ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2021

พัฒนาการเศรษฐกิจไทยสมัยรัชกาลที่ 7

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) เป็นระยะเวลาแห่งความยุ่งยากทางเศรษฐกิจและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เกิดปัญหาเสถียรภาพของการเงินระหว่างประเทศ การเพิ่มขึ้นของการกีดกันทางการค้า อันนำมาสู่ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 2470 ซึ่งมีผลกระทบต่อไทยด้วย ภายใต้การดำเนินนโยบายตาม “แนวอนุรักษ์นิยม” ที่เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 7 นับเป็นความพยายามจะบรรลุถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง เศรษฐกิจไทย (ยกเว้นช่วงปี 2474-2475) กลับมาอยู่ในช่วงที่มีเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศ กล่าวคือ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในฐานะมั่นคง ดุลบัญชีเดินสะพัดและฐานะทางการคลังทั้งงบประมาณของประเทศก็สามารภอยู่ในฐานะเกินดุล เงินคงคลังและทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น หนี้สินต่างประเทศต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำ ศ. ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ระบบเศรษฐกิจระหว่างชาติในช่วงรัชกาลที่ 7 ก้าวพ้นปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ

พระราชดำริด้านประชาธิปไตยในรัชกาลที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระองค์สุดท้ายซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยฝักใฝ่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีหลักฐานเกี่ยวกับพระราชดำริดังกล่าวคือ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงการปกครองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในสมัยนั้น ดังข้อความที่กล่าวว่า. “กระแสความเห็นในประเทศนี้ส่งสัญญาณชัดแจ้งว่า กาลเวลาของระบอบอัตตาธิปไตยใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว หากจะให้พระราชวงศ์นี้สถิตอยู่ต่อไป จะต้องปรับให้สถานะของพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น จะต้องหาหลักประกันอย่าให้มีพระมหากษัตริย์พร่องในความสุขุมรอบคอบ ในการทรงใช้พระวิจารณญาณ” พระราชบันทึกเรื่องการปกครอง Problems of Siam เอกสารพระราชบันทึกเรื่องการปกครองนี้เป็นเอกสารส่วนพระองค์ที่พระราชทานมายังพระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) หลังจากการขึ้นครองราชย์เพียง ๘ เดือนเท่านั้น เป็นช่วงที่พระยากัลยาณไมตรีกราบบังคมลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศแล้ว แต่ได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทย รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชปุจฉาถาม เกี่ยวกับปัญหาขอ

รมณียสถาน “สวนบ้านแก้ว”

สวนบ้านแก้วตั้งอยู่ที่ตำบลเขาไร่ยา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ ๖๘๗ ไร่ ระยะแรกสร้างที่ประทับและเรือนที่พักชั่วคราว ทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จไปประทับแรมครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนัก เรือนรับรอง เรือนข้าราชบริพาร และสถานที่ต่างๆ สำหรับทรงงานตามที่ทรงพระราชดำริ เช่น พระตำหนักใหญ่ พระตำหนักที่ประทับทาสีเทา ศาลากลม หรือซุ้มดอกเห็ด ที่ประทับพระอิริยาบถ สวนส่วนพระองค์ (สวนดอกไม้) สวนดอกไม้เมืองหนาว สระเลี้ยงเต่า เลี้ยงปลา สวนส่วนพระองค์ (สวนผลไม้) ปลูกเงาะ มะปริง มะปราง ลิ้นจี่ เลี้ยงเป็ด ห่าน ไก่ และนกหงส์หยก พระตำหนักดอนแค(ตำหนักแดง) ที่ประทับเจ้านายและที่พักม.ร.ว.สมัคสมาน กฤดากร ราชเลขานุการส่วนพระองค์ ตำหนักน้อย ที่ประทับพระอิริยาบถบางโอกาสและที่รับรองเจ้านายที่มา เฝ้าฯ ศาลาทรงไทย ที่ประทับพักพระอิริยาบถ และที่เสวยพระกระยาหารแบบพื้นบ้าน ป่ามะพร้าว อยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ สถานที่ปลูกพืชสวนครัว อยู่ทางทิศตะวันตกของพระตำหนักใหญ่ ไร่แตงโม อยู่ติดกับสวนมะพร้าว โ

การสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

< เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา และหม่อมเจ้าหญิง รำไพพรรณี พระชายา เสด็จฯกลับเมืองไทยนั้นแม้ไม่ทรงคาดคิดหรือคาดหวังว่าจะต้องทรงดำรงตำแหน่งพระรัชทายาท แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนสุโขทัยธรรมราชาก็ทรงรับพระราชภาระงานราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นอย่างดี ทรงได้เลื่อนพระยศเป็นนายพันเอกในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ ๒ และเลื่อนพระอิสริยยศทรงกรมขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระวรราชชายา ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เป็นการสถาปนาพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกาศ

เกศากันต์ ยุวราชนารีรำไพพรรณี

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๗ ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) ต้นราชสกุล สวัสดิวัตน์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ และหม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ Born Royal H.M. Queen Rambhai