนารีตราบเสด็จสวรรคต ทรงดำรงพระองค์งดงามเพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศสูงส่งแห่งสมเด็จพระบรมราชินี ทรงเคียงข้างพระราชสวามีทุกโอกาส ทรงวางพระองค์อย่างเหมาะสมทุกสถานการณ์ ทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือพัฒนาการอาชีพราษฎรในท้องถิ่น และที่สำคัญทรงสนับสนุนการศึกษาก่อเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศ เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่าควรแก่การศึกษาและน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ ที่ประมวลโดยสรุปได้ดังนี้ *พระราชจริยวัตรเปี่ยมคุณธรรม           สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงเผชิญทุกข์และโศกหลายครั้งครา แต่ด้วยพระราชอัธยาศัยนุ่มนวลแต่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง ทรงปล่อยวางอย่างเหมาะสมในบางโอกาส ทรงอโหสิกรรมในที่สุด และเหนือสิ่งอื่นใด ทรงยึดมั่นในพระเกียรติคุณและรักษาพระเกียรติยศของพระรา