ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระราชดำริทางเศรษฐกิจและการเมืองในรัชกาลที่ ๗

พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



พระราชดำรัสทางเศรษฐกิจและการเมือง
ในรัชกาลที่ ๗
เรียบเรียงโดย ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร
“…ประโยชน์ของประเทศชาติย่อมสำคัญกว่าประโยชน์ของส่วนตัวบุคคล และในเวลาที่บ้านเมืองเข้าสู่ที่คับขันเช่นนี้เป็นหน้าที่ของข้าราชการและพลเมืองทุกคนที่จะต้องยอมเสียสละประโยชน์ของตนให้แก่ประเทศสยาม ...”


(ข้อความบางส่วนใน พระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้า ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๒๕กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๔)
 
ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของสยามและการแก้ไขในสมัยรัชกาลที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาแรก  ทรงตัดทอนรายจ่ายต่าง ๆ ในราชสำนัก ลดจำนวนข้าราชบริพารในกระทรวงวัง ยุบหรือรวมหน่วยงานทุกระดับ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดเล็กและผู้บัญชาการกรมมหรสพ
ทรงลดจำนวนเงินที่ถวายพระองค์ จากปีละ ๙ ล้าน เหลือ ๖ ล้านบาท
ในปี ๒๔๖๙ ทรงดุลยภาพข้าราชการออกก่อนกำหนด ให้รับเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแทน
“Problems of Siam”

พระราชปุจฉา (คำถาม)    ข้อ
ข้อ ๑-๒ เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการสืบราชสมบัติ
ข้อ ๓-๔ เป็นข้อปรึกษาเกี่ยวกับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบรัฐสภา
ข้อ๕ เป็นข้อปรึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา
ข้อ๖-๗ เป็นข้อปรึกษาความเหมาะสมของการมีอัครมหาเสนาบดีและสภานิติบัญญัติ
ข้อ๘ เรื่องนโยบายเศรษฐกิจของสยาม
ข้อ๙ เรื่องการจัดตั้งสภาเทศบาลและปัญหาชาวจีนในสยาม

“ … ข้าพเจ้าเองรู้สึกเหมือนว่าเกิดมาสำหรับตัดรอน ตั้งแต่ต้นก็ตัดมาแล้ว คราวนี้ก็ต้องตัดอีก … รู้สึกว่าเป็นเคราะห์กรรมของตัวที่ต้องทำเช่นนั้นเสมอ … ที่จริงการที่จะปลด จะตัดคราวนี้ รู้สึกหนักใจกว่าคราวก่อนมาก ไม่อยากจะทำเลย … และรู้สึกสงสารที่สุดสำหรับผู้ที่จะต้องออกไป… “
(พระราชดำรัสในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช  ๒๔๗๕)

-ทรงเป็นแบบอย่างของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
-ทรงเป็นผู้นำในการเสียสละ
-ทรงเห็นใจผู้เดือดร้อน
-ทรงขอร้องให้ทุกคนเสียสละเพื่อส่วนรวม
-ทำให้การจัดงบประมาณเข้าสู่ดุลยภาพ

ข้าพเจ้าเห็นว่าสิทธิเลือกตั้งของประชาชนควรจะเริ่มต้นที่การปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนควรมีสิทธิมี
เสียงในกิจการท้องถิ่นก่อน เราพยายามให้การศึกษาเรื่องนี้แก่เขา ข้าพเจ้าเห็นว่าจะเป็นการผิดพลาด ถ้าเราจะมีการปกครองระบอบรัฐสภาก่อน ก่อนที่ประชาชนจะมีโอกาสเรียนรู้ และมีประสบการณ์อย่างดีเกี่ยวกับสิทธิเลือกตั้งในกิจการ    ปกครองท้องถิ่น
…”

(พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ นิวยอร์ก ไทม์ส, ๒๘ เม.ย. ๒๔๗๔)

ร่างรัฐธรรมนูญในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก เป็นร่างของพระกัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) ร่างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๖๙  ชื่อว่า “Outline of preliminary Draft”
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ ร่างโดย นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ร่างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๗๔
ชื่อว่า “An Outline of Changes in The Form of Government”


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ณ บ้านโนล ประเทศอังกฤษ  และประทับในประเทศอังกฤษจนสวรรคตเมื่อ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔
สิริพระชนม์ได้  ๔๘ พรรษา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...