ขอบคุณบทความจาก ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล
ครั้นเก็บมาคิดต่อ จึงนึกขึ้นได้ว่า อันที่จริงในพระราชประวัติขององค์ประชาธิปกและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 นั้นมีที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังดุสิตอยู่ไม่น้อย ทั้งบางอย่างยังเนื่องด้วยเหตุการณ์สำคัญๆของบ้านเมือง จึงน่าจะได้ทบทวนและเรียบเรียงเป็นเค้าโครงให้พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พิจารณานำไปสานต่อเป็นกิจกรรมทัศนศึกษา ไม่เพียงเพราะเป็น "พระปกเกล้าศึกษา" หากแต่จะเป็นการอำนวยให้ผู้สนใจได้สัมผัสกับบรรยากาศอันร่มรื่นด้วยแมกไม้และคูคลอง อันเป็นลักษณะของกรุงเทพฯ สมัยที่ยังเป็น "เวนิสแห่งตะวันออก" อีกทั้งกับสถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุ ทั้งบนพระที่นั่งและที่อาคารตำหนักรายรอบ ส่งผลรวมเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแปรเปลี่ยนของวิถีชีวิตในสังคมไทยในรอบร้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระที่วันพระบรมราชสมภพจะเวียนมาบรรจบครบ 120 ปี ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
อุทยานสถาน"สวนดุสิต"
เมื่อ พ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงใช้เงินพระคลังข้างที่ ซึ่งถือว่าเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินอันเป็นสวนและท้องนาที่ทุ่งซางอี้ เพื่อสร้างที่ประทับซึ่งเหมาะแก่พระพลานามัยมากกว่าในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งแออัด อากาศไม่ถ่ายเท ให้มีลักษณะคล้ายวัง"ฤดูร้อน" ของพระเจ้าแผ่นดินในยุโรปและเพื่อกรุยทางให้เขตเมืองได้ขยายออกไป พระราชทานนามอุทยานสถานแห่งนี้ว่า "สวนดุสิต" โปรดเกล้าฯให้สร้างพลับพลาใหญ่หลังหนึ่งขึ้นเป็นที่ประทับแรมรวมกันของทั้งพระองค์เอง พระมเหสีเทวี พระราชโอรสธิดาและข้าราชบริพารฝ่ายใน เสด็จประพาสอยู่เนืองๆตามพระราชอัธยาศัย
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์(พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระชันษา 6-7 ปีในขณะนั้น คงจะได้ทรงพระสำราญในการทรงเล่นมุดเข้ามุดออกในกองฟางกองใหญ่ พร้อมทั้งทรงท่องหนังสือดังๆไปพลาง เฉกเช่นเจ้าพี่ เจ้าน้อง (1) และอาจได้ทรงหัดทรงจักรยานในยุคแรกเริ่มเป็นที่นิยมกันด้วย (2 )
พระที่นั่งวิมานเมฆไม้สักทอง
โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองตัดถนนทำสะพาน ปลูกต้นไม้ต่างๆและสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆไม้สักทอง โปร่งสบาย (3 ) ชั้นยกเว้นส่วน "แปดเหลี่ยม"ซึ่งมีชุดห้องพระบรรทมอยู่ที่ชั้น 4 ด้วยต้องพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร"เห็นวิวได้ไกลๆ"3 องค์พระที่นั่งซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการออกแบบเป็นรูปตัวเอ็ล (L) มีอัฒจันทร์อยู่ 2 แห่งคือด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้เป็นท่าน้ำใหญ่ริม"อ่างหยก" เท่ากับว่าล้อมรอบด้วยคูคลองซึ่งใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาและเป็นเครื่องแบ่งเขตพระราชฐานชั้นในกับชั้นกลางแทนที่กำแพง ส่วน"อ่างหยก"นั้นเป็นอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในยุคที่ยังไม่มีน้ำประปา และทำหน้าที่เป็นสิ่งที่ปัจจุบัน เรียกว่า "แก้มลิง"ไปด้วยในตัว โดยนามนั้นพระราชทานเพราะน้ำในนั้นและในคลองโดยรอบแลดูเป็นสีเขียว เนื่องจากอยู่ในหมู่แมกไม้นานาพรรณ ซึ่งทรงเลือกเป็นพิเศษเพื่อให้ปลูกเป็นร่มเงา ให้สีสันส่งกลิ่นหอมและให้ผลเป็นอาหาร แต่เดิมที่ปลายทางทิศตะวันตกเคยมีโรงเฟิร์น (fern)ขนาดใหญ่พร้อมน้ำพุเป็นเรือนต้นไม้ตามพระราชประสงค์ (แต่น่าเสียดายทีปัจจุบันได้ผุพังลงแล้ว) องค์พระที่นั่งแบ่งเป็น"ห้องชุด" 3 ชั้น ทาสีภายในต่างกันเพื่อแสดงว่าเป็นที่ประทับของพระองค์หรือของพระมเหสีเทวีพระองค์ใด แต่มีระเบียงทางเดินประตูเปิดถึงกันได้ นับว่าเป็นการรักษาธรรมเนียมของการแยกฝ่ายหน้ากับฝ่ายในออกจากกัน แต่ไม่สู้เคร่งครัดเหมือนเดิม พระที่นั่งขนาด 31 ห้ององค์นี้สร้างเสร็จในเวลา 19 เดือน (4) และได้ตั้งการพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่ง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2445
อาคารประกอบพระราชฐาน
ในช่วงเวลาเดียวกันกับการก่อสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆได้โปรดเกล้าฯให้สร้างท้องพระโรงขึ้น เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังยาว ตกแต่งด้วยเชิงชายฉลุลายแบบที่เรียกว่า"ขนมปังขิง" อ่อนโยนงดงาม ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งวิมานเมฆ คืออยู่ ณ เส้นแบ่งเขตพระราชฐานชั้นในกับชั้นนอก พระราชทานชื่อว่า พระที่นั่งอภิเษกดุสิต สร้างเสร็จในปลาย พ.ศ. 2446 (6 ) พระที่นั่งหลังนี้ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7 เมื่อพ.ศ. 2475 ได้ใช้เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปหัตถกรรมของมูลนิธิศิลปาชีพฯ และถัดไปมีเรือนเล็กๆ ซึ่งจัดเป็นร้านอาหารไทยไว้บริการแก่ผู้เยี่ยมชม
ที่ริมอ่างหยกฝั่งตรงข้ามกับอัฒจันทร์ท่าน้ำพระที่นั่งวิมานเมฆมีประจักษ์พยานของความเอาพระราชหฤทัยใส่ของสมเด็จพระปิยมหาราชต่อราษฎรคือ เรือนต้น หมู่เรือนไทยฝากระดานที่โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2447 เพื่อเป็นที่สำราญพระอิริยาบถอย่างง่าย และเป็นที่ซึ่ง "เพื่อนต้น" คือชาวบ้านที่ได้ทรงรู้จัก แต่ครั้งที่เสด็จ "ประพาสต้น" อย่างไม่แสดงพระองค์ในชนบท ได้เข้ามาเฝ้าในบรรยากาศที่เขาพอจะคุ้นเคย (7)
พร้อมๆกันไปกับการสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆ ได้โปรดเกล้าฯให้จัดสรรพื้นที่สวนดุสิตสร้างสิ่งที่ทรงเรียกว่า "เรือนหมู่" ขึ้นหลายหมู่ เพื่อเป็นที่ประทับและที่พำนักของพระมเหสีเทวี เจ้านายฝ่ายใน เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชโอรสซึ่งยังทรงพระเยาว์ โดยโปรดเกล้าฯให้เรียกแปลงที่ตั้งของแต่ละเรือนหมู่ว่า "สวน" และพระราชทานชื่อ ตามชื่อเครื่องกระเบื้องลายครามที่นิยมสะสมกันในสมัยนั้น เช่นเดียวกับชื่อคลอง ประตูและถนน (ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อประตูให้เป็นภาษาไทยอย่างวิจิตรคล้องจองกัน เฉกเช่นชื่อประตูที่พระบรมหาราชวัง)
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ ประทับที่ตำหนักเล่งหนึงร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก(กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัยในเวลาต่อมา) พระเชษฐาผู้ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และที่ 7) เช่นเดียวกัน (8)
อย่างหนึ่งซึ่งปรากฏหลักฐานว่า สมเด็จฯเจ้าฟ้าประชาธิปกทรงเริ่มเรียนรู้ในช่วงนี้คือ การถ่ายภาพ และเมื่อพระชันษา 12 ปีได้ทรงส่งภาพฝีพระหัตถ์ ชื่อว่า "ตื่น" เข้าประกวดในงานออกร้าน วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนารามฯ (9 ) วัดที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 และประจำสวนดุสิต แทนที่วัดเก่า 2 วัดที่ได้ทรงทำ
ผาติกรรม
พระปกเกศรำไพพรรณ
พระที่นั่งวิมานเมฆ ในบริเวณพระราชวังสวนดุสิต |
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ไปเยี่ยมชมพระที่นั่งวิมานเมฆและพระที่นั่งอนันตสมาคม ในบริเวณพระราชวังดุสิต อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ไม่ได้ไปมานานแล้ว เมื่อเข้าไปในห้องแรกของเส้นทางนำชมพระที่นั่งวิมานเมฆ พระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระอิริยาบถทรงยืนก็ปรากฏเป็นสง่าอยู่เบื้องหน้า นึกแปลกใจว่าไม่ได้เป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งนั้นขึ้น สอบถามเจ้าหน้าที่ผู้กรุณาพานำชมเป็นพิเศษ ได้ความว่าเป็นไปดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯตั้งแต่แรกบูรณะในพ.ศ. 2525 และเปิดพระที่นั่งให้สาธารณชนได้เข้าชมตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จิตรกรผู้วาดคือ พระสรลักษณ์ลิขิต (ยุ่น จันทรลักษณ์)
ผู้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานทุนให้ไปเรียนเขียนภาพเหมือนบุคคลที่ยุโรป*
พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระตำหนักสวนสี่ฤดู |
อุทยานสถาน"สวนดุสิต"
เมื่อ พ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงใช้เงินพระคลังข้างที่ ซึ่งถือว่าเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินอันเป็นสวนและท้องนาที่ทุ่งซางอี้ เพื่อสร้างที่ประทับซึ่งเหมาะแก่พระพลานามัยมากกว่าในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งแออัด อากาศไม่ถ่ายเท ให้มีลักษณะคล้ายวัง"ฤดูร้อน" ของพระเจ้าแผ่นดินในยุโรปและเพื่อกรุยทางให้เขตเมืองได้ขยายออกไป พระราชทานนามอุทยานสถานแห่งนี้ว่า "สวนดุสิต" โปรดเกล้าฯให้สร้างพลับพลาใหญ่หลังหนึ่งขึ้นเป็นที่ประทับแรมรวมกันของทั้งพระองค์เอง พระมเหสีเทวี พระราชโอรสธิดาและข้าราชบริพารฝ่ายใน เสด็จประพาสอยู่เนืองๆตามพระราชอัธยาศัย
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์(พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระชันษา 6-7 ปีในขณะนั้น คงจะได้ทรงพระสำราญในการทรงเล่นมุดเข้ามุดออกในกองฟางกองใหญ่ พร้อมทั้งทรงท่องหนังสือดังๆไปพลาง เฉกเช่นเจ้าพี่ เจ้าน้อง (1) และอาจได้ทรงหัดทรงจักรยานในยุคแรกเริ่มเป็นที่นิยมกันด้วย (2 )
พระที่นั่งวิมานเมฆไม้สักทอง
โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองตัดถนนทำสะพาน ปลูกต้นไม้ต่างๆและสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆไม้สักทอง โปร่งสบาย (3 ) ชั้นยกเว้นส่วน "แปดเหลี่ยม"ซึ่งมีชุดห้องพระบรรทมอยู่ที่ชั้น 4 ด้วยต้องพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร"เห็นวิวได้ไกลๆ"3 องค์พระที่นั่งซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการออกแบบเป็นรูปตัวเอ็ล (L) มีอัฒจันทร์อยู่ 2 แห่งคือด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้เป็นท่าน้ำใหญ่ริม"อ่างหยก" เท่ากับว่าล้อมรอบด้วยคูคลองซึ่งใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาและเป็นเครื่องแบ่งเขตพระราชฐานชั้นในกับชั้นกลางแทนที่กำแพง ส่วน"อ่างหยก"นั้นเป็นอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในยุคที่ยังไม่มีน้ำประปา และทำหน้าที่เป็นสิ่งที่ปัจจุบัน เรียกว่า "แก้มลิง"ไปด้วยในตัว โดยนามนั้นพระราชทานเพราะน้ำในนั้นและในคลองโดยรอบแลดูเป็นสีเขียว เนื่องจากอยู่ในหมู่แมกไม้นานาพรรณ ซึ่งทรงเลือกเป็นพิเศษเพื่อให้ปลูกเป็นร่มเงา ให้สีสันส่งกลิ่นหอมและให้ผลเป็นอาหาร แต่เดิมที่ปลายทางทิศตะวันตกเคยมีโรงเฟิร์น (fern)ขนาดใหญ่พร้อมน้ำพุเป็นเรือนต้นไม้ตามพระราชประสงค์ (แต่น่าเสียดายทีปัจจุบันได้ผุพังลงแล้ว) องค์พระที่นั่งแบ่งเป็น"ห้องชุด" 3 ชั้น ทาสีภายในต่างกันเพื่อแสดงว่าเป็นที่ประทับของพระองค์หรือของพระมเหสีเทวีพระองค์ใด แต่มีระเบียงทางเดินประตูเปิดถึงกันได้ นับว่าเป็นการรักษาธรรมเนียมของการแยกฝ่ายหน้ากับฝ่ายในออกจากกัน แต่ไม่สู้เคร่งครัดเหมือนเดิม พระที่นั่งขนาด 31 ห้ององค์นี้สร้างเสร็จในเวลา 19 เดือน (4) และได้ตั้งการพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่ง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2445
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แปรพระราชฐานมาประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆบ่อยครั้ง ทรงพระสำราญที่นี่มาก ดังความในพระราชหัตถเลขาว่า "ถ้าอยู่ในวังเห็นจะเต็มทน ทีจะต้องไปเที่ยวอีก ร้อนเหลือกำลัง" และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ก็ได้ทรงไว้ว่า "ตั้งแต่เสด็จฯมาอยู่ที่นี่สัก 2 เดือนได้แล้ว ยังรู้สึกสบายมาก ไม่อยากกลับเข้าวังเลย" โดย "วัง"ในที่นี้หมายถึงพระบรมมหาราชวัง (5) จึงต้องพระราชประสงค์จะประทับเป็นการถาวร
อาคารประกอบพระราชฐาน
ในช่วงเวลาเดียวกันกับการก่อสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆได้โปรดเกล้าฯให้สร้างท้องพระโรงขึ้น เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังยาว ตกแต่งด้วยเชิงชายฉลุลายแบบที่เรียกว่า"ขนมปังขิง" อ่อนโยนงดงาม ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งวิมานเมฆ คืออยู่ ณ เส้นแบ่งเขตพระราชฐานชั้นในกับชั้นนอก พระราชทานชื่อว่า พระที่นั่งอภิเษกดุสิต สร้างเสร็จในปลาย พ.ศ. 2446 (6 ) พระที่นั่งหลังนี้ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7 เมื่อพ.ศ. 2475 ได้ใช้เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานศิลปหัตถกรรมของมูลนิธิศิลปาชีพฯ และถัดไปมีเรือนเล็กๆ ซึ่งจัดเป็นร้านอาหารไทยไว้บริการแก่ผู้เยี่ยมชม
ที่ริมอ่างหยกฝั่งตรงข้ามกับอัฒจันทร์ท่าน้ำพระที่นั่งวิมานเมฆมีประจักษ์พยานของความเอาพระราชหฤทัยใส่ของสมเด็จพระปิยมหาราชต่อราษฎรคือ เรือนต้น หมู่เรือนไทยฝากระดานที่โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2447 เพื่อเป็นที่สำราญพระอิริยาบถอย่างง่าย และเป็นที่ซึ่ง "เพื่อนต้น" คือชาวบ้านที่ได้ทรงรู้จัก แต่ครั้งที่เสด็จ "ประพาสต้น" อย่างไม่แสดงพระองค์ในชนบท ได้เข้ามาเฝ้าในบรรยากาศที่เขาพอจะคุ้นเคย (7)
พร้อมๆกันไปกับการสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆ ได้โปรดเกล้าฯให้จัดสรรพื้นที่สวนดุสิตสร้างสิ่งที่ทรงเรียกว่า "เรือนหมู่" ขึ้นหลายหมู่ เพื่อเป็นที่ประทับและที่พำนักของพระมเหสีเทวี เจ้านายฝ่ายใน เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชโอรสซึ่งยังทรงพระเยาว์ โดยโปรดเกล้าฯให้เรียกแปลงที่ตั้งของแต่ละเรือนหมู่ว่า "สวน" และพระราชทานชื่อ ตามชื่อเครื่องกระเบื้องลายครามที่นิยมสะสมกันในสมัยนั้น เช่นเดียวกับชื่อคลอง ประตูและถนน (ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อประตูให้เป็นภาษาไทยอย่างวิจิตรคล้องจองกัน เฉกเช่นชื่อประตูที่พระบรมหาราชวัง)
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ ประทับที่ตำหนักเล่งหนึงร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก(กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัยในเวลาต่อมา) พระเชษฐาผู้ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และที่ 7) เช่นเดียวกัน (8)
อย่างหนึ่งซึ่งปรากฏหลักฐานว่า สมเด็จฯเจ้าฟ้าประชาธิปกทรงเริ่มเรียนรู้ในช่วงนี้คือ การถ่ายภาพ และเมื่อพระชันษา 12 ปีได้ทรงส่งภาพฝีพระหัตถ์ ชื่อว่า "ตื่น" เข้าประกวดในงานออกร้าน วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนารามฯ (9 ) วัดที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 และประจำสวนดุสิต แทนที่วัดเก่า 2 วัดที่ได้ทรงทำ
ผาติกรรม
ครั้นพ.ศ. 2450 เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ มีพระชนมพรรษาเจริญวัย 13 ปี ทรงโสกันต์และทรงกรมเป็นกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาแล้ว จึงสมควรที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อในทวีปยุโรป ในการนั้น ได้โปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีส่งเสด็จที่พระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อวันที่ 13-14 กรกฎาคม (10)
พระปกเกศรำไพพรรณ
ปัจจุบันในห้องชุดสีฟ้า สีวันศุกร์ วันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ มีห้องเล็กๆห้องหนึ่งที่ชั้นสาม ประดิษฐานพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ (11 ) สีเขียว สีวันพุธวันพระบรมราชสมภพ ประทับในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2469 เข้าใจว่าเป็นองค์ที่นายออสวอลด์ เบอร์ลี่(Oswald Birley) เป็นจิตรกรวาดที่กรุงเทพฯ เมื่อค.ศ.1929(พ.ศ.2472) และที่ผนังฝั่งตรงข้ามเป็นพระบรมสาทิศลักษณ์ คู่กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม อีกทั้งยังมีพระรูปหินอ่อนแกะสลัก สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ครึ่งพระองค์แบบเรียบง่ายแต่งดงาม ประดิษฐานอยู่ด้วย นับว่าเหมาะสมเมื่อคำนึงถึงว่า ทั้งองค์ราชันและองค์ราชินีทรงมีความสัมพันธ์ทั้งทางสายพระโลหิตและในพระราชประวัติกับสมเด็จฯองค์เจ้าของเดิมของห้องชุดนี้ ดังจะได้ขยายความต่อไปในตอนหน้าในกรณีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ
พระปิยมหาราชสถิต ณ อัมพร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ ประมาณ 5 ปี และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใหม่เป็นตึกสามชั้นแบบนีโอคลาสสิค (12 ) ลึกเข้าไปในสวนดุสิตจากถนนราชวิถี อีกฝั่งหนึ่งของอ่างหยก ประทับเป็นการถาวรที่นั่นจนกระทั่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ซึ่งบัดนี้เป็นเวลา 102 ปีมาแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น