“ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยฉะเพาะ [1] เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและ โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” พระราชประสงค์ในการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พระตำหนักโนล ประเทศอังกฤษ นับเป็นการยุติสภาวะความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ดังข้อความวรรคข้างต้นที่ได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวาง เหตุผลของการสละราชสมบัติวิเคราะห์ได้จากข้อความพระราชหัตถเลขาจำนวน ๖ หน้าคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นมิได้ทำให้เกิดเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน เพราะคณะผู้ปกครองมิได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างแท้จริง การกำหนดนโยบายต่างๆ ต...
ศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเพื่อสืบทราบพระคติและพระปัญญา พระอุปนิสัยเพื่อเป็นแก่นแกนในการศึกษาเรื่องราวด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาการทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไทย ( บทความและภาพที่เผยแพร่นี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อเป็นวิทยาทานเท่านั้น ไม่มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้ใดใด หากนำไปใช้กรุณาอ้างอิงที่มาด้วย จักขอบคุณมาก)