ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สถานภาพสตรีจากวรรณกรรมดอกไม้สด เรื่อง ศัตรูของเจ้าหล่อน

“ศัตรูของเจ้าหล่อน” “บทประพันธ์ของ หม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ ใช้นามแฝงว่าดอกไม้สดภาษาในการประพันธ์ใช้ได้งดงาม และใช้ฉากยุคสมัยของรัชกาลที่ 7 ซึ่งเขียนเมื่อพ.ศ. 2472 และเคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์ไทยเขษมรายเดือนในปีพ.ศ. 2472 จนกระทั่งพ.ศ. 2487 กองอาสากาชาดจึงได้พิมพ์รวมเล่ม จำหน่ายในงานสโมสรสันนิบาต ณ อุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ เสนอความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ กล่าวคือ คนรุ่นใหม่เห็นว่า ประเพณีคลุมถุงชนเป็นเรื่องพ้นสมัยไร้เหตุผล แต่ในตอนจบเรื่องยุติปัญหาว่าในที่สุด คู่ที่ผู้ใหญ่เลือกให้เป็นคู่ที่เหมาะสมที่สุด เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ มยุรี นางเอกของเรื่อง และประสงค์ วิบูลย์ศักดิ์ ผู้เป็นคู่หมั้นคู่หมายกันแต่วัยเด็ก เมื่อประสงค์เติบโตขึ้นก็หลงรักมยุรี แต่มยุรีกลับเห็นว่า การหมั้นหมายเปรียบเสมือนเครื่องผูกมัดหล่อน อีกทั้งเวลาผ่านไปทั้งสองคนไม่ได้ติดต่อกันทำให้มยุรีปฏิเสธการแต่งงานกับประสงค์ ทำให้นายประสงค์ปลอมตัวเป็นนายประสมมาเป็นลูกจ้างเพื่อจะได้เข้าใกล้ชิดกับมยุรี ภายหลังจบลงด้วยความสุขสมหวัง นวนิยายเรื่องนี้จะคล้ายคลึงกับเรื่อง “ปราบพยศ” ของศรีบูรพา ซึ่งเป็นนวนิยายยุคเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีผลงานชิ้นเอกคือ เรื่องผู้ดีของดอกไม้สดเป็นวรรณกรรมที่เขียนขึ้นในทศวรรษที่ 2470 หลังยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆในสังคมสยามทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งภายในภายนอก เช่น เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ การขยายตัวทางการศึกษา นำมาซึ่งการปรับใช้วัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาอย่างกว้างขวาง ซึ่งเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าวมีผลต่อความคิด ค่านิยมและโลกทัศน์ของคนในยุคสมัย งานวรรณกรรมก็ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน ทั้งแนวคิดโครงสร้างของเรื่อง เทคนิคการเขียนและกลวิธีที่ใช้ในการเขียนงานวรรณกรรมที่มีความเป็นสัจนิยม เป็นเหตุเป็นผล และมีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น เป็นวรรณกรรมของสตรีเสมือนตัวแทนของกลุ่มสตรีชนชั้นนำในสังคมไทยและบุกเบิกนวนิยายชีวิตครอบครัวกลุ่มชนชั้นสูงที่ได้รับผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ งานนวนิยายหรือวรรณกรรมช่วงนี้จึงสะท้อนโลกทัศน์และแนวคิดของผู้เขียนต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ในขณะที่สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างโลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่ ระหว่างการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย การรับการศึกษาและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในระบบคิดแบบประเพณีนิยม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไปสู่ระบบธนานุภาพ ซึ่งภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนี้ได้ปรากฏในงานเขียนของดอกไม้สดอย่างชัดเจน ในความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้รวมถึงเรื่องบทบาทและสถานภาพของสตรีไทย และให้ภาพสังคม วัฒนธรรม บ้านเมือง การสมาคมและ งานราตรีสโมสรของผู้คนในสมัยนั้นได้อย่างสมจริง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...