ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลุ่มนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย(ระหว่างทศวรรษ 2460-2470)

นักเขียนในสังคมไทยก่อนทศวรรษ 2470 ส่วนใหญ่มักเป็นนักเขียนชาย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนักเขียนที่ทำหน้าที่ตัวแทนความคิดระหว่างสายอนุรักษ์นิยมและสายก้าวหน้า ดังนี้ 1. ชาติและชาตินิยมในพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 อันที่จริงแล้วรัชกาลที่ 6 ทรงพัฒนาแนวคิดเรื่องชาติและชาตินิยมจากช่วงครึ่งหลังในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสามารถสถาปนารัฐและระบบ บริหารรวมศูนย์ ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกำหนดเป้าหมายประเทศร่วมกัน คือ สร้างความเจริญให้ประเทศก้าวขึ้นสู่เวทีโลก และยังนำแนวคิดนี้มาเป็นหลักการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศให้เป็น “สากล” ด้วยบริบทที่ยังคงเป็นท้องถิ่น นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังกำหนดแกนเรื่องสำหรับการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้วยการรณรงค์แนวคิดเรื่อง “ความสามัคคี” เพื่อสร้างเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผ่านบทพระราชนิพนธ์ประวัติศาสตร์ อย่างกรณีเรื่อง “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในราชจักรีวงศ์สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ทรงเป็นกษัตริย์เปี่ยมด้วยรสนิยม สนพระทัยวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะการละคร ทรงแปลงานของเชกสเปียร์และซัลลิแวนร์ ทรงสร้างโรงละคร นิพนธ์บทละครและข้อเขียน ข้อเขียนจำนวนมากที่แสดงความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมการเมือง ทว่าสิ่งสำคัญที่รัชกาลที่ 6 มิได้ดำเนินตามความคาดหวังของรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อพระราชโอรสในฐานะกษัตริย์องค์ต่อไป อาจเป็นผู้พระราชทานระบอบการปลุกครองแบบปาเลียเมนต์ รัชกาลที่ 6 ทรงปฏิเสธข้อเสนอระบบการปกครองแบบใหม่นี้ทรงตั้งข้อสังเกตว่า “สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาวยุโรป อาจเป็นสิ่งชั่วร้ายสำหรับพวกเรา” ) พระองค์ทรงสืบสานพระราชพิธีและพระราชประเพณี ที่ริเริ่มในครั้งรัชกาลสมเด็จพระราชบิดา โดยเน้นพระราชพิธีที่ปรากฏแก่สายตาสาธารณชน ขณะเดียวกันก็ทรงสร้างสรรค์พระราชนิยมส่วนพระองค์ในด้านการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีการจัดตั้งกองกำลังเสือป่าจากข้าราชการและเข้าราชสำนักให้มีหน้าที่ ถวายอารักขา และเป็นเครื่องมือแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์ เบื้องหลังการจัดตั้งกองกำลังส่วนพระองค์สืบเนื่องจากปัญหาคณะผู้ก่อการ ร.ศ. 130 หรือกลุ่มทหารหนุ่มยังเติร์กในกองทัพขณะนั้น กับปัญหาความไม่ลงรอยในคณะผู้บริหารราชการ เสนาบดีกระทรวงชุดแรกในรัชกาลที่ส่วนใหญ่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ด้วยสาเหตุนี้พระองค์จึงทรงเริ่มใช้ความสามารถด้านอักษรศาสตร์ นิพนธ์คำสอนประชาชนที่ปรากฏสาระอุดมการณ์ชาตินิยมแบบกษัตริย์นิยม * ควบคู่กับกระบวนการคัดกรองแยกแยะ “คุณภาพ” งานประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ของ “วรรณคดีสโมสร” 2 ทั้งหมดนี้ทำให้การสร้างสรรค์งานเขียนอยู่ภายใต้แนวเรื่องชาตินิยม กษัตริย์นิยม นั่นเอง หลักการชาตินิยม กษัตริย์นิยมนั้นรัชกาลที่ 6 ทรงอ้างอิงทฤษฎีที่ว่า มนุษย์อยู่รวมกลุ่มกันเป็นสังคม แล้วเลือกผู้นำขึ้นเป็นกษัตริย์ให้ทำหน้าที่ ในปี 2462 รัชกาลที่ 6 ยังทรงทดลองจัดตั้งเมืองจำลองแบบการปกครองประชาธิปไตยเรียกว่า “ดุสิตธานี” ดุสิตสมิตเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ที่ออกในดุสิตธานี ฉบับหนึ่ง ตีพิมพ์บทพระราชนิพนธ์ประเภทกวีนิพนธ์แปลจากต่างประเทศ เรื่องชวนหัว บทความส่วนใหญ่เป็นคำสอนที่พระมหากษัตริย์ให้กับประชาชน แต่เรื่องส่วนใหญ่เป็นบันเทิง เรื่องสั้นและเรื่องยาว บทนิพนธ์เองก็เน้นหนักในทางสั่งสอนทวยราษฎร์ในดุสิตธานีเชิงจริยธรรม บทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ความเป็นชาติโดยแท้จริง” ของรัชกาลที่ 6 ในดุสิตทรงเขียนให้เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง อันหมายถึงการยอมรับระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมที่ถูกต้องในชาติไทย ซึ่งมีการแบ่งคนเป็นลำดับชั้น เพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลำดับชั้นตามฐานะคนในสังคม ดังนั้น ลักษณะที่จะตัดสินว่าใครเป็นคนชาติใดนั้น ก็มีอยู่แต่ภาษาซึ่งคนนั้นใช้อยู่โดยปกติ และต้องถือเอาภาษาเป็นใหญ่ และใครพูดภาษาใด แปลว่าปลงใจจงรักภักดีต่อชาตินั้นโดยจริงใจ การไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งหรือกรณีพิพาท รวมถึงความเห็นแตกต่างกันให้อยู่ร่วมกันได้ นั่นคือเป็นเหตุให้กษัตริย์มีอำนาจสมบูรณ์แบบ ท้อทายหรือต่อต้านไม่ได้ มีการสืบราชสมบัติต่อเนื่องกัน เพื่อความมั่นคงภายในพระราชวงศ์ นอกจากนี้ยังทรงเปรียบรัฐเหมือนร่างกายมนุษย์ อวัยวะแต่ละส่วนล้วนมีหน้าที่แตกต่างกัน กษัตริย์ทรงเป็นมันสมอง “ดังนั้นอวัยวะอื่นๆไม่ควรตั้งคำถามถึงการทำงานของสมอง มีแต่ว่าต้องเชื่อฟังสมองหรือกษัตริย์ ด้วยเหตุว่า” พวกเราอยู่เรือลำเดียวกันทั้งหมด ทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องช่วยกันพายเรือ ถ้าหากเราไม่พาย เอาแต่นั่งเอนหลังตลอดเวลา นำหนักของคนในเรือ จะทำให้พวกเราจมน้ำลงอย่างช้าๆ แต่ละคนควรต้องตัดสินใจพายเรือ แล้วก็ไม่ต้องโต้แย้งกับผู้ถือหางเสือเรือ นอกจากนี้รัชกาลที่ 6 ยังทำให้ ชาตินิยมกับกษัตริย์นิยม เป็นสิ่งเดียวกัน ด้วยการอธิบายว่า “ความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ก็เหมือนกับความรักชาติ เพราะว่า กษัตริย์ คือ ตัวแทนของชาติ” หน้าที่ของราษฎรเพียงแต่ทำตัวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือร่วมมือกัน เชื่อฟังและกตัญญูต่อกษัตริย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสละชีวิตตนเองในสภาวะที่ประเทศของเราต้องเผชิญกับอันตรายจากภัยคุกคาม และผู้ไม่ยอมเสียสละชีวิตเพื่อแผ่นดิน ก็ไม่ควรเรียกว่าเป็นคนไทย รัชกาลที่ 6 ทรงปลุกเร้าให้ชาวสยามร่วมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อปกป้อง “ชาติ ศาสนา(พุทธ) และกษัตริย์” วลีนี้ทรงดัดแปลงมาจาก “พระผู้เป็นเจ้า (God), พระราชา (King) และประเทศชาติ (Country)” ของอังกฤษนั่นเอง สองวลีนี้เหมือนจะต่างกัน แต่แท้จริงแล้วเหมือนกัน พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติที่นับถือพุทธศาสนา พระองค์ที่เป็นทั้งผู้ปกป้องชาติและพุทธศาสนา วลีนี้ยังมีความเป็นอนุรักษ์นิยม ถือว่าพระราชอำนาจกษัตริย์ อยู่ในรูปของภาษาสมัยใหม่ที่เรียกว่า “ชาติ” (“ชาติ” ในทศวรรษ 2430-2450 เป็นต้นมามีความหมายใหม่ ที่หมายถึงดินแดนภายใต้พระราชอำนาจ ซึ่งมีเขตแดนกำหนดแน่นอนชัดเจน มีประชากรที่สื่อสารภาษาเดียวกัน เป็นต้น) ในปี พ.ศ. 2460 รัชกาลที่ 6 โปรดให้ใช้ธงประจำชาติที่เรียกว่า ธงไตรรงค์มีสามสี ออกแบบให้กองทัพไทยที่อยู่ในรูปทหารอาสาออกไปร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามฝ่ายสัมพันธมิตร ณ ทวีปยุโรป สำหรับรัชกาลที่ 6 แล้วสี “ธงไตรรงค์” น้ำเงิน ขาว และแดงไม่ได้เป็นเพียงสีที่ไปด้วยกันได้กับสีธงฝ่ายสัมพันธมิตร หากทั้งสามสียังเป็นตัวแทนองค์ประกอบของ “ชาติ” ด้วย สีขาวหมายถึงพุทธศาสนา สีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์ และสีแดงคือ เลือดของชาวไทยที่เตรียมพร้อมสำหรับการสละชีวิตเพื่อชาติ นอกเหนือจากคำอธิบายเรื่องชาติและกษัตริย์แล้ว รัชกาลที่ 6 ยัง นิพนธ์ความเห็นต่อสตรี ซึ่งพบเพียงเรื่องเดียวในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เครื่องหมายแห่งความรุ่งเรืองต่อสภาพแห่งสตรี” จากหนังสือพิมพ์ไทยวันพุทธ 22 พฤษภาคม 2461 บทความนี้สะท้อนให้เห็นว่าทรงตระหนักถึงสถานะสตรี เวลานั้นว่ายังเสียเปรียบผู้ชายทั้งทางกฎหมายและขนบธรรมเนียมปฏิบัติ โดยเฉพาะทรงเข้าใจดีว่า มาจากสังคมไทยยอมให้ชายมีภรรยาได้หลายคน (หรือ Polygamy) ทรงเห็นใจสตรีที่ต้องอยู่ในฐานะอดทน อดกลั้น ก็ด้วยความรักที่ผู้หญิงมีต่อพ่อแม่ พี่น้อง สามี บุตร และลูกหลานในขณะที่ชายถือว่า “เป็นบรรณาการที่ตนควรได้รับเป็นธรรมดาเท่านั้น” ที่สำคัญทรงตำหนิสามีเมื่อเบื่อหน่ายภริยาก็ไล่หรือทอดทิ้ง โดยที่สังคมก็ยอมรับสภาพให้เดขึ้นโดยไม่มีการลงโทษ บทความนี้แม้ทรงไม่เห็นด้วยกับภาวะชายมีภริยาได้หลายคน (Polygamy) แต่ภรรยาเองนี้ก็ไม่ได้รณรงค์ให้มีการใช้ข้อกฎหมาย เพื่อการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้นำพิจารณา เจตนารมณ์ของบทความนี้ว่า ทรงกำลังปฏิเสธธรรมเนียมปฏิบัติให้เป็นการส่วนพระองค์ด้วยการทำให้รัชสมัยพระองค์ มีแบบแผนประเพณีฝ่ายในซึ่งมีพระมเหสีพระองค์เดียวหรือแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” คำอธิบายเรื่อง “ชาติ”ที่นำไปสู่ความรักชาติในความหมายเดียวกับความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ได้ถ่ายทอดผ่านการศึกษาในโรงเรียนและโรงเรียนสตรี รวมถึงพระราชนิพนธ์เรื่องสตรีแม้ปรากฏเพียงเรื่องเดียว แต่ก็ถือเป็นความเห็นสำคัญที่ทรงมีต่อเรื่อง “ผัวเดียวหลายเมีย” เป็นลักษณะครอบครัวชนชั้นสูงและขุนนางทั่วไป น่าจะมีผลต่อความสำนึกสตรีจากครอบครัวเหล่านี้ที่ได้รับการศึกษาดี เริ่มตั้งคำถามนี้ ดั่งเห็นได้จาก นิยตสารสตรีหลายฉบับอย่างสตรีไทยสยามยุพดี เชื่อได้ว่าประเด็นทั้งเรื่องชาติ ชาตินิยมและปัญหาครอบครัวไทยใต้คำอธิบายของรัชกาลที่ 6 น่าจะมีอิทธิพลต่องานประพันธ์นักเรียนกลุ่มจารีตนิยม 2. กลุ่มหัวก้าวหน้าจากคณะก่อการ ร.ศ. 130 กลุ่มก้าวหน้า ในที่นี้หมายถึงนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ผู้สนใจและเผยแพร่ความคิดทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ประเทศยังปกครองภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พวกเขาส่วนใหญ่มองเห็นข้อบกพร่องของระบบราชการและกลไกระบอบนี้พวกเขาส่วนหนึ่งเติบโตพร้อมกับการขยายตัวของสื่อสิงพิมพ์ ระบบการศึกษาสมัยใหม่ เศรษฐกิจทุนนิยมและชนชั้นกลาง ในที่นี้จำกัดเฉพาะกลุ่มนักเขียนจากกรณี ร.ศ. 130 ที่มีบทบาทอาชีพสื่อปลายทศวรรษ 2460 ส่วนกุหลาบ สายประดิษฐ์มีบทบาทในฐานะนักเขียนที่มีชื่อเสียงช่วงทศวรรษ 2470 นักเขียนจากกลุ่มก่อการ ร.ศ. 130 พวกเขาเป็นนายร้อยหนุ่มจากกองทัพบก ถูกจับกุมข้อหาคิดก่อการกบฏต่อแผ่นดินใน พ.ศ. 2454 มีคำพิพากษาให้ทั้งหมดรับโทษทันทีหนักเบา ยกเว้นนายทหาร 22 คนนั้น 3 คน ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตและอีก 19 คน ต้องโทษจำคุก 20 ปี ระหว่างต้องโทษพวกเขาพยายามศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยการสะสมหนังสือพิมพ์จากภายนอกหลายประเภทรวมถึงติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหววงการหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะบทความโต้ตอบระหว่างรัชกาลที่ 6 “อัศวพาษ” ในพิมพ์ไทยกับ “นาคราช” ในเดลิเมล์และความเห็นอย่างเสรีผ่านหนังสือพิมพ์ทำให้นักโทษการเมือง ร.ศ. 130 กลุ่มนี้หันมาเขียนบทความส่งผ่านผู้คุมและญาติมิตรนอกเรือนจำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ด้วยการปกปิดตัวตนใช้นามปากกา หนังสือพิมพ์ที่ส่งพิมพ์ข้อเขียนให้อย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งจัดสรรค่าตอบแทนรายเดือนให้กับคณะ คือ “จีนในสยามวารศัพท์ พิมพ์ไทยสยามราษฎร์ ยามาโต วายาโม ตู้ทองและนักเรียน” ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ เล่าถึงกลุ่มนักเขียนนักโทษการเมือง ร.ศ. 130 ที่สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่นิยมตั้งแต่ขณะต้องโทษว่า “พวกที่ขึ้นชื่อว่า เป็นนักเลงตีทีเดียว ก็มีอยู่หลายคน เช่น “ไทยใต้” เจ้าของเรื่อง “เด็กกำพร้า” คือทัต รัตนพันธุ์ “ณรัยาตรา” เจ้าของเรื่อง “มารินี”, “คุณสมบัติสตรี” และ “พระนางโยเซฟิน” (เรื่องนี้รัชกาลที่ 6 ทรงถึงกับถามหาตัวผู้แต่ง) คือ โกย วรรณกูล “บ.กากบาท” นามปากกาของบ๋วย บูณยรัตนพันธ์ เขาผู้นี้เมื่ออยู่ในคุกก็ประพันธ์เรื่องสั้นๆลงในหนังสือพิมพ์รายคาบ นายเทพ (อุทัย เทพหัสดิน) ชอบเขียนงานวิชาการเรื่อง “ตำราลับสมอง” แถมสุข นุ่มนนท์ ยังเล่าถึงงานเขียนเรื่อง “เด็กกำพร้า” นามปากกา “ไทยใต้” ของ ร.ต ถัต รัตนพันธุ์ ผู้เป็นบิดาและหนึ่งในนักโทษการเมือง ร.ศ. 130 หนึ่งในจำนวน 22 คน ร.ต.ถัต แต่งนิยายเรื่องนี้จากเค้าโครงเรื่องของชาเลส ดิ้กเกน (Charles Dickend) เรื่อง “Oliven Twist” ปฏิกิริยาจากผู้อ่านในเวลานั้น คือ “ทำให้ผู้อ่านต้องร้องไห้” ศาสตราจารย์สถิต นิมมานญามินท์ เคยรื้อฟื้นความหลัง ครั้งอ่านเรื่องเด็กกำพร้าให้ดิฉัน (แถมสุข) ฟังว่า “ผู้คนติดตามอ่านเรื่อง อ่านแล้วร้องไห้ไปตามๆกัน” ดังนั้นงานเขียนส่วนใหญ่ขณะต้องโทษจึงเป็นเรื่องแต่งประเภทนิยายตะวันตก ยกเว้นงาน ของ นายบ๋วย บูณยรัตนพันธ์ เขียนเรื่องสั้น ทำให้เมื่อทุกคนพ้นโทษในปี พ.ศ. 2467 ส่วนใหญ่เข้าทำงานเป็นนักเขียนประจำที่หนังสือพิมพ์ศรีกรุง ที่นี่ นาย บ๋วย เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงในการเขียนเรื่องยาว เช่น “เถรทอง” ซึ่งมีชื่อเสียงไม่แพ้ “พระนางโยเซฟิน ซึ่งรัชกาลที่ 6 ยังสนพระทัยติดตามมหาผู้เขียนตัวจริง อย่างไรก็ตาม หลังพ้นโทษนอกจากบางคนประกอบอาชีพอื่นตามถนัด ส่วนหนึ่งเป็นนักประพันธ์ที่เหลือทำอาชีพนักหนังสือพิมพ์ สำหรับ ร.ต ถัต รัตนพันธ์ นั้น แถมสุข เขียนถึงบิดาว่า “คุณพ่อพ้นโทษแล้ว ต้องปกปิดตัวเองเขียนหนังสือ และทำงานให้กับหนังสือพิมพ์บางกอกการเมือง และแต่งงานกับคุณแม่” (แส ณ พัทลุง) ที่จังหวัดพัทลุงในปี พ.ศ. 2470 ก่อนย้ายมาทำงานหนังสือพิมพ์ศรีกรุง และหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ตามลำดับ นอกเหนือจาก ร.ต ถัด รัตนพันธุ์ แล้วยังมีสมาชิก ร.ศ. 130 อีกหลายคนที่ทำงานกับหนังสือพิมพ์ แสดงบทบาทสำคัญในการปูพื้นฐานความคิดระบอบการปกครองประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2467 เป็นต้นมา ดังข้อสรุปจากนักหนังสือพิมพ์อาวิใสจากศรีกรุงว่า “...