ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2015

พระเศวตคชเดชน์ดิลก : ช้างเผือกคู่พระบารมีพระปกเกล้าฯ

                                                                                          ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร [1] ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา ช้างเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแห่งการบำเพ็ญบารมีใน อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังปรากฏในชาดกของพระโพธิสัตว์ว่าพระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นพระยาช้างฉัททันต์และพระยาช้างปัจจัยนาเคนทร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบำเพ็ญบารมีในพระเวสสันดรชาดก และพระยาเศวตมงคลหัตถี หรือพระยามงคลนาคในทุมเมธชาดก และตามพระพุทธประวัติ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์ ก็ทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกนำดอกบัวมาถวาย อันเป็นนิมิตว่าผู้มีบุญญาธิการสูงได้มาอุบัติเป็นมนุษย์สู่พระครรภ์พระมารดาทางพระนาภีเบื้องขวา      ช้างเผือกจึงเป็นที่นับถือว่าเป็นสัตว์มงคลที่สำคัญในพระพุทธศาสนา พระเศวตคชเดชน์ดิลก   ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙  ...

เรือ “ศรวรุณ” ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล * เหตุการณ์”กบฏบวรเดช” กับเรือ “ศรวุรณ”           คอประวัติศาสตร์การเมืองสมัยรัชกาลที่๗ ย่อมทราบถึงเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่งทหารหัวเมืองฝ่ายพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช  (อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้ซึ่งเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๔ ได้ทรงลาออกจากตำแหน่งในรัฐบาลที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นหัวหน้าด้วยพระองค์เอง เพราะไม่พอพระทัยที่งบประมาณของกระทรวงนี้ถูกตัดทอนมากเช่นเดียวกับของกระทรวงอื่นๆ) กับทหารฝ่ายรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาได้รบพุ่งกันจนเสียเลือดเสียเนื้อที่ทุ่งดอนเมือง            ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับแปรพระราขฐานอยู่ที่สวนไกลกังวล หัวหิน พระองค์ทรงเศร้าสลดพระทัยมากที่คนไทยรบกันเอง และได้ทรงแสดงพระราชประสงค์จะทรงเป็น “คนกลาง” ให้ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาสงบศึกกัน แต่ไม่มีฝ่ายใดตอบสนอง พระองค์จึงได้ตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จฯจากหัวหินด้วยเรือยนต์พระที่นั่งลำเล็กนามว่า “ศรวรุณ” ในค่ำวันที่ ๑๗ ตุลาคม กลาง...