ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มโนทัศน์เกี่ยวกับรัชกาลที่ 7 เสด็จฯทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ปัตตานี

ภาพบนแสดง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
เสด็จทอดพระเนตรค่ายนักดาราศาสตร์เยอรมัน ที่ตำบลโคกโพธิ์
จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2472





มโนทัศน์เกี่ยวกับรัชกาลที่ 7 เสด็จฯทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ปัตตานี

โดย  ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร
            การศึกษาจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7  ภาคปลาย  พบว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวเสด็จฯถึงมณฑลปัตตานีตั้งแต่ตอนเช้าของวันที่ 8 พฤษภาคม 2472  ต่อมาหลังจากเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว พระองค์ได้เสด็จฯยังสถานที่สำรวจสุริยุปราคา 3 แห่ง  แห่งแรก ได้แก่  สถานที่สำรวจของคณะดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เวลา 14.30 น.  หลังจากนั้นได้เสด็จฯทรงรถยนต์พระที่นั่งยังสถานที่สำรวจแห่งที่สอง  คือ  สถานที่สำรวจของคณะดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ณ เนินเขาควนบูซึ่งห่างจากหลังที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ในปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตร  และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟโคกโพธิ์ประมาณ 400 เมตร  สถานที่แห่งสุดท้าย คือ สถานที่สำรวจของกรมแผนที่และกรมชลประทาน  ซึ่งตั้งอยู่บนเนินโคกโพธิ์  ส่วนในวันที่เกิดปรากฏการณ์จริง  9 พฤษภาคม 2472  นั้น  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯทอดพระเนตร ณ  สถานที่สำรวจของนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าสนามของโรงเรียนประจำมณฑลปัตตานีในตัวเมือง

รัชกาลที่ 7 มิทรงเลือกที่รักมักที่ชัง
             การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเลือกประทับทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาที่ค่ายของคณะสำรวจชาวอังกฤษนั้น มีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 31ตุลาคม 2471  อธิบายไว้ดังนี้
        ...การที่จะไปดูสุริยุปราคา  คราวนี้อยากดูสถานที่  และเครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์ต่างๆด้วย  มีปัญหาว่าจะมีมากี่คณะ? และจะไปดูสุริยุปราคาที่คณะใด? ถ้ามีหลายคณะ เอาดังนี้เห็นจะได้  คือไปเยี่ยมสถานที่ทุกคณะ แต่การดูเวลาสุริยุปราคาจริงๆนั้น คงดูที่คณะที่เชิญมานี้ เพราะเชิญมาก่อนคนอื่น...
            ด้วยคณะสำรวจดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้กราบบังคมทูลเชิญมาก่อน  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงทรงเลือกทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ค่ายของคณะนั้น  ทั้งที่อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องมืออุปกรณ์การสังเกตสุริยุปราคาของคณะสำรวจดาราสาสตร์ชาวเยอรมันทันสมัยกว่าอุปกรณ์ของคณะสำรวจชาวอังกฤษก็ตาม  สะท้อนให้เห็นพระราชจริยวัตรเรื่องของการไม่เลือกที่รักมักที่ชังและความไม่ลำเอียงเห็นแต่ประโยชน์ส่วนพระองค์ 
             พระราชหัตถเลขายังสะท้อนให้เห็นถึงความสนพระราชหฤทัยส่วนพระองค์ในเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ด้วย  จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาะปก  พระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวภาคปลาย  กล่าวถึงพระราชกรณียกิจระหว่างเสด็จฯทอดพระเนตรสุริยุปราคา ดังนี้
              ...วันพฤหัสบดี 9 พฤษภาคม 2472 เวลา 13.00 น. ทรงรถยนต์พระที่นั่งเสด็จยังสถานสำรวจของนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ  ทรงพระราชดำเนินไปประทับปะรำในบริเวณนั้นเพื่อทอดพระเนตสุริยุปราคาแล้ว  ทรงรถยนต์พระที่นั่งเสด็จประพาสตามถนนในเมืองแล้วประทับสนามหลังเรือนจำ  ทอดพระเนตรการชนวัวซึ่งบ้านเมืองจัดให้มีขึ้นถวายทอดพระเนตรเวลา 15.40 น.เสด็จกลับสู่จวนที่ประทับร้อน เวลา 16.00 น. คณะลูกเสือมณฑลปัตตานีร้องเพลงถวายพระพรหน้าที่ประทับ  แล้วทรงพระราชดำเนินไปประทับเก้าอี้ที่หน้าประตุจวน  ทอดพระเนตรกระบวนแห่ซึ่งกระบวนแห่ซึ่งหัวเมืองในมณฑลนี้จัดให้มีขึ้นถวาย...เสด็จสู่ที่สรงมูรธาภิเษกสถานตามราชประเพณีที่ปัตตานีสุริยุปราคาเริ่มจับตั้งแต่เวลา12.09 น.ทางทิศหรดี เวลา13.34 น เต็มคราสเป็นเวลามืดมิดประมาณ 5 นาที เวลา 14.00 น.โมกขบริสุทธิ์ทางทิศอิสาณ...
            พระราชพิธีสรงมูรธาภิเษกเป็นธรรมเนียมแต่โบราณที่พระมหากษัตริย์จะทรงประกอบขึ้นในวันเถลิงศก  วันเฉลิมพระชนมพรรษา  และในกรณีที่มีการผลัดเปลี่ยนผู้ปกครองบ้านเมืองในวันบรมราชาภิเษก  รวมทั้งวันที่เกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคา  เนื่องจากเป็นการผลัดเปลี่ยนดวงสว่างหลังเกิดเหตุการณ์สำคัญ
               แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงได้รับการศึกษามาจากตะวันตก  ทรงสนพระทัยในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่พระองค์มิได้ทรงปฏิเสธการประกอบพระราชพิธีสรงมูรธาภิเษกบนเรือพระที่นั่งจักรีหลังได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาแล้วตามโบราณราชประเพณีในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2472 เวลา 19.20 น.
                ความสนพระราชหฤทัยในวิทยาศาสตร์ยังปรากฏต่อเนื่องในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2472 แม้การจับครสจะผ่านไปแล้ว  พระองค์ยังทรงรอศึกษาการโคจรของดวงจันทร์ร่วมกับคณะนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษที่ศาลาว่าการมณฑลปัตตานี  และคณะนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันที่โคกโพธิ์  อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นักดาราศาสตร์ทั้งสองคณะในเรือพระที่นั่งจักรี เมื่อเวลา 13.00 น.ด้วย
มโนทัศน์ของชาวโคกโพธิ์
                 กรณีสุริยุปราคาที่โคกโพธิ์แม้จะผ่านมากว่า 80 ปีแล้วก็ตามคนในท้องถิ่นยังมีมโนทัศน์เกี่ยวกับการเสด็จฯทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่โคกโพธิ์เรื่อยมา  ปรากฏหลักฐานจากรายงานการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุชาวโคกโพธิ์ของอาจารย์พิชัย แก้วขาว เรื่อง"มืดกลางวันที่โคกโพธิ์(ครบ 60 ปี)"
น่าสนใจว่าเหตุใดชาวโคกโพธิ์จึงจำการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่โคกโพธิ์ได้อย่างมิลืมเลือน  อาจเป็นไปได้พลับพลาที่ประทับ  และจวนรับเสด็จฯยังเหลืออยู่เป็นวัตถุพยานแห่งการเสด็จพระราชดำเนิน  และเรื่องเล่าขานถึงความประทับใจของผู้คนที่เฝ้ารับเสด็จฯก็เป็นได้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั