ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2022

ฉากชีวิตที่แปรเปลี่ยน 2 มีนาคม 2477

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงเล่าการเสด็จไปประเทศอังกฤษครั้งนั้นว่า เมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช 2476 สามเดือนหลังเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช”ในตอนนั้น ทางรัฐบาลเขาก็ไม่อยากให้ไปเหมือนกัน แต่ท่านไม่สบายจริงๆ... ก่อนที่จะเสด็จไปอังกฤษ ในหลวงจึงทำหนังสือมอบให้เอาเงินที่สะสมไว้นั้นมาทดแทนกับจำนวนที่จะทรงเบิกเงินแผ่นดินที่มีอยู่ในเมืองนอกเป็นการชดเชยกัน... ที่ในหลวงต้องทรงทำเช่นนั้นก็เพราะไม่ทราบว่าจะต้องประทับอยู่นานเท่าใด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปเยือนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 9 ประเทศ เพื่อทรงเจริญพระราชไมตรี ศึกษารูปแบบการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ สังเกตการณ์สถานการณ์ในยุโรปซึ่งกำลังเปลี่ยนแปร และทรงรับการรักษาพระเนตรซ้ายอีกครั้ง ณ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศส อิตาลี และสำนักวาติกันแล้ว จึงเสด็จฯไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษเพื่อรับการรักษาทนต์และพระเนตรในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พุทธศักราช 2477 แล้วจึงเสด็จพระราชดำเน...

จุดเริ่มต้นของความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างหญิงกับชายในสมัยรัชกาลที่ 7

เนตรนารีวัฒนาวิทยาลัยที่สืบเนื่องมาจากวังหลัง เป็นนักเรียนระหว่างชั้นมัธยม 3-7 พ.ศ. 2463 (ภาพจาก นิตยสารวัฒนาวิทยาลัย) ในช่วงต้นของรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั้น ความเสมอภาคทางสังคมระหว่างหญิงกับชายยังไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน เช่น กว่าที่สตรีสยามจะได้ไปเรียนต่อต่างประเทศนั้น มีความเป็นมาที่ยากลำบากเพียงไร พบจากพระราชบันทึกของรัชกาลที่ 7 เรื่องของการที่หม่อมเจ้าผู้หญิงจะออกไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น รัชกาลที่ 7 ทรงให้ความสนพระทัยมากในเรื่องการดำรงรักษาพระเกียรติยศ ดังพระราชบันทึก “ความเห็นของข้าพเจ้าในเรื่องหม่อมเจ้าหญิงทูลลาไปเล่าเรียนในต่างประเทศ” มีใจความสำคัญว่า ไม่ทรงขัดข้องหากหม่อมเจ้าหญิงจะไปต่างประเทศพร้อมกับญาติผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา หรือพี่ชายที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งพาครอบครัวไปด้วยตลอดจนญาติสนิท แต่ไม่ทรงเห็นด้วยหากจะไปอยู่ตามลำพัง เนื่องจากเหตุผลที่สะท้อนถึงจารีตของไทยหรือแม้แต่ค่านิยมในประเทศตะวันตกต่างให้ความสำคัญเรื่องการรักษาเกียรติยศเป็นอย่างยิ่ง ความว่า “ 1. ในชั้นต้นข้าพเจ้าสงสัยเสียแล้วว่า การที่ให้หม่อมเจ้า...