ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์



สุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์
“ท่านผู้เป็นประธาน”

                ในวาระที่การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับ  พ.ศ. ๒๔๗๕  จะได้สิ้นสุดลงในวันนี้  ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญชวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น  คณะราษฎรพึ่งทราบเมื่อ ๖ วัน  ภายหลังที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  คือ  เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน  ได้มีพระกระแสรับสั่งให้พระยาพหลพลพยุหเสนา  พระยาปรีชาชลยุทธ  พระยามโนปกรณ์นิติธาดา   พระยาศรีวิสารวาจา  พร้อมทั้งข้าพเจ้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  และเจ้าพระยามหิธร  ซึ่งเป็นราชเลขาธิการขณะนั้นเป็นผู้จดบันทึก  มีพระกระแสรับสั่งว่ามีพระราชประสงค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น  เมื่อได้ปรึกษาข้าราชการมีตำแหน่งสูงในขณะนั้นก็ไม่เห็นพ้องกับพระองค์  ในสุดท้ายเมื่อเสด็จกลับจากประพาสอเมริกา  ได้ให้บุคคลหนึ่งซึ่งไปเฝ้าในวันนั้นพิจารณา  บุคคลนั้นก็ถวายความเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา  และที่ปรึกษาก็กลับเห็นพ้องด้วยบุคคลนั้น  คณะราษฎรมิได้รู้พระราชประสงค์มาก่อน  การเปลี่ยนแปลงได้กระทำโดยบริสุทธิ์ไม่ได้ช่วงชิงดังที่มีผู้ปลุกเสก  ข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างนั้น  ความจริงทั้งหลายปรากฏในบันทึกการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันนั้นแล้ว  และโดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ  ทรงมีพระราชประสงค์มาก่อนแล้ว  หากมีผู้ทัดทานไว้  ฉะนั้น  เมื่อคณะราษฎรได้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ  พระองค์จึงพระราชทานด้วยดี  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวไทย  ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลายที่อยู่  ณ ที่นี้  และบรรดาชาวไทยทั้งหลาย  จงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ  และเทอดพระเกียรติของพระองค์ไว้ชั่วกาลปาวสาน

                บัดนี้ผู้ก่อการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ  และผู้ที่ได้ร่วมมือช่วยเหลือกันประกอบเป็นสมาชิกประเภท ๒ ก็จะสิ้นสุดสมาชิกภาพลงแล้ว  ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามีความจำเป็นที่จะต้องซ้อมความเข้าใจถึงหลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ  ซึ่งคณะราษฎรได้ขอพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ  ว่าระบอบประชาธิปไตยนั้น  เราหมายถึงประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบหรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น  การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วนความไม่สงบเรียบร้อย  ความเสื่อมศีลธรรม  ระบอบชนิดนี้เรียกว่าอนาธิปไตยหาใช่ประชาธิปไตยไม่  ขอให้ระวัง  อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย  อนาธิปไตยเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงแก่สังคม และประเทศชาติ  ระบอบประชาธิปไตยจะมั่นคงอยู่ได้ต้องประกอบด้วยกฎหมาย  ศีลธรรม  และความซื่อสัตย์สุจริต  หรือในบางครั้งในโบราณกาลเรียกว่า  การปกครองโดยสามัคคีธรรม  การใช้สิทธิโดยไม่มีขอบเขตภายใต้กฎหมายหรือศีลธรรม  หรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต  ไม่ใช่หลักของประชาธิปไตย  ไม่ใช่หลักซึ่งคณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ  พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชาวไทยนั้นไม่มีพระราชประสงค์ให้เป็นอนาธิปไตย  ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างประเทศอิตาลีเมื่อก่อนสมัยมุสโสลินี  ซึ่งประชาธิปไตยของอิตาลีในขณะนั้นเข้าขีดที่ไม่มีระเบียบ  มีความอลเวงจึงเป็นสาเหตุหรือให้พวกฟาสซิสต์อ้างเป็นเหตุในการสถาปนาระบอบเผด็จการในประเทศอิตาลี  ข้าพเจ้าไม่พึงประสงค์ที่จะให้มีระบอบเผด็จการในประเทศไทย  ในการนี้จำเป็นต้องป้องกัน  หรือขัดขวางมิให้มีอนาธิปไตย  อันเป็นทางที่ระบอบเผด็จการจะอ้างได้  ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันประคองใช้ให้ระบอบประชาธิปไตยนี้ได้เป็นไปตามระเบียบเรียบร้อยอย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว  ระบอบเผด็จการย่อมมีขึ้นไม่ได้  ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมกับเพื่อนคณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ  ข้าพเจ้าได้ประคับประคองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้ตลอดมา  แม้ในการต่อต้านญี่ปุ่น  ซึ่งในการต่อต้านนั้น  อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งรัฐบาลชั่วคราว  แต่ข้าพเจ้าก็เลือกเอาทางที่จะตั้งรัฐบาลตามระบอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้อยู่  ข้าพเจ้าไม่มีเหตุผลอันใดที่จะกลายมาเป็นศัตรูของระบอบประชาธิปไตย  ข้าพเจ้าสังเกตว่ามีผู้เข้าใจระบอบประชาธิปไตยผิด  โดยเอาระบอบอนาธิปไตยเข้ามาแทนที่  ซึ่งเป็นภัยต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง  ข้าพเจ้าไม่ประสงค์ที่จะให้ผู้ใดเชื่อข้าพเจ้าโดยไม่มีค้าน  ข้าพเจ้าต้องการให้มีค้านแต่ค้านโดยสุจริตใจไม่ใช่ปั้นข้อเท็จจริงนั้น  ทางธรรมนั้นการกล่าวเท็จหรือมุสาวาจาก็เป็นผิดในทางการเมือง    การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ  มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ  ไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว  หรือมีความอิจฉาริษยากันเป็นมูลฐาน  เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว  (เอ็กโกอีสม์)  ความสามัคคีธรรม  หรือระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริงจึงจะเป็นไปได้  ผู้ใดมีอุดมคติของตนโดยสุจริต  ข้าพเจ้าเคารพในผู้นั้น  และเราร่วมมือกันได้  ข้าพเจ้าเชื่อว่า  ถ้าต่างฝ่ายต่างสุจริตมุ่งส่วนรวมของประเทศชาติไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว  แม้แนวทางที่จะเดินไปสู่จุดหมายจะเป็นคนละแนว แต่ในอวสานเราก็พบกันได้  ข้าพเจ้าขออ้างเจ้านายหลายพระองค์  ซึ่งท่านมีแนวทางอย่างหนึ่ง  และข้าพเจ้ามีแนวทางอีกอย่างหนึ่ง  แต่เจ้านายหลายพระองค์นั้น  ท่านก็มีจุดหมายเพื่อส่วนรวมของประเทศชาติไม่ใช่ส่วนพระองค์  ผลสุดท้ายก็ร่วมมือทำงานด้วยกันมาเป็นอย่างดี  ในการรับใช้ประเทศชาติและรักใคร่กันสนิทสนมยิ่งกว่าผู้ซึ่งเอาประเทศชาติเป็นสิ่งกำบัง  แต่ความจริงมุ่งหวังในประโยชน์ส่วนตัวมาก  ผู้ที่คอยอิจฉาริษยาเมื่อไม่ได้ผลสมหวังแล้ว  ก็ทำลายกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ  แทนที่จะเสริมก่อให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม  ผู้ที่ทำการปฏิปักษ์ต่อคณะราษฎรโดยอุดมคติซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์  ข้าพเจ้าเคารพในความซื่อสัตย์  ซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากรายที่ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ได้ร่วมกิจกรรมรับใช้ชาติกับข้าพเจ้า ท่านเหล่านี้ไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ผู้ซึ่งแสดงว่าซื่อสัตย์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ในภายนอก ส่วนภายในหวังผลส่วนตน  หรือมูลสืบเนื่องมาแต่ความไม่พอใจเป็นส่วนตัวเช่นนี้แล้ว  ก็เกรงว่าผู้นั้นก็อาจหันเหไปได้  สุดแต่ว่าตนจะได้รับประโยชน์ส่วนตนอย่างไหนมากกว่า

                ข้าพเจ้าหวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย  คงจะใช้สิทธิของท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจและอาศัยกฎหมายและศีลธรรมความสุจริตเป็นหลักไม่ช่วยกันส่งเสริมให้มีระบอบอนาธิปไตย  ข้าพเจ้าขอฝากความคิดไว้ต่อท่านผู้แทนราษฎรทั้งหลาย  โดยเป็นห่วงถึงอนาคตของชาติ  ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้เห็นประเทศชาติปลอดจากระบอบเผด็จการและปลอดจากระบอบอนาธิปไตย  คงมีแต่ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมไปด้วยความสามัคคีธรรม  ระบอบประชาธิปไตยโดยพรั่งพร้อมไปด้วยสามัคคีธรรมนี้เป็นวัตถุประสงค์ของคณะราษฎรที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญและเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานรัฐธรรมนูญ

                ข้าพเจ้าขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ที่ได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือรัฐบาลนี้ด้วยดี  ขออวยพรให้ท่านทั้งหลายประสบความสุขสำราญ  และในอวสานขอเชิญชวนท่านทั้งหลายอวยพรให้ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญจงสถิตย์สถาพรอยู่ในประเทศไทยชั่วกัลปาวสาน

 

สุนทรพจน์ของนายปรีดี  พนมยงค์
                               นายกรัฐมนตรี  ในโอกาสปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร
๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั