ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ละครแห่งชีวิต : วรรณกรรมอมตะของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์

"หนังสือเล่มนี้เขียนสำหรับคนไทยและชาติไทย ซึ่งข้าพเจ้ารักและต้องการให้เป็นสุข
หม่อมเจ้า อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 6 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์กับหม่อมอ่อน ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญแล้วมาศึกษาต่อชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แต่ไม่จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 และทรงลาออกไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ ด้วยปัญหาด้านสุขภาพจึงต้องทำให้เสด็จกลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2471 และต่อมาได้สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่ประเทศฮ่องกง หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ทรงเป็นนักประพันธ์รุ่นแรกๆที่กำเนิดในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ซึ่งนักประพันธ์รุ่นนี้ประกอบด้วย ดอกไม้สด ศรีบูรพา สด กูรมะโรหิต มาลัย ชูพินิจ ส่ง เทภาสิต และยาขอบ นักประพันธ์รุ่นดังกล่าวเติบโตในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก ได้รับการศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตกอันเป็นที่นิยมของเจ้านายข้าราชสำนักและขุนนางผู้ใหญ่ นับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว งานเขียนของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง เป็นงานสร้างสรรค์อัตถนิยมซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ในคำนำของงานเขียนเรื่อง ผิวเหลืองหรือผิวขาว เมื่อปีพ.ศ. 2473 กล่าวว่า “...นวนิยายนั้นเป็นเรื่องเริงรมย์ที่แต่งขึ้นด้วยความคิดฝันเท่านั้น หากแต่ข้าพเจ้าได้ทำให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด อันเป็นสิ่งที่นักอ่านเมืองไทยโดยมากไม่เคยพบเห็น...” งานเขียนของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิงได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับสถานภาพของสตรีและครอบครัวไทยในสมัยนั้นไว้ ดังนี้ จากประสบการณ์ในครอบครัวของท่าน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับฐานะของภรรยาในสังคมไทยที่มีอยู่สองลักษณะ กล่าวคือ ลักษณะแรก สตรีต้องจำทนระทมทุกข์ที่สามีไปมีภรรยาน้อยหลายคนด้วยความเจ็บช้ำ เพราะไม่มีทางออกที่จะหนีไป และลักษณะที่สอง คือ สตรีที่ไม่ยอมทนต่อความเจ็บช้ำ เมื่อมีทางออกก็จะหนีไปอยู่ที่อื่นทิ้งทรัพย์สมบัติไปอยู่ที่อื่น ดังตัวละครที่เป็นแม่ของวิสูตร ศุภลักษณ์ ณ อยุธยา ในเรื่อง ละครแห่งชีวิต ที่ประพันธ์เมื่อปีพ.ศ. 2472 ได้แสดงความเห็นอกเห็นใจสตรี เพราะท่านเห็นตัวอย่างจากหม่อมแม่ของท่านในชีวิตจริง ในงานเขียนเรื่องดังกล่าวได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าไม่เห็นด้วยกับการมีภรรยาหลายคนของบุรุษ ซึ่งท่านถือว่าสิ่งนี้ทำให้ประเทศชาติขาดความเจริญรุ่งเรืองและเป็น “บาร์บาเรียน” “ละครแห่งชีวิต” ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เสนอปรัชญาชีวิตและความคิดว่า ความรักเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตสมรส แต่ฐานะทางเศรษฐกิจและความเหมาะสมด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิตแต่งงานให้ราบรื่น และมีแนวคิดคัดค้านค่านิยมเกี่ยวกับการมีภรรยามากทำให้เกิดปัญหาในชีวิตครอบครัว ชีวิตของวิสูตรตัวละครเอกของเรื่องต้องขมขื่นในวัยเด็กเพราะบามีภรรยาหลายคนจนทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ความลำเอียงทำให้เด็กมีปมด้อย หม่อมเจ้าอากาศดำเกิงทรงเป็นนักประพันธ์รุ่นแรกๆที่ถือกำเนิดในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น ดอกไม้สด แม่อนงค์ ยาขอบ และ ศรีบูรพา นักประพันธ์รุ่นดังกล่าวนี้เติบโตในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก คนเหล่านี้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก อันเป็นที่นิยมของเจ้านาย ข้าราชสำนักและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงเติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 งานเขียนของของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง เรื่อง“ละครแห่งชีวิต” เป็นงานสร้างสรรค์เชิงอัตถนิยมกึ่งอัตชีวประวัติของตัวเอกของเรื่อง คือ นายวิสูตร ศุภลักษณ์ ณ อยุธยา อดีตนักเรียนนอกด้านกฎหมายจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผู้ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษา ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า วิสูตร เป็นเหมือนเงาสะท้อนของผู้ชีวิตผู้แต่ง คือหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง แต่สมมุติให้วิสูตรเป็นบุตรของพระยาวิเศษศุภลักษณ์ ขุนนางผู้ใหญ่แห่งกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ดังเช่น ในคำนำของงานเขียนเรื่อง ผิวเหลืองหรือผิวขาวของผู้เขียน เมื่อปีพ.ศ. 2473 กล่าวว่า “...นวนิยายนั้นเป็นเรื่องเริงรมย์ที่แต่งขึ้นด้วยความคิดฝันเท่านั้น หากแต่ข้าพเจ้าได้ทำให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด อันเป็นสิ่งที่นักอ่านเมืองไทยโดยมากไม่เคยพบเห็น...” กรณีศึกษาสถานภาพสตรีสมัยรัชกาลที่ 7 ในนวนิยายเรื่อง “ละครแห่งชีวิต” หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์นำเสนอแนวคิดจากประสบการณ์ในครอบครัวของท่านเองในเรื่อง สถานภาพของภรรยาในสังคมไทยมีสองลักษณะ คือ ลักษณะแรก สตรีที่ต้องจำทนระทมทุกข์ที่สามีไปมีภรรยาน้อยหลายคน ด้วยความเจ็บช้ำเพราะไม่มีทางออกที่จะหนีไป ลักษณะที่สอง สตรีที่ไม่ยอมทนต่อความเจ็บช้ำเมื่อมีทางออกก็จะหนีไปอยู่ที่อื่น ดังตัวละครที่เป็นแม่ของตัวละครชื่อ วิสูตร ศุภลักษณ์ ณ อยุธยาในวรรณกรรมเรื่อง “ละครแห่งชีวิต” เนื้อหาแสดงให้เห็นความเห็นอกเห็นใจสตรีเพราะท่านเห็นตัวอย่างจากหม่อมแม่ของท่านเอง สถานภาพและบุคลิกภาพของหญิงพี่เลี้ยงสูงวัย หม่อมเจ้าอากาศดำเกิงฯ ทรงบรรยายให้เห็นบุคลิกของพี่เลี้ยงของ วิสูตร ไว้ว่า ยายพร้อมเป็นพี่เลี้ยงในวัยเด็ก แม้ว่าวิสูตรจะมีความผูกพันกับผู้หญิงหลายวัย แต่นางพร้อม “เป็นคนๆเดียวในโลก”ที่รู้จักเขาเป็นอย่างดี แม้แต่นางจะสามารถเล็งเห็นทั้งความทุกข์และความสุขที่จะเกิดขึ้นต่อตัววิสูตร แต่นางก็ไม่สามารถจะทำนายอย่างถูกต้องว่า วิสูตรจะมีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ หญิงพี่เลี้ยงอาจจะมีหลายแบบแต่จากบทประพันธ์เรื่องนี้ ถือได้ว่า แม้ยายพร้อมจะมีคุณลักษณะของคนโบราณอย่างพี่เลี้ยงทั้งหลายในบ้านขุนาง หน้าตาน่าเกลียด แต่วิสูตรเล่าว่า “นางมีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีจนสามารถที่จะเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องผู้เป็นนายได้ไม่ว่าเวลาใด” นิสัยของยายพร้อมคือ ชอบกินหมากนานจนปากแดงเปลี่ยนเป็นสีดำแล้วก็ไหม้เกรียมคล้ายถูกไฟเผา นานๆก็สูบบุหรี่แถมกินข้าวจุมากด้วย ในยามทุกข์จากความน้อยใจที่ไม่ได้รับความเมตตาจากบิดา วิสูตรบรรยายว่า “ยายพร้อมได้หอบร่างอันทุเรศมาหาข้าพเจ้า มือขวาถือกระโถนใบใหญ่” แต่ยายพร้อมเป็นเพียงเพื่อนคนเดียวจะคอยปลอบใจให้คลายทุกข์ด้วยการบอกทั้งน้ำตาว่า จะพาวิสูตรนั่งรถเจ๊กไปเล่น “แทงตกเบ็ด” ที่สำเพ็ง ทำให้วิสูตรถึงกับน้ำตาไหลพรากโผเข้าไปกอดแกด้วยความรักอันสูงสุด ยายพร้อมมีนิสัยชอบเล่นการพนันเช่นเดียวกับคน (รับ)ใช้ทั้งหลายในสมัยนั้นและสมัยนี้ นอกจากการเล่น “แทงตกเบ็ด” ที่สำเพ็งแล้วยังชักนำให้วิสูตรรู้จักการเล่นพนันลูกเต๋า และไพ่ป๊อก จนติดเป็นนิสัยเนื่องด้วยวิสูตรเป็นผู้มีดวงทางการพนัน วิสูตรจึงถือว่ายายพร้อมเป็นเพื่อนตาย วิสูตรใช้ชีวิตในวัยเด็กส่วนใหญ่อยู่กับยายพร้อม เนื่องจากเขาเกิดในครอบครัวของขุนนางผู้ใหญ่กระทรวงมหาดไทยที่มีภรรยาและมีบุตรธิดาจำนวนมาก แต่วิสูตรกลับไม่ได้รับความอบอุ่นจากบิดามารดาอย่างเต็มที่ทำให้เป็นเด็กที่มีความเจ้าคิดเจ้าแค้น แม้ในโอกาสที่บิดาเดินทางไปราชการต่างจังหวัด อาทิ จันทบุรี ลพบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และภูเก็ตทีละหลายสัปดาห์พร้อมด้วยวงศาคณาญาติทั้งหมด แต่วิสูตรกลับถูกทอดทิ้งให้อยู่กับยายพร้อมเท่านั้น วิสูตรเคยถามยายพร้อมว่า เป็นเพราะบาปกรรมอะไรที่ทำให้เขาได้รับ การเลี้ยงดูอย่างไม่เป็นธรรม
ความงาม ความรัก และจริยวัตรของสตรี บรรยายความงามของวัยสาวของมารดาของเขาว่า เมื่อยังเป็นสาวท่านเป็นสตรีสวยที่สุดในเมืองไทย ผิวขาว ใบหน้ารูปไข่ ดวงตาดำคม วาจาอ่อนหวาน จึงเป็นที่นิยมต้องตาบุรุษตระกูลสูงทั้งปวง มีผู้มาสู่ขออยู่เนืองนิตย์ ใบหน้างามอย่างรูปไข่สันนิษฐานว่าคงจะเป็นตัวแทนของทัศนะเกี่ยวกับความงามของสตรีไทยสมัยรัชกาลที่ 7 เช่นเดียวกันกับตัวละครชื่อ ลำจวน เพื่อนรักในวัยรุ่นของวิสูตรเป็นน้องสาวของประดิษฐ์ บุญญารัตน์ เพื่อนร่วมโรงเรียนอัสสัมชัญ ทั้งสองคนเป็นลูกพระยาบรรลือเดชอำนวย วิสูตรเล่าถึงบุคลิกและความงามบนโครงหน้ารูปไข่ของลำจวนเมื่อแรกพบว่า “ข้าพเจ้าจ้องดูแม่ลำจวน ด้วยความนิยมอันอุบัติขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน น้ำเสียงอันเย็นหู พร้อมด้วยกิริยาอันสงบเสงี่ยมของหล่อนนั้นน่าชมยิ่ง ลำจวนเป็นสตรีไทยที่สวยที่สุดคนหนึ่งที่ข้าพเจ้ารู้จักมา หล่อนมีผิวพรรณ วรรณะขาวนวล ดวงพักตร์งามเป็นรูปไข่ นัยน์ตาใหญ่ชม้อยคม ผมเกล้าเป็นมวยพองาม” สถานภาพเพื่อนตายจากความรักของหญิงชราผู้เป็นพี่เลี้ยง ยายพร้อมเป็นทั้งเพื่อนและพี่เลี้ยงที่มีทั้งความรักและความห่วงใยอันบริสุทธิ์ต่อวิสูตรผู้เป็นมูลนาย (นาย มูลนาย เจ้านาย นายจ้าง) ลักษณะพิเศษของนาง คือ นอกจากจะมีสติปัญญาอันเฉลียวฉลาดที่จะปลอบประโลมใจให้วิสูตรคลายเหงาคลายทุกข์แล้ว นางยังรู้จักใช้ความสามารถพิเศษของมูลนายในการแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการพนันสู่ตนเองอย่างค่อนข้างปรีดิ์เปรมอีกด้วย สถานภาพฉันท์เพื่อนระหว่างชายหญิง เพื่อนรักที่เป็นสตรีของวิสูตรมีอย่างน้อย 3 คน ได้แก่ เพื่อนเล่นเพื่อนรักในวัยเด็ก คือ เด็กหญิงบุญเฮียง เพื่อนรักวัยรุ่น คือ ลำจวน และเพื่อนรักที่เป็นหญิงคนรักต่างชาติ คือ มาเรีย เกรย์ สตรีชาวอังกฤษ ในทัศนะของคนร่วมสมัยวิสูตรระบุว่า ความงามเปรียบเสมือนใบเบิกทางให้หญิงสาวมีชีวิตไม่อับจน โดยเฉพาะน้องสาวของเขา ซึ่งแม้จะไม่มีส่วนในกองมรดกของบิดาส่วนมารดาตนนั้นกลับมีชะตากรรมน่าสงสารเพราะเข้าสู่วัยชรากล่าวคือ สถานภาพเพื่อนร่วมชีวิตอันเกิดจากความรักฉันท์สามีภรรยา วิสูตรเล่าว่ามารดาของตนได้ตัดสินใจเลือกบิดาเป็นเพื่อนร่วมชีวิต จากนั้นท่านก็ทำหน้าที่ภรรยาอย่างดีที่สุด เป็นทั้งภรรยา เพื่อนยามที่บิดาเจ็บป่วย ที่ใส่ใจในการดูแลและรักษาพยาบาลด้วยคำพูดที่อ่อนหวาน กระนั้นเขาก็ไม่รู้สึก (ไม่คิด) ว่า บิดามารดา (พระวิเศษศุภลักษณ์และคุณหญิงยุพิน) จะมีความรักต่อกันอย่างวิเศษเหนือผู้อื่นใด ยายของวิสูตรจัดเป็นหญิงชราสูงศักดิ์ นางเลี้ยงหลาน เข้าวัดเข้าวายึดมั่นในศาสนาหลายสิบปี ปราศจากกิเลส อยู่ในศีลในธรรม นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นเด่นชัดว่า “ไม่เห็นด้วยกับการมีภรรยาหลายคนของบุรุษ”ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะของ“บาร์บาเรียน” สถานภาพหลังจากการหย่าร้างและธรรมเนียมการปลดชรา การมอบความช้ำใจแก่ภรรยาวัยกลางคนอย่างโหดร้าย เมื่อมารดาของตัวละครชื่อวิสูตรย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็มีเหตุให้ต้อง"ปลดชรา" ความหมายของการปลดชราก็คือการที่สามีแต่งภรรยาคนใหม่เข้าเรือน อันนำมาซึ่งการหย่าร้างในที่สุดวิสูตรเล่าว่า "เรื่องคุณแม่จะต้องจากบ้านที่ท่านอยู่มาแล้วตั้ง 20 ปี ไปอยู่บ้านฝั่งธนฯก็เป็นเรื่องธรรมดาเหมือเรื่องราวทั้งหลายในครอบครัวขุนนางใหญ่ๆโตๆในเมืองไทยเมื่อภรรยาเป็นฝ่ายที่ชรา หมดกำลังที่จะสนองคุณได้เช่นเคย ก็เป็นอันว่าต้องถูกปลดชราในคราวเดียวกับภรรยา แต่ยังมีกำลังวังชาและโภคทรัพย์ก็คงแสวงหาสิ่งที่ตัวเองไม่มีสิทธิ์ที่จะได้ แต่ก็คงจะได้สมหวัง โดยการชอกช้ำระกำใจของภรรยาเก่าผู้เคยร่วมทุกข์สุขมาด้วยหลายสิบปีถ้าภรรยาคนไหนทนได้เพราะความจำเป็น ก็เลยนั่งทนดูความเป็นอยู่ของสามี ส่วนภายในทรวงของหล่อนเล่า ก็คงมีเลือดหยดอยู่มิขาดสาย อนิจจา! นี่คือภรรยาของคนไทย แม่ยอดหญิง! …ผลกระทบที่ตามมาก็คือ การสูญเสียโอกาสทางด้านสินสมรสของมารดาตน สะท้อนถึงการที่สังคม ประเพณีและกฎหมายยอมให้สตรีในสมัยนี้ถูกกดขี่และเอาเปรียบอย่างไร้ความปรานีอย่างไม่เป็นธรรม วิสูตรเล่าว่า "ถ้าภรรยาคนไหนทนไม่ไหวและพอมองเห็นทางที่จะหลีกก็ตัดช่องน้อยไปแต่พอตัว ทิ้งทรัพย์สมบัติที่ตนได้ช่วยสร้างสมมาแล้ว เป็นเวลาตั้งหลายสิบปีให้อยู่ในอารักขาของบุรุษผู้มีใจโลเลเบื่อเก่าหาใหม่ ส่วนทรัพย์สินนั้นๆก็ตกไปอยู่กับเด็กหญิงอะไรที่หน้าตาสวยๆ ทิ้งให้ภรรยาเก่าและบุตรธิดาของตนก้มหน้ากินเกลือไปตามยถากรรม..." สมดังที่วิสูตรกล่าวไว้เบื้องต้น เมื่อพระยาวิเศษศุภลักษณ์ถึงอนิจกรรม ปรากฏว่ามารดา วิสูตรและน้องสาวไม่มีส่วนในกองมรดกของบิดาเลย “ละครแห่งชีวิต” ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เสนอปรัชญาชีวิตและความคิดว่า ความรักเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตสมรส แต่ฐานะทางเศรษฐกิจและความเหมาะสมด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิตแต่งงานให้ราบรื่น และมีแนวคิดคัดค้านค่านิยมเกี่ยวกับการมีภรรยามากทำให้เกิดปัญหาในชีวิตครอบครัว ชีวิตของวิสูตรตัวละครเอกของเรื่องต้องขมขื่นในวัยเด็กเพราะบามีภรรยาหลายคนจนทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ความลำเอียงทำให้เด็กมีปมด้อย หม่อมเจ้าอากาศดำเกิงทรงเป็นนักประพันธ์รุ่นแรกๆที่ถือกำเนิดในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น ดอกไม้สด แม่อนงค์ ยาขอบ และ ศรีบูรพา นักประพันธ์รุ่นดังกล่าวนี้เติบโตในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก คนเหล่านี้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก อันเป็นที่นิยมของเจ้านาย ข้าราชสำนักและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงเติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 งานเขียนของของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง เรื่อง“ละครแห่งชีวิต” เป็นงานสร้างสรรค์เชิงอัตถนิยมกึ่งอัตชีวประวัติของตัวเอกของเรื่อง คือ นายวิสูตร ศุภลักษณ์ ณ อยุธยา อดีตนักเรียนนอกด้านกฎหมายจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผู้ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษา ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า วิสูตร เป็นเหมือนเงาสะท้อนของผู้ชีวิตผู้แต่ง คือหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง แต่สมมุติให้วิสูตรเป็นบุตรของพระยาวิเศษศุภลักษณ์ ขุนนางผู้ใหญ่แห่งกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั