นักเขียนในสังคมไทยก่อนทศวรรษ 2470 ส่วนใหญ่มักเป็นนักเขียนชาย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนักเขียนที่ทำหน้าที่ตัวแทนความคิดระหว่างสายอนุรักษ์นิยมและสายก้าวหน้า ดังนี้ 1. ชาติและชาตินิยมในพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 อันที่จริงแล้วรัชกาลที่ 6 ทรงพัฒนาแนวคิดเรื่องชาติและชาตินิยมจากช่วงครึ่งหลังในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสามารถสถาปนารัฐและระบบ บริหารรวมศูนย์ ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกำหนดเป้าหมายประเทศร่วมกัน คือ สร้างความเจริญให้ประเทศก้าวขึ้นสู่เวทีโลก และยังนำแนวคิดนี้มาเป็นหลักการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศให้เป็น “สากล” ด้วยบริบทที่ยังคงเป็นท้องถิ่น นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังกำหนดแกนเรื่องสำหรับการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้วยการรณรงค์แนวคิดเรื่อง “ความสามัคคี” เพื่อสร้างเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผ่านบทพระราชนิพนธ์ประวัติศาสตร์ อย่างกรณีเรื่อง “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในราชจักรีวงศ์สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ทรงเป็นกษัตริย์เปี่ยมด้วยรสนิยม สนพระทัยวรรณกรร...
ศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเพื่อสืบทราบพระคติและพระปัญญา พระอุปนิสัยเพื่อเป็นแก่นแกนในการศึกษาเรื่องราวด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาการทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยไทย ( บทความและภาพที่เผยแพร่นี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อเป็นวิทยาทานเท่านั้น ไม่มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้ใดใด หากนำไปใช้กรุณาอ้างอิงที่มาด้วย จักขอบคุณมาก)