ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“สาสนคุณ” หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก : หนังสือดีเด่นเล่มแรกสมัยรัชกาลที่ 7


โดย ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร

      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2472 โดยพระราชทาน  " กรอบโครงและหลักเกณฑ์" ในการจัดประกวดดังนี้
“... หนังสือสำหรับสอนพระสาสนาแก่เด็ก กระบวนแต่งต้องให้เหมาะแก่อายุ ทั้งถ้อยคำและเรื่องก็ให้พอแก่ความสามารถของเด็กจะเข้าใจได้จึ่งจะสมควรแก่การ มิใช่แต่ว่าเป็นนักปราชญ์แล้วจะสามารถแต่งหนังสือเช่นนั้นได้ จึงมีพระราชดำริสั่งราชบัณฑิตสภาให้ประกาศการประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก สำหรับเลือกที่ตีพิมพ์พระราชทานในวันวิสาขบูชา โดยข้อบังคับการประกวดดังกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1 ใครๆ (นอกจากเป็นพนักงานตัดสิน) จะแต่งก็ได้ แต่กำหนดให้ส่งเข้าประกวดปีหนึ่งเพียงคนละเรื่อง
ข้อ 2 ให้ส่งหนังสือประกวดยังราชบัณฑิตยสภาในระวางพรรษกาล คือตั้งแต่วันเข้าพระวรรษาเป็นที่สุด
ข้อ 3 ขนาดหนังสือที่ส่งเข้าประกวดนั้นว่าโดยกำหนดพิมพ์ดีดในกระดาษฟุลสแคปหน้าละ 20 บรรทัดเป็นเกณฑ์ ให้มีจำนวนอยู่ในระหว่างตั้งแต่ 25 หน้าเป็นอย่างน้อยจนถึง 30 หน้า เป็นอย่างมากและฉบับที่ส่งเข้าประกวดนั้นจะพิมพ์ดีดหรือจะเขียนตัวบรรจงก็ได้
ข้อ 4 ต้องแต่งเป็นภาษาไทยและอธิบายความให้ที่เด็กขนาดอายุ 10 ขวบ อ่านเข้าใจความได้
ข้อ 5 เรื่องแต่งให้เป็นการสอนพระพุทธสาสนาตามหลักในพระไตรปิฎก และมิให้กล่าวอธิบายความย่ำยีสาสนาอื่น...”
     ในครั้งแรกนั้นมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 24 ราย แบ่งเป็น พระภิกษุ 5 รูป บุคคลทั่วไปชาย 16 คน และบุคคลทั่วไปหญิง 3 คน หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเล่มแรกที่ได้รับคัดเลือกให้พระราชทานรางวัลที่ 1 คือ หนังสือสำนวนหมายเลขที่ 2 เรื่อง”สาสนคุณ” ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เนื้อหาแบ่งออกเป็น 7 บท บทที่ 1 คุณพระพุทธเจ้า บทที่ 2 คุรพระธรรม บทที่ 3 คุณพระสงฆ์ บทที่ 4 ศีลห้า บทที่ 5 คุณบุรพการี บทที่ 6 คุณของสาสนา และบทที่ 7 คุณพระมหากษัตริย์ รวมทั้งหมด 67 หน้า และยังโปรดเกล้าฯจัดพิมพ์หนังสือที่ได้รับรางวัล พระราชทานแจกในงานพระราชกุศลวิสาขบูชา ด้วยเหตุที่ทรงตระหนักถึงปัญหาความตกต่ำทางจริยศึกษา และศาสนศึกษาในหมู่เยาวชนไทยเมื่อกว่า 70 ปีมาแล้ว ดังพระราชนิพนธ์คำนำในหนังสือสอนพระพุทธศาสนาตอนหนึ่งว่า
“...การสอนเด็กต้องนับว่าบกพร่องที่สุด เมื่อก่อนนี้ยายแก่หรือพี่เลี้ยงในบ้านก็ได้พยายามสอนบ้างอย่างงูๆ ปลาๆ ครั้นมาบัดนี้ต้องนับว่ากลับซุดโซมลงไปอีก เพราะการสอนในบ้านก็เกือบจะไม่มี การสอนในวัดก็น้อยลง เพราะมีโรงเรียนอื่นๆแทนพระสอนหนังสือ ตามโรงเรียนก็หาได้สอนสาสนาอย่างจริงจังไม่ จนเด็กที่สวดมนต์ได้มีน้อยที่สุด ไหว้พระไม่เป็นก็มี...”
ภาวะวิกฤตทางจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบันมีความรุนแรงยิ่งกว่าสมัยของพระองค์หลายเท่านักทั้งผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชนต่างหมกหม่นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ห่างไกลจากพระพุทธศาสนาจนน่าเป็นห่วง สังคมไทยมีความขัดแย้งความรุนแรงทวีขึ้นมากมาย ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์แทบไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นการย้อนกลับไปพิจารณาถึงพระราชกุศลจริยาในการที่รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้เผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยการจัดพิมพ์หนังสือแจกในวันวิสาขบูชา จึงน่าจะเป็นประโยชน์
ปัจจุบันหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กเรื่อง “สาสนคุณ” มีอายุถึง 80 ปีแล้ว เป็นหนังสือที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจและทรงคุณค่า ผู้สนใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถชมนิทรรศการที่ชั้น 3 อาคารอนุรักษ์เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกวัน ตั้งแต่ เวลา 09.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันจันทร์

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั