ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

โพสต์แนะนำ

กลุ่มนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย(ระหว่างทศวรรษ 2460-2470)

นักเขียนในสังคมไทยก่อนทศวรรษ 2470 ส่วนใหญ่มักเป็นนักเขียนชาย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนักเขียนที่ทำหน้าที่ตัวแทนความคิดระหว่างสายอนุรักษ์นิยมและสายก้าวหน้า ดังนี้ 1. ชาติและชาตินิยมในพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 อันที่จริงแล้วรัชกาลที่ 6 ทรงพัฒนาแนวคิดเรื่องชาติและชาตินิยมจากช่วงครึ่งหลังในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสามารถสถาปนารัฐและระบบ บริหารรวมศูนย์ ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกำหนดเป้าหมายประเทศร่วมกัน คือ สร้างความเจริญให้ประเทศก้าวขึ้นสู่เวทีโลก และยังนำแนวคิดนี้มาเป็นหลักการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศให้เป็น “สากล” ด้วยบริบทที่ยังคงเป็นท้องถิ่น นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังกำหนดแกนเรื่องสำหรับการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้วยการรณรงค์แนวคิดเรื่อง “ความสามัคคี” เพื่อสร้างเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผ่านบทพระราชนิพนธ์ประวัติศาสตร์ อย่างกรณีเรื่อง “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในราชจักรีวงศ์สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ทรงเป็นกษัตริย์เปี่ยมด้วยรสนิยม สนพระทัยวรรณกรร...
โพสต์ล่าสุด

หน้าที่พลเมืองในสมัยรัชกาลที่ 7

พลเมือง คือ บุคคลผู้เป็นกำลังของบ้านเมืองและของชาติ เพราะฉะนั้นคนทุกคนควรประพฤติตนให้สมกับที่ตนเป็นพลเมือง คือ ทำตนให้เป็นพลเมืองดี ประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองเพื่อให้ชาติและประเทศของตนรุ่งเรืองและมั่นคง สามารถดำรงอิสรภาพไว้ได้เสมอไป ถ้าผู้ใดไม่ประพฤติตนให้สมกับที่เป็นพลเมือง กล่าวคือ มีความประพฤติไม่เป็นไปเพื่อให้กำลังแก่ประเทศและชาติของตน หรือยิ่งกว่านี้กลับเป็นเพื่อประทุษร้ายอีกด้วย ผู้นั้นนับว่าเป็นเลวทรามยิ่งนัก จัดว่าเป็นเสนียดของประเทศชาติ เพราะฉะนั้นคนทุกคนพึงทำตนให้เป็นพลเมืองดี คือ ประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามที่ได้เลือกสรรเฉพาะข้อที่สำคัญนำมาแสดงไว้พอเป็นทางศึกษาและปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ก. ต้องเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพของตนโดยชอบธรรม ธรรมดาคนทั้งหลายย่อมดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร เหตุฉะนั้นเกิดมาเป็นคนจึงจำเป็นต้องแสวงหาอาหาร เพื่อความดำรงอยู่แห่งชีวิต แต่การแสวงหาอาหารนั้น ย่อมต่างกันตามความสามารถของบุคคล ถ้าเป็นผู้มีสติปัญญาก็ย่อมหาได้โดยสะดวกง่ายดาย ถ้าเป็นผู้โง่เขลาก็ย่อมติดขัดขาดแคลนไม่บริบูรณ์เหมือนกับผู้มีสติปัญญา แต่จะเป็นคนโง่ห...

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี : พระคู่ขวัญองค์ประชาธิปกในต่างแดน

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในทุกครั้ง จะมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยเสด็จเคียงพระองค์ด้วยเสมอ การเสด็จเยือนดินแดนแห่งแรกของทั้งสองพระองค์ คือ สิงคโปร์ เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตามด้วยเกาะชวา และเกาะบาหลีที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2472 แห่งที่สองคือ อินโดจีนอาณานิคมของฝรั่งเศสเฉพาะ เวียดนามและกัมพูชา ในปีพ.ศ. 2473 และแห่งที่สามคือ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปีพ.ศ. 2474 และครั้งที่สี่ คือการเสด็จประพาสยุโรปในพ.ศ. 2476-2477 เกร็ดประวัติศาสตร์จากหนังสือพิมพ์ที่ผู้เขียนจะเล่าสู่กันฟัง คือจากการเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกา แคนาดาและญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2473 ถึง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เป็นเวลานานถึง 7 เดือน ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 27 พรรษาเท่านั้น นักหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ (New York Times) ชื่อ นายแฮโรลด์ เอ็น. เดนนี (Harold N. Dennys กล่าวถึงพระองค์พระอิริยาบถของพระองค์ไว้ว่า “ทรงมีพระอิริยาบถที่งามสง่าแฝงไว้ด้วยความเอียงอายในที ฉลองพระ...

“นิตยสารสตรี”สมัยรัชกาลที่ 7

สังคมและวัฒนธรรมของไทยในอดีตนั้น ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความคิดทางการเมืองการปกครองมิได้เปิดโอกาสให้สตรีเข้ามามีบทบาทได้เท่าเทียมบุรุษ ดังนั้นสตรีไทยส่วนใหญ่จึงไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองและบทบาทโดยตรง หากแต่สตรีนั้นมีบทบาทหน้าที่เป็นแม่บ้านการเรือน จนหยั่งรากลึกกลายเป็นวัฒนธรรมที่พึงปฏิบัติของกุลสตรีไทย สถานภาพและบทบาทของสตรีไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป หลังจากการเข้ามาของชาติตะวันตก กล่าวคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้บรรดาหมอสอนศาสนาชาวตะวันตกเข้าไปสอนหนังสือให้แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงอนุญาตให้พวกเขาเปิดโรงเรียนสอนสตรีสามัญทั้งในพระนครและนอกพระนครได้ อีกทั้งพระองค์ยังทรงปฏิรูปกฎหมาย ทำให้มีการตีพิมพ์นิตยสารสตรีมากถึง 18 ฉบับ ในสมัยรัชกาลที่ 7 “สตรีไทย” นิตยสารสตรีฉบับหนึ่งที่ดำเนินงานตามหลักการเริ่มแรกได้อย่างต่อเนื่องช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ 7 สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของกฎหมายการสมรสเวลานั้น แม้ว่าข้อมูลกฎ...

ประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศเชคโกสโลวาเกียและความหมาย“The Order of the White Lion”

>1. ประวัติความเป็นมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “Order of the White Lion” ได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2465 มีทั้งหมด 5 ชั้น (classes) และแบ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพลเรือน (Civil Division) และทหาร (Millitary Division)การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละครั้งจะมีการบันทึกหมายเลข (Inventory) เอาไว้ ซึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ลำดับที่ B 41634021 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 เดิมการสถาปนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 มีกฎหมายกำหนดให้ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ White Lion ให้รัฐบาลเช็กเมื่อผู้รับเสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม ต่อมาเมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอีกหลายครั้ง ในปัจจุบันกำหนดให้มีการส่งคืนเมื่อผู้รับชาวเช็กเสียชีวิต ขณะที่ผู้รับต่างชาติต้องส่งคืนเมื่อไม่มีผู้สืบทอดในครอบครัวแล้ว สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “White Lion” ที่มีการมอบระหว่างปี พ.ศ. 2473-2533 ไม่จำเป็นต้องส่งคืนประธานาธิบดีเชคโกสโลวาเกียจะมอบ Order of the White Lion ให้กับชาวเช็กและชาวต่างชาติที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศเชคโกสโลวาเกีย 2. ลั...

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากราชอาณาจักรฮังการี ของรัชกาลที่ 7

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากราชอาณาจักรฮังการี ประกอบด้วยดวงตรา จี้ พร้อมสายสะพายสีเขียวเดินทองสีขาวและสีแดง ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2477 ขณะเสด็จเยือนประเทศในทวีปยุโรป ประวัติ รูปลักษณะ และนัยสำคัญ 1. ประวัติความเป็นมา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล เดอะ ฮังกาเรียน ครอส ออฟ เมริต “The Cross of Merit Order of the Kingdom of Hungary” เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ครอส ออฟ เมริต” ในภาษาอังกฤษ หรือในภาษาฝรั่งเศส “ครัว เดอ เมริต” (Le Croix de Merite) ชั้นสูงสุด สายสะพายพื้นสีเขียวเดินทองสีขาวและสีแดง ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยฯพณฯนายพลเรือโทมิคลอส ฮอร์ธีย์ (Miklos Horthy) (Vice Admiral ) “ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน” หรืออาจใช้ว่า “ผู้รักษาพระนคร” ( The Honthy Era ค.ศ.1920-1944) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ถูกสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) ซึ่งขณะนั้นประเทศฮังการีถือว่าเป็นราชอาณาจักร (Kingdom) แม้ว่าจะยังไม่ได้ตกลงว่าจะเชิญเจ้านายพระองค์ใดเป็นพระมหากษัตริย์จากนั้นฮอร์ธีย์ มิคลอส ก็ได้ออกคำสั่งให้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลเดอะ...

“สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

หนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ในที่นี้ผู้เขียนขอศึกษา 3 ประเด็นคือ 1. การใช้ข้อมูลเรียบเรียง 2. เนื้อหาเชิงวิเคราะห์และ 3. บทวิเคราะห์ภาพรวม การใช้ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” เป็นการนำเนื้อหาจากต้นฉบับพิมพ์ดีด ภาคสอง ส่วนที่ 1 หน้า 1 – 349 จัดแบ่งเป็น 2 บทคือ บทที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และ บทที่ 2 ออกจากกรุงเทพฯ หนังสือฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ปรากฏลายหัตถ์พระนามและปีศักราชที่เชื่อว่าทรงเขียนตอนนี้เสร็จคือปี พ.ศ. 2498 นั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาทั้ง 2 บท ค่อนข้างแน่ชัดว่าข้อมูลหลักที่ทรงใช้เขียนคือบันทึกประจำวันซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478 เป็นบันทึกของพระองค์เองกับบันทึกของพระภคินีหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุคุณาวรรณ ดิศกุล ทรงเรียก “หญิงเหลือ” มีความระบุว่า “ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะเล่าตามไดอารีบางวัน” ซึ่งหมายถึงบันทึกส่วนพระองค์ และยังทรง “ขอให้หญิงเหลือทำบันทึกเรื่องราว ตั้งแต่ 24 มิถุนายน จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม” ซึ่งเป็...