เนตรนารีวัฒนาวิทยาลัยที่สืบเนื่องมาจากวังหลัง เป็นนักเรียนระหว่างชั้นมัธยม 3-7 พ.ศ. 2463 (ภาพจาก นิตยสารวัฒนาวิทยาลัย)
ในช่วงต้นของรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั้น
ความเสมอภาคทางสังคมระหว่างหญิงกับชายยังไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน เช่น
กว่าที่สตรีสยามจะได้ไปเรียนต่อต่างประเทศนั้น มีความเป็นมาที่ยากลำบากเพียงไร
พบจากพระราชบันทึกของรัชกาลที่ 7
เรื่องของการที่หม่อมเจ้าผู้หญิงจะออกไปศึกษาต่อต่างประเทศนั้น รัชกาลที่ 7
ทรงให้ความสนพระทัยมากในเรื่องการดำรงรักษาพระเกียรติยศ ดังพระราชบันทึก
“ความเห็นของข้าพเจ้าในเรื่องหม่อมเจ้าหญิงทูลลาไปเล่าเรียนในต่างประเทศ”
มีใจความสำคัญว่า ไม่ทรงขัดข้องหากหม่อมเจ้าหญิงจะไปต่างประเทศพร้อมกับญาติผู้ใหญ่
เช่น บิดา มารดา หรือพี่ชายที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งพาครอบครัวไปด้วยตลอดจนญาติสนิท
แต่ไม่ทรงเห็นด้วยหากจะไปอยู่ตามลำพัง
เนื่องจากเหตุผลที่สะท้อนถึงจารีตของไทยหรือแม้แต่ค่านิยมในประเทศตะวันตกต่างให้ความสำคัญเรื่องการรักษาเกียรติยศเป็นอย่างยิ่ง
ความว่า
“ 1. ในชั้นต้นข้าพเจ้าสงสัยเสียแล้วว่า
การที่ให้หม่อมเจ้าผู้หญิงไปเล่าเรียนที่ต่างประเทศนั้น
จะทำให้หม่อมเจ้าหญิงผู้นั้นมีความสุขสบายมากกว่าไม่ได้ไปหรือ
การไปอยู่ต่างประเทศนั้นมัก ไปอยู่อย่างสามัญ ได้สมาคมกับคนทุกชั้นฐานกันเอง
ได้เที่ยวสนุกสนานต่าง ๆ อย่างที่เรียกว่า “free” ครั้นกลับเข้ามาเมืองไทยจะ“free”
อย่างนั้นหาได้ไม่ ถ้าหาสามีไม่ได้ก็ต้องอยู่ในที่บีบ คั้นพอใช้
วิชาที่เรียนมาก็จะใช้ได้แต่บางอย่าง เช่น เลี้ยงเด็ก เป็นครู และการพยาบาล...
2. ผู้หญิงนั้นตามธรรมดาผู้มีตระกูลเขาย่อมสงวนอยู่บ้าง
เขาไม่ยอมให้ไปคลุกคลีกับคนทุก ชั้น ยิ่งเจ้าหญิงของประเทศต่าง ๆแล้ว
ไม่เคยเห็นเลยที่เขาจะไม่สงวนเกียรติยศตามสมควร
ไม่เห็นเขาปล่อยให้เที่ยววิ่งหลกๆเข้ามหาวิทยาลัยโน้นนี้อย่างไร
เขามักให้เรียนในบ้าน และอยู่ ในความดูแลของญาติพี่น้องอย่างกวดขัน
นี่หม่อมเจ้าผู้หญิงของเราก็ไปอยู่อย่างเลวๆเที่ยววิ่ง หลกๆไปตามเรื่อง
ข้าพเจ้าเห็นเป็นการเสียพระเกียรติยศ...”
แม้ว่าปัจจุบันการเรียนแบบสหศึกษาเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่เมื่อย้อนกลับไปในอดีต
นักเรียนชายหญิงเรียนรวมกันเฉพาะในชั้นเด็กเล็กเท่านั้น
ระบบสหศึกษาของประเทศสยามเพิ่งเริ่มขึ้นในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปีพุทธศักราช 2470 โดยหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี
คณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
และทรงเป็นคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ในขณะนั้น
ทรงมีความเห็นให้รับนักเรียนหญิงที่จบการศึกษาม.8 แผนกวิทยาศาสตร์
เข้าเรียนแพทย์ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้ ในระยะแรกไม่มีผู้เห็นด้วย
เพราะกลัวจะเกิดเรื่องเสื่อมเสียไม่ดีงามขึ้น
ผู้สนับสนุนมีเพียงสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรม
ขุนสงขลานครินทร์เท่านั้น
ดังข้อความในจดหมายที่ทรงมีโต้ตอบกันความว่า
“...การรับผู้หญิงเข้าโรงเรียนแพทย์นั้น interest ฉันมาก
เพราะเป็นความตั้งใจไว้ว่าถ้ามี โอกาสอยากจะลอง แต่ฉันเองไม่ได้นึกว่าจะได้เห็น
เธอเก่งมาก สิ่งไรทั้งหมดต้องลองจึงจะรู้ว่า ทำได้หรือไม่ ...”
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกในรัชกาลที่ 9
ทรงพอพระทัยในการที่หม่อมเจ้าพูนศรีเกษมทรงรับผู้หญิงเข้าเป็นนักเรียนแพทย์
ทูลกระหม่อมฯทรงตั้งพระทัยไว้ว่าถ้ามีโอกาสก็จะทรงลองรับผู้หญิงเข้าเป็นนักเรียนแพทย์
เพราะไม่แน่พระทัยว่าจะได้เห็น
เพราะว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยยังไม่อยากให้ผู้หญิงออกมาได้รับการศึกษาเท่าเทียมกับผู้ชาย
อาจจะกล่าวได้ว่า ห้วงเวลานั้นเป็นที่ตำหนิติเตียนกันมาก
การที่หม่อมเจ้าพูนศรีเกษมกล้าทำและกล้าเสี่ยงต่อการพลิกขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยเท่ากับเป็นการพลิกประวัติศาสตร์
พระบรมราชชนกนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในเรื่องการเรียนการสอน
เพราะนักเรียนมัธยมศึกษาแต่เดิมนั้นสอนให้ท่องขึ้นใจมากกว่าการใช้เหตุผล
หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรีนั้นทรงเป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงการวางรากฐาน
การแพทย์ของคณะแพทย์และศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
เพราะหม่อมเจ้าพูนศรีเกษมทรงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะใช้หมอผู้หญิงเพื่อรักษาโรคของสตรีเอง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ บิดาแห่งแพทย์แผนไทยประยุกต์
รุ่นบุกเบิกของไทยได้บันทึกไว้เช่นกันว่า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สมเด็จพระราชบิดา
เจ้าฟ้ามหิดล ทรงเจรจากับมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation
มูลนิธินี้ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2456
เพื่อให้การสนับสนุนด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทั่วโลก)
ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงกิจการแพทย์ของโรงเรียนแพทย์ ขณะนั้นหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม
เกษมศรีทรงดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ในระยะนี้ทรงประกอบพระกรณียกิจสำคัญ คือ
ทรงริเริ่มการสหศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยทรงรับสตรีเข้าเป็นนิสิตเตรียมแพทย์
จำนวน 7 คน ช่วงต้นปีการศึกษา 2470 ทั้ง ๆ ที่มีความขัดแย้งและคัดค้านจากรอบด้าน
ตลอดจนเจ้านายฝ่ายในว่าจะเกิดความเสียหายขึ้น
แต่ทรงอุตสาหะคัดเลือกผู้สมัครจากตระกูลที่ดีและมีประวัติดี
และทรงเอาพระทัยใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ระยะแรกหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม
เกษมศรีถึงกับให้หม่อมเจ้าหญิงศุขศรีสมร เกษมศรี พระชายา
ปลอมพระองค์เป็นนิสิตไปเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่อรายงานเหตุการณ์ในห้องเรียน
ปรากฏว่านิสิตชายหญิงเรียนด้วยกันเป็นปกติดีไม่มีเรื่องเสื่อมเสียใด ๆ ดังนั้น
สหศึกษาในสังคมไทยจึงเกิดขึ้น และทำให้สตรีไทยได้สิทธิในการศึกษาเท่ากับผู้ชาย
นิสิตหญิงรุ่นแรก 7 คน เป็นหม่อมราชวงศ์ 2 คน
และเป็นธิดาของข้าราชการชั้นพระยาและพระ 5 คน คือ 1. หม่อมราชวงศ์ ส่งศรี เกษมศรี
2. หม่อมราชวงศ์ นันทา ทองแถม 3.นางสาวฉลอง ไกรจิตติ 4.นางสาว ชด นิธิประภา 5.
นางสาวไทยเชียง อรุณลักษณ์ 6. นางสาว เต็มดวง บุนนาค 7. นางสาวอำภา
ยุกตะนันท์ลาออกไป 2 คน เหลือ 5 คน ในที่สุดได้ศึกษาสำเร็จออกเป็นแพทย์หญิงรุ่นแรก
ในปีพ.ศ. 2475 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 3 คน คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ (เกษมศรี) อดีตหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา
เป็นสตรีคนสำคัญในเรื่องของประวัติการศึกษาและสิทธิเสมอภาคของสตรีไทย
เพราะท่านเป็นสตรีไทยรุ่นแรกที่ได้ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตในประเทศไทย
และเป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาเอก Doctor of Medicine จากประเทศเยอรมนี
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเฉิดฉลอง เนตรศิริ (พญ. ฉลอง ไกรจิตติ)
อดีตหัวหน้าภาควิชากุมาเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล แพทย์หญิงไทยเชียง
ธรรมารักษ์ (พญ. ไทยเชียง อรุณรักษ์) และอีก 2 คนในปีพ.ศ. 2476 ได้แก่ แพทย์หญิงชด
นิธิประภา และแพทย์หญิง ม.ร.ว.นันทา ชูติกร (ทองแถม) ทั้งนี้
นับเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงและผู้ชายได้รับความเสมอภาคทางการศึกษาให้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาตรี
คณะแพทย์ศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกรณีของการทำให้สตรีมีโอกาสศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
คือ พ.ศ. 2470 โดยหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี
ทรงสนับสนุนสตรีที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จำนวน 7 คน
ให้เข้าเรียนต่อในชั้นเตรียมแพทย์ ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตหญิงเข้าเรียนเตรียมแพทย์พร้อมชาย เมื่อ พ.ศ. 2470
และปรับปรุงโครงการศึกษาของชาติในทุกระดับทั้งชายและหญิงได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468 : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น