ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระราชขันติธรรมในสุโขทัยธรรมราชา



                                                                                                 



พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานที่รัฐสภา







                                                                                                                                     ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร


      
  พุทธศาสนสุภาษิตหมวดขันติวรรค คือ หมวดอดทน กล่าวถึงข้อคิดที่สำคัญไว้ดังนี้
 “ ผู้มีขันติได้ชื่อว่า นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น  ผู้มีขันติธรรมอยู่ในใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทางสวรรค์และนิพพานโดยแท้ พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า "ยกเว้นปัญญาแล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า “ขันติเป็นเลิศ"เพราะฉะนั้น ขันติบารมีจึงเป็นบารมีที่เราจะต้องสั่งสมไว้ให้มาก ให้ติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น  ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันเป็นต้นได้
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ  มียศ  และมีสุขเสมอ  ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย [1]
ดังนั้น บารมีที่สำคัญที่นักสร้างบารมีทั้งหลายพึงต้องมีอยู่ในจิตใจ คือ
ขันติบารมี ขันติ หมายถึง  ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง ที่จะนำเราก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิต เพราะในขณะเดินทางไกลจะต้องเจอปัญหา และอุปสรรคนานัปการ ถ้าหากว่าเรามีความอดทนแล้ว แม้มรสุมร้ายจะถาโถมเข้ามากระทบนาวาชีวิต ระลอกแล้วระลอกเล่า เราก็ยังยืนหยัดสู้ต่อไปไม่ยอมให้นาวาชีวิตลำนี้ล่มเสียกลางทะเล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญขันติธรรมว่าเป็นเลิศ เป็นหลักเป็นประธานที่ทำให้เกิดคุณ คือ ศีล สมาธิ  กุศลธรรมทุกอย่างจะเจริญขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยขันติเป็นพื้นฐาน ดังข้อความต่อไปนี้
“กุลบุตรใดไม่มีความพยาบาท  ไม่เบียดเบียน มีความสงบวิเวกเป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะ กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ  พรหมฌานอันยอดเยี่ยมภายใน เกิดขึ้นในบุคคลเหล่าใด  บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมพ้นไปจากโลก โดยความแน่ใจว่ามีชัยชนะโดยแท้” [2]
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่ ๗ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทรา  บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖  ทรงได้รับพระราชทานพระนามในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา [3] ทรงครองราชย์สมบัติเมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน .พ.ศ.๒๔๖๘   และประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ (นับตามแบบโบราณ คือนับเดือนเมษายนเป็นปีใหม่) พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระราชขันติธรรมอย่างยอดเยี่ยม     ดังจะพิจารณาจากพระราชประวัติ พระราชกรณีกิจ  และพระราชจริยาวัตร  ๗ ประการ  ดังนี้   
ประการที่    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความพยายามใฝ่เรียนรู้  อย่างวิริยะอุตสาหะ ดังปรากฏในพระราชประวัติตั้งแต่ที่ทรงได้รับการศึกษาฝึกฝนอย่างมีระเบียบวินัยที่วิทยาลัยอีตัน (Eton)  และโรงเรียนนายร้อยวูลิส (Woolwich) ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษา  ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายร้อยตรีในกองทัพบกอังกฤษ พระราชประสงค์จะทรงศึกษาและดูงานทหารเพิ่มเติมที่ประเทศฝรั่งเศส  ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกฝรั่งเศส ชื่อ Ecole de Querre  ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง    ต่อมาเมื่อทรงผนวช พระองค์ทรงศึกษาหลักธรรมและพระราชนิพนธ์เรียงความแก้กระทู้ธรรมถึง ๖  เรื่อง  และทรงได้รับรางวัลใน   เรื่อง ได้แก่  “คนผู้ได้รับฝึกหัดแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์”   มีประเด็นสำคัญกล่าวถึงผู้ที่ต้องมีขันติหรือความอดทนจึงจะทำได้กล่าวคือ การได้รับฝึกหัดทางกาย ฝึกหัดทางวาจา และทางใจมาอย่างดีแล้วย่อมเป็นผู้ประเสริฐ  คือ ความสมถะในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย  จากพื้นฐานทางการศึกษาของพระองค์อาจกล่าวได้ว่า  มิได้ทรงเตรียมพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์  แต่ทรงได้รับการฝึกหัดมาให้เป็นทหาร    รวมทั้งเรื่อง “โลกอันเมตตาค้ำจุนไว้”   และ เรื่อง “ความรู้จักพอดียังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ”
ประการที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความพอดี  (ดุล)  คนเราจะเสาะหาความพอดีพบและดำเนินชีวิตด้วยความพอดีได้ จะต้องมีกุญแจดอกใหญ่สองดอก คือ ความอ่อนน้อมและสำรวม          ความอ่อนน้อมทำให้ไม่ลำพอง ไม่โอ้อวด ไม่ถือโทสะเพื่อเอาชนะคะคาน  การอวดเบ่ง หรืออวดเก่ง หรือจ้องแต่จะแข่งขันอย่างบ้าคลั่ง ส่วนความสำรวมจะทำให้มีสติ รู้ได้ว่าจะไม่ทำอะไรให้เป็นเหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเองหรือใคร
ประการที่๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  (Integrity) พระราชขันติธรรมข้อนี้      ดังเห็นได้จากการที่ทรงอธิบายความเชื่อเรื่องกรรมไว้ว่า
...ความเชื่อในกรรมนั้นมักจะมีผู้กล่าวอยู่บ้าง  ว่าเป็นความเชื่อที่ทำให้ผุ้เชื่อ            เช่นนั้น  รามือราเท้าไม่ทำอะไรเลย  มัวแต่หวังในบุญกรรมอย่างที่เรียกว่า    ปล่อยไปตามบุญตามกรรมผู้เชื่อในกรรมเช่นนี้ก็เห็นจะมีบ้างแต่เป็นทางเชื่อที่           ไม่ตรงกับพระบรมพุทโธวาทเลย       เป็นความเชื่ออย่างที่ฝรั่งเรียกว่า  Fatalistic “ ที่จริง กรรม นั้นแปลว่า ทำ   ผู้ที่เชื่อในกรรมจริงๆ ต้อง      พยายามทำความดีให้มากที่สุด  และละเว้นทำชั่ว  เพราะต้องเชื่อว่า  ทำดีได้ดีทำ        ชั่วได้ชั่ว   จึงจะได้ชื่อว่ามีความเข้าใจดีในคำสอนของพระพุทธเจ้า   ก็จงนึกเสีย     เถิดว่า มิวันใดก็วันหนึ่งเขาจะหนีผลกรรมของเขาหาพ้นไม่ มิควรจะเอาเป็นเหตุ           ให้ท้อถอยต่อการบำเพ็ญกุศลกรรมแต่อย่างใดเลย จงเชื่อมั่นในผลของกรรมแล้ว       บำเพ็ญกรณียกิจของตน ให้สมกับที่เป็นพุทธมามกะอันแท้จริงเถิด ถ้าคนเราไม่มี     ความเชื่อในความยุติธรรมอันใดอันหนึ่งที่สูงกว่าความยุติธรรมของคนต่อคนกัน        แล้ว คนที่ประพฤติดีเห็นจะมีน้อยเต็มทีและจะเป็นที่น่าเหี่ยวแห้งใจอย่างยิ่ง [4]
ประการที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความขยันหมั่นเพียร คือ ความใส่พระราชหฤทัยต่องานราชการ ความข้อนี้ปรากฏหลักฐานการเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองมณฑลต่างๆ  ด้วยต้องพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรภูมิประเทศถิ่นฐานบ้านเมือง  เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของราษฎร  สำหรับประกอบพระราชดำริในการปรับปรุงแก้ไขการปกครองบ้านเมือง และการเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างประเทศ เพื่อเจริญพระราชไมตรีและนำสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองมาใช้ในประเทศสยามให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ  พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมประชาชนในภาคต่างๆของประเทศรวม ๔ ครั้ง คือระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๙ ถึง ๒๔๗๑ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ  หัวเมืองชายทะเลตะวันออก  หัวเมืองชายทะเลตะวันตก  และมณฑลภูเก็ต 
                 ประการที่    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการ (principled) ทรงตระหนักดีว่า การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจะต้องเกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์  เพราะภายหลังที่พระองค์เจ้าบวรเดช  กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมแล้ว  มีข่าวลือว่าจะมีผู้ก่อการปฏิวัติขึ้น  และหากเกิดการปฏิวัติเกิดขึ้นแล้วทรงคาดว่าจะมีแต่เสียประโยชน์  ทางหนึ่งที่จะทรงปฏิบัติได้ก็คือ  การพระราชทานรัฐธรรมนูญตามหลักการและแนวทางของพระองค์เสียก่อน  ผู้จะครองตนให้มีหลักการ ไม่ว่าสิ่งใด จะต้องมีทั้งสติ ปัญญา และธรรมราชา ดังจะเห็นได้จาก พระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งที่พระราชทานพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ว่า
“...ฉันได้คิดรายละเอียดของพิธีนี้มาหลายปี  เพราะรู้ดีว่าจะต้องเกิดขึ้นในรัชกาลของฉัน  ฉันร่างคำประกาศไว้ในใจฉันเป็นเวลานานแล้ว  ฉันอดเสียใจไม่ได้  มิได้บังเกิดขึ้นตามแนวที่ฉันเคยกะไว้  แต่ที่จริงเป็นไปอย่างนี้ก็ดีแล้ว  เพราะว่าถ้าฉันได้มีโอกาสให้รัฐธรรมนูญตามโอกาสและตามใจฉันเอง  คนที่อยากจะได้อำนาจแต่บัดนี้ก็ได้อำนาจแล้ว  ก็คงยังจะไม่ได้อะไร ฉะนั้นอาจจะยังพยายามจัดให้มีรีปับลิค” [5]
ประการที่ ๖   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความเป็น  “คน” ความเป็น “มนุษย์”  มีการมองโลกอย่างเชื่อมโยง พระราชจริยาวัตรในข้อนี้ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒  มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ใจความตอนหนึ่ง ว่า
“...เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว  ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป...”
            เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรันทดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งที่ไม่สามารถจะปฏิบัติพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์สยามอันมีมาแต่โบราณในการให้ความคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความยุติธรรมได้สำเร็จได้
ประการที่ ๗  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความอดทนอดกลั้น คือ ขันติบารมี  ความกล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้า
ดังหลักฐานพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า
....ถ้าอะไรไม่ดีมักจะติและโทษเอาพระองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวนั้นเป็นของธรรมดาไม่แปลกอะไร การสิ่งนี้ย่อมเป็นอยู่เสมอ พระเจ้าแผ่นดินจะต้องทรงถูกซัดทุกอย่าง แม้ดินฟ้าอากาศวิปริตไม่ต้องตามฤดูกาลก็ยังถูกซัด เป็นของธรรมดาที่จะต้องรับความซัดทอดเหล่านั้นด้วยขันติ ถ้าหากการที่ฉันได้ดำริจัดขึ้นได้ผลดี แม้จะไม่มีใครชมหรือหลงชมว่าเป็นความดีของคนอื่นก็หาโทมนัสไม่ ด้วยเมื่อทราบอยู่แก่ตนแล้วว่าสิ่งที่ได้จัดไปนั้นเป็นผลดีก็เป็นรางวัลอันเพียงพอแล้ว...
             สรุปได้ว่า  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยึดหลักความอดทน  ทรงข่มพระราชหฤทัย ทรงอดกลั้นด้วยพระราชขันติธรรม  มาแต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเจ้าฟ้าประชาธิปก ทั้งทางกาย  วาจาและใจ 


 





[1]พุทธศาสนสุภาษิต. ฉบับภาษาบาลี-ไทย-อังกฤษ  “ขันติวรรคหมวดอดทน “ จัดพิมพ์เผยแพร่โดย ศูนย๋ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ,2532., หน้า 19


[2] จากพราหมณสูตร  ในพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย


[3] คำว่า “กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา”  ใช้ “ศ”  สะกดเพราะอยู่ในจารึกพระสุพรรณบัฏประกาศเฉลิมพระนามทรงกรมเป็นกรมขุน  เมื่อ พ.ศ.2448   ต่อมาอีกยี่สิบปี  พ.ศ. 2468  ทรงได้รับการเลื่อนสถาปนาเป็นกรมหลวง  และในประกาศสถาปนาในพระสุพรรณบัฏตอนนี้ใช้ “ส” สะกด  จึงเขียนเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
.


[4] พระราชนิพนธ์คำนำในหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก


[5] พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์.  เจ้าชีวิต หน้า 698.


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...