แรงกระตุ้นและปลุกปั่นที่สำคัญ เห็นจะเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ตั้งแต่เริ่มรัชกาลที่ 7 ดูเหมือนจะมีบทบาทรุนแรงมากยิ่งขึ้นเพราะในตอนนั้นพวกก่อการกบฎ ร.ศ. 130 ได้เข้ามามีบทบาทในหนังสือพิมพ์หลายคน เช่น ร.ต เนตร พูนวิวัฒน์ ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง ร.ต บ๋วย บุญยรัตน์พันธ์ ร.ต ถัด รัตนพันธุ์... 3. กลุ่มเครือข่ายคณะหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ กุหลาบสายประดิษฐ์ เขาเป็นหนึ่งในแกนนำของสมาชิก คณะสุภาพบุรุษก่อตั้งปีพ.ศ. 2472 ประวัติของกุหลาบเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เคยเป็นผู้ช่วยล่ามประจำกรมแผนที่มาก่อน แต่เลือกประกอบอาชีพอิสระด้วยการเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ การตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อยกสถานะวิชาชีพนี้ให้สูงขึ้น คณะสุภาพบุรุษ ออกนิตยสารรายปักษ์ ชื่อ “สุภาพบุรุษ” ในปี 2472 ขณะเดียวกันเข้าทำงานเขียนหนังสือและบทความให้กับหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น บางกอกการเมือง ไทยใหม่และศรีกรุง กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนนิยายเรื่องแรก พ.ศ. 2470 เรื่อง “ลูกผู้ชาย” เล่าชีวิตลูกชายช่างไม้คนหนึ่ง สร้างตัวเองด้วยทักษะ ความสามารถของตัวเอง จนได้เป็นผู้พิพากษาชั้นนำ นิยายต่อมาคือ “ สงครามชีวิต” แต่ง พ.ศ. 2475 เนื้อหาเป็นเรื่องประณามและต่อต้านฐานะความร่ำรวยที่ไม่เสมอภาคกันในสังคมและปัญหาการมีอภิสิทธิในสังคม เขาตำหนิว่ารัฐบาลไม่ได้กระตุ้นหรือเร่งเร้าให้ราษฎรมีศรัทธาต่อการให้โอกาส และเอาแต่ลงโทษผู้กระทำผิด กุหลาบสายประดิษฐ์ ยังเป็นคนแรกที่บัญญัติศัพท์เรียกคุณลักษณะที่ผู้เขียนและผู้อ่านรุ่นใหม่ แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นว่า มี “มนุษยธรรม” ที่จริงแล้วกุหลาบลายประดิษฐ์ก็เช่นเดียวกับนักเขียน ในคณะสุภาพบุรุษที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่ชนชั้นกลางในอาชีพนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ทศวรรษ 2470 อย่างหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ และหม่อมหลวงบุปผา (กุญชร) นิมมานเหมินทร์ ในนิยายเรื่อง “ลูกผู้ชาย” นั้น เป็นการบอกว่าผู้ที่มีความเป็นลูกผู้ชายหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตระกูลหรือยศศักดิ แต่อยู่ที่ความมานะบากบั่น เพียรพยายามสร้างตนเอง ผู้มีคุณธรรม รู้จักเสียสละและมีความยุติธรรม นักเขียนกลุ่มนี้สะท้อนปัญหาวิถีปฏิบัติแบบหลายเมีย ผ่านนิยายหลายเรื่อง ชี้ว่าไม่ยุติธรรมต่อสตรีทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความล้าหลังของประเทศ พวกเขายังสะท้อนปัญหาวัฒนธรรมเรื่องโสเภณี นิยายหลายเรื่องได้วาดภาพสื่อตามอุดมคติที่บุคคลซึ่งมีความสามารถควรได้รับการตอบแทน ความสัมพันธ์ทางเพศฝ่ายหญิงต้องได้รับความเสมอภาคกว่าที่เป็นอยู่ ได้รับโอกาสทางการศึกษาและสังคมควรเป็นระบบผัวเดียวเมียเดียว ที่การแต่งงานต้องเกิดจากความรักและสามารถแต่งงานข้ามชนชั้นใด้ . นิยายของชนชั้นกลางคณะสุภาพบุรุษ ต่อต้านจารีตประเพณีชนชั้นสูงตั้งในเรื่องภรรยาหลายคน ประเพณีการแต่งงานแบบคลุมถุงชน ในการมีสถานะเจ้านายแต่ไม่มีทรัพย์ ขณะเดียวกันที่ให้ภาพชนชั้นกลาง ในฐานะคนในสังคมกลุ่มใหญ่ ที่ที่มีฐานะทางการเงินดี ด้วยการเป็นพ่อค้า นักธุรกิจและไม่ได้มีชาติกำเนิดเป็นเจ้านายหรือขุนนาง แต่ก็มีกริยามารยาท ซาดีมีคุณธรรม จิตใจเสียสละ ต้องการเสรีภาพในการตัดสินใจชีวิตและอนาคตตนเอง เช่นเดียวกับการสะท้อนภาพ “สตรีชนชั้นกลาง” ในยุคสมัยใหม่ เป็นคนมีการศึกษา มีความคิด และมีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง จากหลายสถานะทั้งขุนนาง ข้าราชการ ผู้บริหารบริษัท เรียนนอก ลูกเศรษฐี คอมปราใดร์ห้างฝรั่ง บทความชิ้นสำคัญของ กุหลาบลายประดิษฐ์ พิมพ์ปลายปี 2474 ในไทยใหม่และศรีกรุง ชื่อ “มนุษยภาพ” เป็นบทความการเมืองที่ยืนยันความชอบธรรมมนุษย์ “สิทธิ” ที่มนุษย์ดำรงอยู่อย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย เขาโจมตีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างรุนแรง ชี้ว่าระบอบนี้กำลังหมดความชอบธรรม ในขณะที่ชนชั้นนำยังไม่ตระหนัก ยังยึดในอำนาจและไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ซึ่งเขามองว่าสังคมไทยอาจเข้าสู่ภาวะเดียวกับต่างประเทศ ที่ มีการรวมกลุ่มและใช้กำลังบังคับรัฐบาล บทความนี้จึงเป็นคำประกาศของคนชั้นกลางเชื่องการเปลี่ยนการปกครองก่อนการปฏิบัติของคณะราษฎรอีก 6 เดือนถัดมา บทบาทการเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ของคณะก่อการ ร.ศ 130 และกุหลาบลายประดิษฐ์ในฐานะตัวแทนคณะสุภาพบุรุษ สร้างสรรค์ผลงานเชียรทั้งนิยาย บทความและความเห็นวิพากย์วิจารณ์ทางการเมืองที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้อ่าน จึงน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับชนชั้นกลางอื่น ๆ ที่มีทักษะความสามารถด้านการเขียนก้าวเข้าสู่อาชีพนี้ การขยายตัวของประชากรอ่าน-เขียนได้ แม้รัฐบาลในทศวรรษ 2545 - 2460 มีนโยบายจัดการศึกษาอย่างจำกัดเฉพาะชนชั้นนำ และจัดสรรงบประมาณเฉพาะการมัธยม-อุดมศึกษาไม่กี่แห่ง การประเทศใช่พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2464 สำหรับการศึกษาของราษฎรถูกต้องอาศัยเงินศึกษาพลี หรือภาษีการศึกษา ซึ่งจัดเก็บได้ไม่เต็มที่การขยายตัวการศึกษาเป็นไปอย่างช้า ๆ   :

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั