ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศเชคโกสโลวาเกียและความหมาย“The Order of the White Lion”

>1. ประวัติความเป็นมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “Order of the White Lion” ได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2465 มีทั้งหมด 5 ชั้น (classes) และแบ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพลเรือน (Civil Division) และทหาร (Millitary Division)การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละครั้งจะมีการบันทึกหมายเลข (Inventory) เอาไว้ ซึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ลำดับที่ B 41634021 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 เดิมการสถาปนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 มีกฎหมายกำหนดให้ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ White Lion ให้รัฐบาลเช็กเมื่อผู้รับเสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม ต่อมาเมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอีกหลายครั้ง ในปัจจุบันกำหนดให้มีการส่งคืนเมื่อผู้รับชาวเช็กเสียชีวิต ขณะที่ผู้รับต่างชาติต้องส่งคืนเมื่อไม่มีผู้สืบทอดในครอบครัวแล้ว สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “White Lion” ที่มีการมอบระหว่างปี พ.ศ. 2473-2533 ไม่จำเป็นต้องส่งคืนประธานาธิบดีเชคโกสโลวาเกียจะมอบ Order of the White Lion ให้กับชาวเช็กและชาวต่างชาติที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศเชคโกสโลวาเกีย
2. ลักษณะและความหมาย เครื่อราชอิสริยาภรณ์ “Order of the White Lion” ชั้นที่หนึ่ง ประกอบด้วย
1.จี้ (badge) ในปัจจุบันรูปแบบของจี้เป็นรูปดาวมีห้าแฉกสีแดงโกเมน โดยแต่ละแฉกเชื่อมต่อกันด้วยใบไม้ สีทอง และมีสิงโตสีเงินสองหางสวมมงกุฎตรงกลางจี้ ส่วนด้านหลังของจี้ตรงกลางเป็นตราอาร์มของสาธารณรัฐเช็ก ล้อมในวงกลมสีทองที่สลักคำว่า “ Pravda Vitezi” แปลว่า “ Truth Shall Prevail” ด้านบนของตัวจี้มีตัวเชื่อมต่อกับสายสะพายเป็นหรีดรูปใบไม้มีใบปาล์มสองช่อวางขวางกันสำหรับพลเรือน หรือมีดาบสองเล่มวางขวางกันสำหรับทหาร 2.สายสะพาย (ribbon saah) สลับสีแดงขาว และขาวแดงสำหรับสวมพาดจากไหล่ขวามาสะโพกซ้าย 3. ดารา (star) รูปดาวแปดแฉกสีเงิน ตรงกลางมีรูปสิงโตสีเงินสองหางสวมมงกุฎตรงกลางดาราอยู่ในวงกลมสีแดงโกเมนล้อมด้วยวงกลมพร้อมสลักอักษรสีเงิน คำว่า “ Pravda Vitezil” สลับกับใบไม้สีเงิน สำหรับติดอกด้านซ้าย 4. สังวาลคล้องคอ (collar chain) เป็นสายคล้องไหล่สองข้างสำหรับห้อยจี้ โดยเป็นห่วงเชื่อมต่อกันด้วยโซ่สีเงิน ตัวเชื่อมตรงกลางของสังวาลเป็น “monogram” ตัวอักษรย่อ CR คือ Ceska repubika แปลว่า สาธารณรัฐเช็ก แต่ในสมัยก่อน คือ CSR คือ Ceskoslovenska repubika แปลว่า สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกีย และตัวเชื่อมอื่นเป็นรูปสิงโตสีเงินพร้อมสลักตัวอักษร ทั้งนี้จะมอบให้กับบุคคลสำคัญระดับประเทศเท่านั้น ผลงานการวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเชก ระบุเรื่อง พระมหากษัตริย์แห่งสยามเสด็จประพาสเชคโกสโลวาเกียไว้อย่างละเอียดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จเยือนประเทศเชคโกสโลวาเกีย (ในส่วนที่เป็นสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน) ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2477 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2477 โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ที่โรงแรม Hotel Alcron ซึ่งเป็นโรงแรมที่ประทับในกรุงปราก นาย Presyl Samal หัวหน้าสำนักงานประธานาธิบดีเชคโกสโลวาเกีย ผู้แทนนาย Tomas Guerrigue Masaryk ประธานาธิบดีเชคโกสโลวาเกียซึ่งชรามากไม่สบายอยู่ และไม่สามารถมาเข้าเฝ้าฯ ได้ทูลเกล้าฯถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ White Lion ชั้นที่หนึ่ง แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกชั้นมหาปรมาภรณ์แก่ประธานาธิบดี T.G. Massaryk เป็นการตอบแทน พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์และพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในกรอบเงิน ซึ่งได้ลงพระปรมาภิไธยแก่นาย T.G. Massaryk ด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the White Lion พร้อมสายสะพายนับว่าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศเชคโกสโลวาเกีย สอดคล้องกับหลักฐาน ในเอกสารจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2476-2477 ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รวบรวมโดยพลโทพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรา “สิงห์เผือก” ประธานาธิบดีเชคโกสโลวาเกียจะมอบ Order of the White Lion ให้กับชาวเช็ก และชาวต่างชาติที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2465 มีทั้งหมด 5 ชั้น (classes) และแบ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพลเรือน (Civil Division) และทหาร (Millitary Division)การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละครั้งจะมีการบันทึกหมายเลข (Inventory) เอาไว้ ซึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ลำดับที่ B 41634021 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “Order of the White Lion” ชั้นที่หนึ่ง ประกอบด้วย 1.จี้ (badge) ในปัจจุบันรูปแบบของจี้เป็นรูปดาวมีห้าแฉกสีแดงโกเมน โดยแต่ละแฉกเชื่อมต่อกันด้วยใบไม้ สีทอง และมีสิงโตสีเงินสองหางสวมมงกุฎตรงกลางจี้ ส่วนด้านหลังของจี้ตรงกลางเป็นตราอาร์มของสาธารณรัฐเช็ก ล้อมในวงกลมสีทองที่สลักคำว่า “ Pravda Vitezi” แปลว่า “ Truth Shall Prevail” ด้านบนของตัวจี้มีตัวเชื่อมต่อกับสายสะพายเป็นหรีดรูปใบไม้มีใบปาล์มสองช่อวางขวางกันสำหรับพลเรือน หรือมีดาบสองเล่มวางขวางกันสำหรับทหาร 2.สายสะพาย (ribbon saah) สลับสีแดงขาว และขาวแดงสำหรับสวมพาดจากไหล่ขวามาสะโพกซ้าย 3. ดารา (star) รูปดาวแปดแฉกสีเงิน ตรงกลางมีรูปสิงโตสีเงินสองหางสวมมงกุฎตรงกลางดาราอยู่ในวงกลมสีแดงโกเมนล้อมด้วยวงกลมพร้อมสลักอักษรสีเงิน คำว่า “ Pravda Vitezil” สลับกับใบไม้สีเงิน สำหรับติดอกด้านซ้าย 4. สังวาลคล้องคอ (collar chain) เป็นสายคล้องไหล่สองข้างสำหรับห้อยจี้ โดยเป็นห่วงเชื่อมต่อกันด้วยโซ่สีเงิน ตัวเชื่อมตรงกลางของสังวาลเป็น “monogram” ตัวอักษรย่อ CR คือ Ceska repubika แปลว่า สาธารณรัฐเช็ก แต่ในสมัยก่อน คือ CSR คือ Ceskoslovenska repubika แปลว่า สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกีย และตัวเชื่อมอื่นเป็นรูปสิงโตสีเงินพร้อมสลักตัวอักษร ทั้งนี้จะมอบให้กับบุคคลระดับประเทศเท่านั้น เดิมการสถาปนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 มีกฎหมายกำหนดให้ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ White Lion ให้รัฐบาลเช็ก เมื่อผู้รับเสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม ต่อมาเมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอีกหลายครั้ง ในปัจจุบันกำหนดให้มีการส่งคืนเมื่อผู้รับชาวเช็กเสียชีวิต ขณะที่ผู้รับต่างชาติต้องส่งคืนเมื่อไม่มีผู้สืบทอดในครอบครัวแล้ว สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “White Lion” ที่มีการมอบระหว่างปี พ.ศ. 2473-2533 ไม่จำเป็นต้องส่งคืน จากการศึกษาพบว่าการเสด็จเยือนประเทศเชคโกสโลวาเกียของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ.2477 นับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญทางความสัมพันธ์ทางการทูตเหตุการณ์หนึ่งของประเทศเชคโกสโลวาเกีย นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในพ.ศ. 2461 และในวันที่ 28 ตุลาคมของปีเดียวกัน สาธารณรัฐเชคโกสโลวาเกียก็ประกาศเอกราชแยกตัวจากราชอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี รัฐเกิดใหม่นี้ได้เริ่มมีการสานสัมพันธ์ทางการทูตกับสยามประเทศ แต่ยังมิได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตระหว่างกัน ดังนั้นการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยือนประเทศเชคโกสโลวาเกียในครั้งนี้จึงนับเป็นการริเริ่มการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสยามประเทศ และเชคโกสโลวาเกียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปล...

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที...