ขอบคุณบทความจาก ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล คราวที่แล้ว ผมได้เล่าว่าในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2476 หลังจากที่ได้มีการยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนฯแล้วพระยาพหลฯได้เป็นนายกรัฐมนตรีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯได้ทรงไว้ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานนายเจมส์แม็กซเตอร์ว่า ต้องพระราชประสงค์จะเสด็จฯไปให้ไกลเพื่อจะทรงมีความเป็นอิสระเพียงพอที่จะทรงใช้การขู่ว่าจะสละราชสมบัติเป็นเครื่องมือต่อรองกับรัฐบาลและคณะราษฎร ให้เข้าสู่ระบบพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญแบบที่ทรงเข้าพระราชหฤทัย เมื่อเหตุการณ์สมมติได้เกิดขึ้น สองเดือนต่อมา ในวันที่ 11 ตุลาคม 2476 “เหตุการณ์สมมติ” ของพระยาพหลฯได้อุบัติขึ้น ทหารหัวเมืองเช่นจากนครราชสีมาได้ยกพลมาประชิดพระนครที่ทุ่งดอนเมือง ยื่นคำขาดให้รัฐบาลพระยาพหลฯลาออก ด้วยเหตุที่ไม่ได้ทำตามนโยบายที่แถลงไว้ว่าจะต่อต้านคอมมิวนิสต์และได้ปล่อยให้มีผู้หมิ่นพระเกียรติยศ การณ์ปรากฏว่า มีเจ้านายในพระราชวงศ์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงแสดงองค์เป็นผู้นำกองกำลังพระวรวงศ์เธอพร...
ศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเพื่อสืบทราบพระคติและพระปัญญา พระอุปนิสัยเพื่อเป็นแก่นแกนในการศึกษาเรื่องราวด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาการทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไทย ( บทความและภาพที่เผยแพร่นี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อเป็นวิทยาทานเท่านั้น ไม่มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้ใดใด หากนำไปใช้กรุณาอ้างอิงที่มาด้วย จักขอบคุณมาก)