พลเมือง คือ บุคคลผู้เป็นกำลังของบ้านเมืองและของชาติ
เพราะฉะนั้นคนทุกคนควรประพฤติตนให้สมกับที่ตนเป็นพลเมือง
คือ ทำตนให้เป็นพลเมืองดี
ประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองเพื่อให้ชาติและประเทศของตนรุ่งเรืองและมั่นคง
สามารถดำรงอิสรภาพไว้ได้เสมอไป ถ้าผู้ใดไม่ประพฤติตนให้สมกับที่เป็นพลเมือง
กล่าวคือ มีความประพฤติไม่เป็นไปเพื่อให้กำลังแก่ประเทศและชาติของตน
หรือยิ่งกว่านี้กลับเป็นเพื่อประทุษร้ายอีกด้วย ผู้นั้นนับว่าเป็นเลวทรามยิ่งนัก
จัดว่าเป็นเสนียดของประเทศชาติ เพราะฉะนั้นคนทุกคนพึงทำตนให้เป็นพลเมืองดี
คือ
ประกอบกิจอันเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามที่ได้เลือกสรรเฉพาะข้อที่สำคัญนำมาแสดงไว้พอเป็นทางศึกษาและปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
ก. ต้องเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพของตนโดยชอบธรรม
ธรรมดาคนทั้งหลายย่อมดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร
เหตุฉะนั้นเกิดมาเป็นคนจึงจำเป็นต้องแสวงหาอาหาร เพื่อความดำรงอยู่แห่งชีวิต
แต่การแสวงหาอาหารนั้น ย่อมต่างกันตามความสามารถของบุคคล
ถ้าเป็นผู้มีสติปัญญาก็ย่อมหาได้โดยสะดวกง่ายดาย
ถ้าเป็นผู้โง่เขลาก็ย่อมติดขัดขาดแคลนไม่บริบูรณ์เหมือนกับผู้มีสติปัญญา
แต่จะเป็นคนโง่หรือคนฉลาดก็ตาม ก็ต้องอาศัยความเพียรไม่เกียจคร้าน
ขยันทำกิจการด้วยกันทั้งนั้นจึงจะได้ผลที่มุ่งหมาย
แต่ความเพียรที่จะหาเครื่องเลี้ยงชีพนั้นต้องให้เป็นไปในทางที่ชอบ ซึ่งเรียกว่า
“สัมมาอาชีวะ” ทรัพย์ที่ได้มาจึงให้ประโยชน์สุขแก่เจ้าของจริง
ตั้งต้นแต่ให้ความอิ่มใจว่าทรัพย์นี้ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมเป็นของบริสุทธิ์ดีไม่มีโทษ
ทรัพย์ของตนมีไม่ต้องเป็นหนี้เขา ได้ใช้จ่ายบริโภค และเป็นกำลังทำความดีความงาม
การแสวงหาทรัพย์ในทางผิด ย่อมยังความเดือดร้อนให้เกิดแก่ตน ทั้งแก่ผู้อื่น เช่น
ประพฤติตนเป็นคนเล่นการพนัน ครั้นเสียไม่มีทุนจะแก้ตัว
ไม่มีทรัพย์ใช้สอยจับจ่ายก็พยายามลักขโมยฉ้อโกง
เบียดเบียนคนอื่นให้ได้ความเดือดร้อน ตนเองเล่าก็ได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน
เพราะเมื่อประพฤติเช่นนั้นก็ต้องปกปิดซ่อนเร้น บางทีต้องทำความผิดเพิ่มขึ้นอีก
ครั้นเขาจับได้ต้องรับอาญาแผ่นดินนี้มีมูลมาแต่ไม่มีความเพียรหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบตามสติปัญญาของตนนั้นเองจึงต้องขาดแคลนยากจน
ได้รับความทุกข์มีประการต่าง ๆไม่เทียมหน้าคนอื่นที่เป็นพลเมืองด้วยกัน
มีแต่จะทำให้เพื่อนร่วมชาติของตนเดือดร้อนถ่ายเดียว
นับว่าเป็นผู้ที่บกพร่องไม่ทำหน้าที่ของพลเมืองดี ข.
ต้องไม่ทำการเบียดเบียนคนผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือแม้คิดด้วยใจ
ผู้ที่ทำให้คนอื่นเสียหายแต่ตนได้ประโยชน์นั้น นับว่าเป็นผู้เลวทรามยิ่งนัก
บุคคลชนิดนี้จะอยู่ในคณะใดชาติใดก็ดี ย่อมเป็นที่รังเกียจของคณะนั้นและชาตินั้น
เพราะเป็นผู้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ผู้ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนนั้น
ตนเองก็ต้องเดือดร้อนด้วย เช่น ผู้คิดอาฆาตจองเวรทำร้ายคนอื่น
ตนเองก็ต้องคอยระวังตัวกลัวคนอื่นเขาจะทำร้ายตอบ
ต้องกระวนกระวายระแวงภัยอยู่เสมอไม่มีสุข
ส่วนผู้ที่ไม่ทำอะไรให้ใครเดือดร้อนก็ไม่ต้องวิตกกลัวภัยอะไรเลย
ย่อมอยู่เป็นสุขสำราญ ผู้ที่เป็นพลเมืองทุกคน ควรประพฤติตนให้เป็นพลเมืองดี
ไม่ทำให้ตนและเพื่อนพลเมืองด้วยกันเดือดร้อน ค.
ต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนา
ที่เป็นหลักจรรยาของประเทศบ้านเมืองที่ตนเป็นพลเมืองอยู่นั้นโดยเคร่งครัด
ที่เป็นหลักจรรยาของประเทศบ้านเมืองที่ตนเป็นพลเมืองอยู่นั้นโดยเคร่งครัด
ธรรมดาคนที่เกิดมาย่อมอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ
เมื่อเป็นหมู่เป็นคณะก็จำเป็นจะต้องมีหลักความประพฤติที่จะต้องทำให้ถูกตามทำนองคลองธรรมเพื่อให้เกิดสุขสำราญจะต่างคนต่างประพฤติเอาแต่ใจของตนเองเป็นประมาณไม่ได้
เพราะฉะนั้นชาติที่เจริญแล้วทั้งหลายในโลก
จึงต้องมีศาสนาเป็นคู่บ้านคู่เมืองเพราะศาสนาเป็นหลักแห่งความประพฤติของคนสำหรับดำเนินไปสู่ความสุขความเจริญด้วยกัน
ถ้าต่างครนต่างประพฤติไม่ถือหลักธรรมในทางศาสนาเป็นเกณฑ์แล้ว ชาตินั้น
หมู่นั้นก็ย่อมเสื่อมไม่มีความเจริญ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่น นักเรียน
เมื่อโกรธใครขึ้นมาหรือมีจิตอาฆาตมุ่งร้ายต่อใคร ๆ
ถ้าจะประพฤติไปตามใจในขณะที่มีโทสะอยู่เช่นนั้น
ก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายไม่มีความสงบสุขได้
และฝ่ายผู้ที่ได้รับความเสียหายเพราะถูกทำร้ายก็จะบันดาลโทสะ ทำการแก้คันทดแทนกัน
ภัยเวรก็จะไม่มีสิ้นสุดลงได้
จะหาเวลาสงบตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหรือดำริการงานให้เป็นคุณเป็นประโยชน์ก็ไม่ได้
เป็นหนทางแห่งความเสื่อมเสียที่จะนำภัยอันตรายมาสู่ตนและคณะส่วนเดียว
เพราะฉะนั้นทุกหมู่ทุกคณะจึงต้องมีศาสนาเป็นหลักแห่งความประพฤติของคนในหมู่ในคณะ
ผู้ที่เป็นพลเมืองดีจะต้องปฏิบัติและประพฤติตนให้ดำเนินไปตามหลักศาสนาที่ตนนับถือทุกคน
ฆ. ต้องเป็นผู้ที่เชื่อฟังยำเกรงต่อพระราชกำหนดกฎหมายของประเทศบ้านเมืองทุกเมื่อ
ผู้ที่เป็นพลเมืองอยู่ในประเทศใดเมืองใด
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเชื่อฟังและประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศนั้นเมืองนั้น
เพราะกฎหมายเป็นข้อบังคับห้ามปรามความประพฤติอันชั่วร้ายของบุคคล
ที่จะทำให้ผู้อื่นและหมู่คณะเดือดร้อน
การที่ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายเป็นความประพฤติที่จะดำรงความสงบและให้เกิดความสุขสำราญ
พลเมืองที่ประพฤติฝ่าฝืนต่อกฎหมายของบ้านเมือง
ก็เพราะไม่รู้จักแสวงหาประโยชน์สุขให้แก่ตน และชาติของตนเป็นการเสื่อมเสีย
เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นพลเมืองดีจึงไม่ควรละเมิดฝ่าฝืนต่อกฎหมายของบ้านเมือง ง.
ต้องเป็นผู้มีความสัตย์ มนุษย์ทั่วไปย่อมนิยมนับถือแต่ความจริง
ไม่ชอบความเท็จผู้ใดไม่ประพฤติความจริง ผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่น
ผู้ที่เป็นพลเมืองอยู่ในประเทศ
ที่มา : แนวสอนวิชาจรรยาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก พ.ศ. 2470
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468 : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 24...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น