ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

           





         





ทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาไทย

           สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ทรงประสบเหตุการณ์ที่ก่อเกิดความผันแปรในพระชนม์ชีพหลายครั้งคราว ทั้งที่สุขปีติ และทุกข์โทมนัสจนบั่นทอนกำลังพระราชหฤทัย แต่ทั้งหมดนั้นทรงผ่านมาได้ด้วยพระปรีชา ทำให้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ จากยุวราชนารีตราบเสด็จสวรรคต ทรงดำรงพระองค์งดงามเพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศสูงส่งแห่งสมเด็จพระบรมราชินี ทรงเคียงข้างพระราชสวามีทุกโอกาส ทรงวางพระองค์อย่างเหมาะสมทุกสถานการณ์ ทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือพัฒนาการอาชีพราษฎรในท้องถิ่น และที่สำคัญทรงสนับสนุนการศึกษาก่อเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประเทศ เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่าควรแก่การศึกษาและน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ ที่ประมวลโดยสรุปได้ดังนี้

*พระราชจริยวัตรเปี่ยมคุณธรรม

          สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงเผชิญทุกข์และโศกหลายครั้งครา แต่ด้วยพระราชอัธยาศัยนุ่มนวลแต่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง ทรงปล่อยวางอย่างเหมาะสมในบางโอกาส ทรงอโหสิกรรมในที่สุด และเหนือสิ่งอื่นใด ทรงยึดมั่นในพระเกียรติคุณและรักษาพระเกียรติยศของพระราชสวามีสืบมา

* ครองพระองค์สมศักดิ์ศรีแห่งขัตติยราชนารี

           ทรงครองพระองค์สมพระเกียรติยศและสมศักดิ์ศรี ไม่ทรงหลีกหนีปัญหา ทั้งในยามที่ทรงเคียงข้างพระราชสวามีและเมื่อพระราชสวามีหาไม่แล้ว

*ทรงเป็นนักพัฒนาที่สามารถ

           ทรงส่งเสริมพัฒนาอาชีพราษฎรในจังหวัดจันทบุรี โดยทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง เป็นแนวทางการประกอบสัมมาชีพ ทำให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็งมั่นคง ยั่งยืนและได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเมตตาขาย “สวนบ้านแก้ว” ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการในราคาถูก เพื่อจัดตั้งเป็นสถานศึกษาชั้นสูงในท้องถิ่น เพื่อเยาวชนในชนบทมีโอกาสได้พัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าสืบไป

*ทรงเรียนรู้ตลอดพระชนมชีพ

           ทรงเจริญพระชนมายุท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและสังคมไทย ทำให้ทรงเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเปลี่ยนแปลงของโลก ทรงพระราชดำริว่าการความรู้มิได้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด จึงต้องขวยขวายหาความรู้ และไม่กลัวสิ่งที่ไม่รู้

*ประสบการณ์มีค่าดั่งจินดาประสบการณ์ชีวิตที่ทรงผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ได้บ่มเพาะให้ทรงเข้มแข็ง ทรงรอบรู้ และทรงเมตตาอุปถัมภ์พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ราษฎรได้อย่างเหมาะสม



The Legacy of Her Exemplary Conduct

         In her long life, Her Majesty Queen Rambhai Barni of the Seventh Reign faced many unexpected events that brought her joy and contentment as well as trails and tribulations. She overcame all of them skilfully. From childhood to her last days, her demeanor was gracious and dignified as was befitting one who attained the great honour of Her Majesty the Queen Consort. She was ever at her Royal Husband’s side, supportive of him. She composed and conducted herself in manners most appropriate on all occasions. She dedicated herself to her people, assisting rural villagers in the development of their occupations. Importantly, she lent support to educational endeavours for the country’s long term benefit. She thus set an example for all to draw on and to thereby be grateful for her boundless kindness and generosity. To wit:

¨The moral strength of her character

         H.M.Queen Rambhai Barni of the Seventh Reign faced in her long life many unexpected events that brought her not only happiness but also several moments of sadness and sorrow. She confronted life’s fluctuations with characteristic gentleness and resolution. She was courageous when necessary, stoical and unperturbed as appropriate to the situation, and forgiving when all had passed. Above all else, she was ever devoted and loyal to H.M.King Prajadhipok, her Royal husband. The safeguarding of his royal honour was always uppermost in her mind.

¨The upholding of her own royal honour

          H.M.Queen Rambhai Barni led a life in keeping with her being born a royal personage. Elevated to higher stations, she was ever mindful when dealing with problems. She never avoided them. This was the case both when she was at H.M.King Prajadhipok’s side and after his demise. Thus, she also succeeded in maintaining her own royal honour.

¨The skilful ‘development worker’ in her

          Her Majesty was intent on developing the occupational skills of Chantaburi villagers. She did this by example, demonstrating to them the way to make an honest living. As a result, the local economy was placed on a firm footing for sustainability. Furthermore, by agreeing to sell “Suan Ban Kaew” to the Ministry of Education at an economical price, she contributed to the establishment of an institution in the locality where provincial and rural youths were afforded the opportunity to improve themselves through higher education.

Her engagement in life-long learning

          Since she spent her life in the midst of changes both in Thai society and the world, Her Majesty sought to comprehend them through mindfulness and knowledge and to confront them through the acquisition of skills. She counseled that one should not be afraid of the unknown but should set out to learn things throughout one’s life.

Experience was like a jewel to her

          The diversity of experiences made H.M.Queen Rambhai Barni into a tough and knowledgeable person. She translated her experiences into resourcefulness. She then exemplarily proceeded to put the resultant jewel to publicly beneficial purposes.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั