ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระสวามี กลับประเทศไทย

 



วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เรือภาณุรังสีอัญเชิญหีบพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๗ ถึงกรุงเทพฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จพระราชดำเนินลงจากเรือ เจ้าพนักงานเชิญพระพุทธรูปประจำพระองค์อยู่เบื้องขวา (ขอบคุณภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)




พระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุดตานถม ภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (ขอบคุณภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)



เสด็จคืนถิ่นไทยสมศักดิ์ศรี

        พุทธศักราช ๒๔๙๐ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงพระราชดำริว่าค่าใช้จ่ายในการประทับที่อังกฤษสูงมาก และเป็นการอาศัยบ้านเมืองเขาอยู่เท่านั้น หากได้เสด็จฯกลับเมืองไทยจะได้ทรงงานเพื่อประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์หรือด้านศาสนา

        อย่างไรก็ตาม การเสด็จกลับนั้นรัฐบาลไทยต้องอัญเชิญเสด็จฯอย่างเป็นทางการ และอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสมพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริย์ จึงจะเสด็จฯกลับ มิฉะนั้นแล้วจะทรงยอมทนประทับอยู่ในเมืองนอกต่อไป

        ในพุทธศักราช ๒๔๙๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลปัจจุบัน และรัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กลับมาประทับในประเทศไทยพร้อมพระบรมอัฐิ โดยให้ถือปฏิบัติน้อมเกล้าฯ ถวายพระเกียรติยศสูงสุดในฐานะสมเด็จพระมหากษัตราธิราชและสมเด็จพระบรมราชินี

        วันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิออกจากพระตำหนักคอมพ์ตันเฮาส์ไปยังท่าเรือเซาท์แธมป์ตัน (Southampton) ซึ่งรัฐบาลอังกฤษได้จัดกองทหารเกียรติยศส่งเสด็จพระบรมอัฐิ ผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกซอลส์เบอรี่นำเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงตรวจกองทหารเกียรติยศ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

      เรือวิลเล็มไรซ์ (Willem Ruys) ออกจากท่าเรือเซาท์แธมป์ตันถึงเกาะสิงคโปร์แล้ว คณะผู้แทนของรัฐบาลมารับเสด็จฯ และอัญเชิญพระบรมอัฐิสู่เรือ “ภาณุรังษี” ถึงเกาะสีชัง

เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐานในพระโกศพระบรมอัฐิ

       จากนั้นเรือรบหลวงแม่กลองแห่งราชนาวีไทยอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงท่าราชวรดิฐในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒

 A Right Royal Homecoming

In 1947, H.M.Queen Rambhai Barni thought that living in England was very costly and that it was not her homeland. If she were to be able to return to Thailand, she could do some good in social welfare or for the religion.

However, she was insistent that only when the Thai government formally asked her to return with the Relics of H.M. King Prajadhipok in full honours of a crowned King would she do so. Otherwise, she would rather endure staying in a foreign land.

The next year, H.R.H. Prince Rangsit of Chainat, the Chair of the Council of Regents and the Thai government, beseeched H.M. Queen Rambhai Barni to return to Thailand and to bring H.M. King Prajadhipok’s Relics with her. They also reinstated them to their former majestic statuses. The Queen henceforth became known as H.M. Queen Rambhai Barni of the Seventh Reign.

The Queen left Compton House on May 1, 1949 for Southampton Docks. There, a procession carrying the Reliquary, proceeded past the Honour Guard of soldiers from the Salisbury Military District to board the Wilhelm Ruys liner of the Royal Rotterdam Lloyd Company. The Thai Royal Anthem was played, bringing tears to the eyes of those Thais present who had not heard it for a long time. The Thai Royal Ensign was raised on the ship’s mast once the Reliquary was on board.

H.M. Queen Rambhai Barni resolutely and smartly walked past the British Guard of Honour to board the ship.

At Singapore, the royal party was met by Thai government representatives for a transfer to the Bhanurangsi of the Danish East Asiatic Company bound for Sichang island for another transfer to HMS Mae Klong of the Royal Thai Navy where the Relics were placed in the Jewelled Golden Reliquary Urn.

        จากท่าราชวรดิฐได้อัญเชิญพระบรมอัฐิโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่สู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน จากนั้นได้อัญเชิญพระบรมอัฐิออกประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่อให้ประชาชนได้ถวายสักการะตั้งแต่วันที่ ๒๓ – ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๒

       หลังจากเสร็จการพระราชพิธีแล้วได้อัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และอัญเชิญพระราชสรีรางคารบรรจุที่ฐานพระพุทธปฏิมากรประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

       เมื่อถึงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ของทุกปี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จฯไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายเสด็จสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

On May 24, 1949, H.R.H. the Prince Regent met the Reliquary and Her Majesty at Rajavaradith Landing and the Urn was borne by Royal Procession to Chakri Maha Prasat Throne Hall in the Grand Palace for the holding of royal religious rites. Then on June 23-29, the Reliquary was enthroned in Amarindra Vinichai Hall for the public to pay their homage.

On May 26, the Reliquary Urn was enshrined in the Relics Hall of Chakri Throne Hall.

On June 30, the Royal Ashes were placed underneath the Buddha’s Image at Wat Rajabhopit’s Ordination Hall.

Every year since, H.M. Queen Rambhai Barni held religious rites in remembrance of H.M. King Prajdhipok on the Anniversary of His Death on May 30 at the said Buddhist temple.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...