ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“เพลงไทยสากล”: การผสมผสานทางวัฒนธรรม

                                       รัชกาลที่ 7 ทรงซออู้


การแสดงละครของเจ้านายในราชสำนัก

          ประเทศไทย หรือ สยามในอดีตเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาในสังคม โดยผ่านการติดต่อการค้า ความสัมพันธ์ทางการทูต การศึกษา และวัฒนธรรมการบันเทิง ฯลฯ ในทางหนึ่ง สังคมไทยได้รับเอาวิทยาการและเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตก มาเพื่อพัฒนา ปรับปรุง และอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต แต่ขณะเดียวกัน รูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ ความคิดอ่าน ย่อมเข้ามาพร้อมกับวิทยาการเหล่านั้น ผู้คนในสังคมรับและเลือกรับ ปรับและดัดแปลงวัฒนธรรมที่มาจากภายนอก ให้สอดคล้องกับค่านิยม ความคิดจนเกิดการผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันตกและความเป็นไทย เพลงไทยสากล ผลที่สะท้อนให้เห็นถึงการรับและปรับใช้วัฒนธรรมที่มาจากภายนอก จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของไทย ดังที่ จำนง รังสิกุล ได้นิยามความหมายของเพลงไทยสากลไว้ ดังนี้“เพลงที่ใช้ดนตรีสากลเป็นหลักในการบรรเลง ดำเนินตามแบบดนตรีตะวันตก ทั้งกระบวนการสร้างจังหวะ ท่วงทำนองการบันทึก และเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงไทยสากลเป็นเพลงขับร้อง ที่รับเอารูปแบบลักษณะของดนตรี ลักษณะการบรรเลง การเรียบเรียงเสียงประสานและการขับร้องมาจากดนตรีทางตะวันตก แล้วนำมาใส่เนื้อร้องเใหม่ให้แก่ผู้ชม ทางคณะศรีกรุงได้ให้นักร้องทั้งสองท่านขับร้องเพลงหน้าเวทีสลับหนัง ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” นี้ ฉายที่โรงหนังพัฒนากร และเฉลิมกรุง ดังนั้น นางเอกและนางรองทั้งสองจึงต้องวิ่งสลับไปมาระหว่างโรงหนังสองโรงนี้เพื่อขับร้องเพลง “ลาที่กล้วยไม้” คืนละสองครั้งทั้งสองโรง ต่อมา ได้มีการอัดเพลงดังกล่าวลงแผ่นเสียงกับบริษัทตราตึกช้างคู่ป็นภาษาไทย”
          กำเนิดและพัฒนาการดนตรีไทยแนวสากลเพลงและดนตรีจากประเทศตะวันตกที่เข้ามาสู่สยามในรัตนโกสินทร์เข้ามาพร้อมกับชาวต่างชาติและคนไทยที่ติดต่อกับชาติตะวันตก ทั้งในเรื่องการศึกษา การพาณิชย์ และศาสนา จากต้นรัตนโกสินทร์ ดนตรีฝรั่งที่เข้ามาพร้อมกับหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองสยาม สมัยรัชกาลที่ ๓ และสร้างศาสนสถานเป็นของตนเอง เป็นเพลงสวดในพิธีกรรมของคริสต์ศาสนาและเพลงที่นักบวชชาวตะวันตก รวมทั้งเครื่องดนตรีบางประเภทที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งพิธีกรรม เช่น เครื่องออร์แกนชนิดเท้าเหยียบ หากแต่ในเวลานั้น คนไทยโบราณกลับมองว่าดนตรีฝรั่งที่เข้าพร้อมกับความเชื่อทางศาสนา เป็นเรื่องของการเข้ารีตจวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทหารเกณฑ์ฝึกหัดเป่าแตรอย่างฝรั่ง ซึ่งหมายถึงชาวอังกฤษ และให้ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน็อกซ์ (Thomas G. Knox) เป็นครูฝึกแตรวง และมีการบรรเลงเพลงคำนับเวลาเสด็จออก (ใช้เพลง God Save The Queen ของอังกฤษ) เพลงที่แตรวงทหารมหาดเล็กเล่นเป็นเพลงมาร์ชของชาติตะวันตก และเพลงไทยเดิมที่นำมาประยุกต์เล่นกับวงดนตรีดังกล่าว เพลงและรูปแบบการบรรเลงได้เริ่มเข้ามามีบทบาทและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเล่นในเหตุการณ์และงานสำคัญของปี อย่างไรก็ดีแม้จะมีการนำทำนองเพลงฝรั่งมาใส่เนื้อร้องเป็นไทย ดนตรีที่สามารถแสดงถึงลักษณะของดนตรีไทยสากลจริงๆ ยังไม่ปรากฏงานดนตรีสากลได้รับการพัฒนาอย่างเด่นชัดมากขึ้น เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตร) ผู้ทรงศึกษาวิชาการดนตรีระหว่างทรงศึกษาในกองทหารเยอรมัน (พ.ศ. ๒๔๓๗ – ๒๔๔๖) ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือ และปรับปรุงแตรวงทหารเรือ กองทัพเรือ ในราว พ.ศ. ๒๔๔๘ มีการจัดการเรียนดนตรีสากลอย่างยุโรป มีการอ่านโน้ต มีการฝึกแยกเสียงประสาน และการจัดแสดงคอนเสิร์ต
          ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว งานเพลงไทยในแนวดนตรีตะวันตก ปรากฏในเพลงที่ทูลกระหม่อมบริพัตรทรงนิพนธ์ ทั้งในตระกูล เพลงมาร์ช และ วอล์ซ อาทิ เพลงมาร์ชวขิราวุธ ในพระนามสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และเพลงมาร์ชบริพัตร ในพระนามจอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ รวมทั้งการประพันธ์เพลงในจังหวะ โปลก้า จึงเรียกได้ว่าเพลงเหล่านี้เป็นเพลงไทยสากลแรกๆ ของสยามในขณะนั้นเลยทีเดียว เพลงที่นิพนธ์ข้างต้นเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงในแตรวงทหาร และยังได้รับการบันทึกแผ่นเสียง โดยบริษัท International Talking Machine และบางเพลงยังกลายเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงหน้าโรงหนังเงียบในยุคนั้นในระยะเวลาเดียวกัน ยังมีนักดนตรีชาวต่างประเทศอีกหลายท่านที่เข้ามามีส่วนในการพัฒนาดนตรีสากล ทั้งจาคอบ ไฟต์ (บิดาพระเจนดุริยางค์) อัลเบอร์โต นาซารี จึงทำให้เพลงสากลและเพลงไทยในแนวตะวันตกเป็นที่นิยมของคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น และบางส่วนยังเป็นเพลงแตรวงที่นิยมบรรเลงในการกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ขบวนกฐิน นอกจากนี้ เพลงบางเพลงอย่าง มาร์ชบริพัตร และมาร์ชภานุรังษี นับได้ว่าเป็นต้นกำเนิดเพลงมาร์ชของไทย และเป็นแบบให้แก่นักแต่งเพลงมาร์ชในชั้นหลังด้วย
          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบดนตรีไทยในแนวสากลได้รับการพัฒนา และกลายเป็น “ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม” ที่แสดงความเป็นสากลแต่ยังมีกลิ่นอายของความเป็นไทย หรือที่ได้รับการขนานนามอยู่ในชั้นหลังนี้ว่า เพลงไทยสากล ผลงานเพลงปรากฏในลักษณะของดนตรีในละครและภาพยนตร์ อย่างที่เรียกกันในภาษาทั่วๆ ไปว่า “เพลงหนัง-เพลงละคร”
เพลงละคร เพลงละครเป็นงานคีตศิลป์ที่เกิดมาพร้อมกับงานละครร้อง อันเป็นมหรสพที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระองค์ทรงปรับแต่งจากละครบังสะวันมลายู ให้มีลักษณะแบบไทยๆ เล่นเป็นเรื่องราวของชาวบ้านสามัญและแต่งตัวอย่างธรรมดา เป็นละครร้องอย่างเดียวไม่มีรำร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของละครร้องในเวลาต่อมาความนิยมละครแนวใหม่นี้ได้แพร่หลาย ยุคบุกเบิกมีคณะนาครบันเทิง (ละครแม่บุนนาค) คณะปราโมทย์นคร (ละครแม่เสงี่ยม) นักแสดงที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ได้แก่ แม่บุนนาค เจนจบพันธกิจ, แม่เสงี่ยม กลิ่นหอม และมีคณะละครร้องอื่นๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ อาทิ คณะศิลป์สำเริง (ละครแม่เลื่อน) มีดาราเด่น คือ แม่เลื่อน ไวนุนาวิน, แม่ประทุม ประทีปเสน, แม่องุ่น เครือพันธ์, แม่สงวน รัตนทัศนีย์ เป็นต้น ด้วยเหตุที่ละครร้องมีแหล่งที่มาเริ่มต้นจากในรั้วในวัง ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนทั้งตัวพระตัวนาง พระเอกละครยอดนิยมยุคแรกจึงเป็น “แม่……” คณะละครที่ใช้ตัวแสดงเป็นชายจริงหญิงแท้นั้นเริ่มปรากฏขึ้นในยุคหลังจากนี้
          รัชกาลที่ ๗ ยุคทองของละครร้อง (ละครเพลง)
          ความเจริญของการละครร้องนั้นได้เริ่มขึ้นแต่ต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพัฒนารูปแบบจากเดิม การปฏิรูปละครร้องได้เริ่มขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๖๙ และรุ่งเรืองมากในช่วงปลายรัชกาล ปี พ.ศ.๒๔๗๔ มีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับร้องประกอบละครเป็นจำนวนมาก เพลงประกอบละครร้องยุคแรกนั้นดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิมทำนอง ๒ ชั้น มาใส่เนื้อร้องเต็ม ไม่มีเอื้อน เปลี่ยนการตีกรับรับลูกคู่ ใช้ดนตรีฝรั่งแทนดนตรีปี่พาทย์กลายเป็นเพลงเนื้อเต็ม เคล้าดนตรี แจ๊ส (Jazz) ตลอดเรื่อง
ปรมาจารย์ละคร และเพลงละครร้องปรมาจารย์ทางละครและเพลงละครร้องที่สำคัญๆ มีอยู่ ๓ ท่าน คือ แม่แก้ว (ประวัติ โคจาริก) ผู้ประพันธ์บทละครให้กับคณะละครแม่บุนนาค ผลงานบทละครร้องเรื่อง เจ้าหัวใจ แขกอียิปต์กับยิปซี เล่ม ๑ “ตอนดารายิปซี” แม่แก้วประพันธ์ให้กับแม่บุนนาค เพื่อแสดงที่โรงละครเฉลิมฉัณะสำเริง บางลำพู ในวันเสาร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นละครร้องประเภทพันทาง และเป็นละครเรื่องแรกที่ใช้เครื่องสายออแกนบรรเลงประกอบ พรานบูรพ์ (จวงจันทร์ จันทร์คณา) ผู้ก่อตั้งคณะละครจันทรโรภาส และผู้ประพันธ์บท ประพันธ์เพลงละครให้กับคณะแม่เลื่อน จนมีชื่อเสียงโด่งดังและกลายเป็นตำนาน ในละครเรื่อง ขวัญใจจอมโจร เพลงที่พรานบูรพ์นำมาใช้ก็นำมาจากเพลงเถา เพลงตับของไทย นับเป็นปฐมบทของรูปแบบเพลงไทยสากล หรือเพลงไทยอย่างฝรั่ง ให้นักประพันธ์เพลงและคณะละครอื่นๆ ได้ยึดเป็นต้นแบบเพชรัตน์ (สมประสงค์ รัตนะทัศนีย์) นักประพันธ์ประจำคณะละครปราโมทย์นครของแม่เสงี่ยม เพลงที่บรมครูทั้ง ๓ ท่านประพันธ์ขึ้นนั้นมักจะมีชื่อเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ประจำตัวของแต่ละท่าน กล่าวได้ว่าในยุคนั้นเพียงแค่เห็นชื่อเพลงก็สามารถเดาได้ทันทีว่าเป็นเพลงของใครแต่ง ดังเช่น แม่แก้ว มักจะใช้คำว่า ดาว นำหน้าชื่อเพลง ดาวล้อมเดือน ดาวประดับฟ้า ดาวทอง และดาวกระจาย ฯลฯ ด้านพรานบูรพ์ มักขึ้นต้นชื่อเพลงด้วยคำว่า จันทร์ : จันทร์เจ้าขา จันทร์จากฟ้า จันทร์แฝงหมอก เป็นต้น ขณะเดียวกัน เพชรัตน์ นิยมใช้คำว่า เพชร์ เช่น เพชร์เพทาย เพชร์สองแสง และเพชร์พิลาป ฯลฯ
จันทร์เจ้าขา : ละครเด่น ที่สร้างชื่อให้กับพรานบูรพ์พรานบูรพ์ ได้ประพันธ์บทละครและเพลงร้องไว้มากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จทั้งประทับใจคนดูและคนฟังเพลง เพลงละครของพรานบูรพ์ไม่เพียงแต่ใช้คำร้องที่คล้องจองราบรื่นและท่วงทำนองเพลงอันไพเราะ ยังมีเนื้อหาสาระเป็นคติสอนใจ ได้รับการต้อนรับและเป็นที่นิยมกันทั่วไป ละครเรื่องที่โด่งดังมีชื่อมากที่สุด คือ ละครเรื่อง จันทร์เจ้าขา แสดงครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ละครเรื่องนี้มีเพลงที่ใช้ประกอบถึง ๓๙ เพลง นับเป็นละครร้องที่ใช้เพลงประกอบมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เรื่องจันทร์เจ้าขามีเนื้อหาเรื่องราวสมัยใหม่ที่ทันเหตุการณ์ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี ประชาชนกำลังตื่นตัวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค พรานบูรพ์ จึงแต่งเรื่องขึ้นให้นางเอกใช้เสรีภาพหนีออกจากบ้าน เพื่อให้หลุดพ้นจากการถูกบังคับให้แต่งงานด้วยวิธีคลุมถุงชน จันทร์เจ้าขา เป็นเรื่องที่ผู้ชมละครประทับใจและกล่าวขวัญกันอย่างมาก โดยนำออกแสดงเป็นจำนวนมากถึง ๔๙ ครั้งติดต่อกันทั่วทุกโรงมหรสพในพระนครและธนบุรี เพลงที่ใช้ร้องแต่ละเพลงมีความไพเราะติดหู ทำให้เพลงประกอบละครเรื่องนี้เป็นที่ชื่นชอบไปโดยปริยาย อาทิ เพลงจันทร์เจ้าขา ซึ่งเป็นเพลงนำของเรื่องมีประทุม ประทีปเสน, มณี เบญจนาวี ขับร้องและแสดงเป็นพระนางคู่กันโด่งดังมาก เพลงต้นรักดอกโศก เป็นเพลงจังหวะแทงโก้ มีประทุม ประทีปเสน รับบทตัวนาง และปรุง ฤทธิไกร รับบทพระเอก
เพลงละครแสนไพเราะของพรานบูรพ์เพลงละครแสนไพเราะของพรานบูรพ์เป็นที่ถูกใจคนฟังและนิยมอย่างสูงสุดในยุคนั้น ผลงานเพลงประกอบละครอื่นๆ ของพรานบูรพ์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายเรื่อง ได้แก่ เพลงจันทร์งาม, เพลงจันทร์กำสรวล , เพลงปลื้มจิต, เพลงกระจุ๋มกระจิ๋ม จากละครเรื่องโรสิตา ซึ่งมีแม่เลื่อน ไวนุนาวิน รับบทนายร้อยตรีคามีโน พระเอก ด้านนางเอกแม่ลม้าย สุวรรณพานิช รับบทแสดงเป็นโรสิตาคนแรก และบทเจ้าหญิงมารีนา นางรองแสดงโดยแม่ประทุม ประทีปเสน ละครเรื่องนี้พรานบูรพ์ ได้ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์ฝรั่งที่เข้ามาฉายในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เรื่อง เสน่ห์นายร้อยโท นำแสดงโดย มอริส เชวาเลียร์ นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ เพลงกล้วยไม้ลืมดอย และ เพลงถอนใจ จากละครเรื่อง โจ๊โจ้ซัง ซึ่งคณะศรีโอภาสได้เปิดการแสดงที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗
          เพลงไทยร้องทำนองฝรั่งบรรดาเพลงที่ใช้ประกอบละครร้อง นอกจากเพลงที่ยืมทำนองมาจากเพลงไทยเดิม และเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่หมดทั้งเพลงแล้ว ยังมีเพลงอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ทำนองฝรั่งเนื้อร้องไทย หรือเพลงสำเนียงภาษาก็ได้รับความนิยมพอกัน ด้วยในยุคนั้นคนไทยสนใจฟังเพลงแนวฝรั่งมาก เพลงละครที่ติดใจร้องกันได้อย่างแพร่หลายเป็นเพลงของคณะละครแม่บุนนาค ชื่อเพลงมาเดอริง และเพลงสุดสวาสดิ์ แต่จะใช้ร้องประกอบละครเรื่องใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด หรือ เพลงกระจุ๋มกระจิ๋ม ของพรานบูรพ์ ซึ่งแต่งเป็นเพลงแบบฝรั่งได้ไพเราะถูกใจหนุ่มสาวสมัยนั้นมาก มีการอัดเพลงละครดังของพรานบูรพ์ลงเป็นแผ่นเสียงจำหน่าย ดังข้อความ “ท่านจะต้องมีสักชุดหนึ่ง” ปรากฏบนโฆษณาแผ่นเสียงตรากระต่ายของนาย ต. เง็กชวน ซึ่งคาดว่าขายดิบขายดีมาก
          เพลงหนังเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากภาพยนตร์ที่เข้ามาในสมัยนั้นเป็นหนังเงียบ ทางผู้จัดจึงเพิ่มสีสันการชมภาพยนตร์โดยจัดวงดนตรีประเภทแตรวงซึ่งมีนักดนตรีประมาณ ๕ - ๖ คน เพลงที่เล่นจะเป็นลักษณะเพลงบรรเลงไทย และฝรั่ง จังหวะเร้าใจ สนุกสนานเพื่อเรียกคนดูหน้าโรง เมื่อหนังเริ่มฉาย วงดนตรีก็จะย้ายเข้าไปในโรงเพื่อบรรเลงสดประกอบการฉายหนัง เช่นฉากที่มีการวิ่งไล่ หรือ ชกต่อยกัน แต่เพลงดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
กำเนิดเพลงหนัง ยุคพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวิทยาการภาพยนตร์ได้พัฒนาจากภาพยนตร์ไร้เสียงสู่ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ได้สร้างภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเรื่อง “หลงทาง” จึงเรียกได้ว่าเป็นหนังไทยพูดได้เรื่องแรก ผู้ประพันธ์และกำกับการแสดงได้แก่ สง่า กาญจนาคพันธุ์ เพลงในภาพยนตร์เรื่องนี้มีด้วยกันอยู่หลายเพลง เช่น เพลงพัดชา บัวบังใบ ลาวเดินดง ขึ้นพลับพลา ฝรั่งโยสะลัม และเพลงเงี้ยว ขับร้องโดย แม่น ชลานุเคราะห์ และละเมียด จิตตเสวี
อีก ๒ ปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ หนังพูดเรื่องที่สองซึ่งอำนวยการสร้างโดยบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง คือเรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” สง่า กาญจนาคพันธุ์ เป็นผู้ประพันธ์และกำกับการแสดง ส่วนเพลงประกอบหนังผีเรื่องแรกของไทยเรื่องนี้มีอยู่เพียงหนึ่งเพลง คือ เพลงลาทีกล้วยไม้ ผู้แต่งทำนองและควบคุมการบรรเลงเพลงนี้คือ เรือโทมานิต เสนะวีณิน ซึ่งเป็นนักดนตรีชื่อดัง โดยมี สง่า กาญจนาคพันธุ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง บรรเลงด้วยวงดนตรีฝรั่งเพลงลาทีกล้วยไม้นี้ดัดแปลงมาจากเพลงไทยสำเนียงมอญ ชื่อเพลง “ตับมอญกละ” มีจังหวะเร็วที่เรียกว่ารุมบ้า และร้องเนื้อเต็มอย่างไม่มีเอื้อน ผู้ขับร้องเพลงนี้คือ มณี บุญจนานนท์ และ องุ่น เครือพันธุ์ นางเอกและนางรอง ในหนังเรื่องนี้ และเพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ผู้ชม ทางคณะศรีกรุงได้ให้นักร้องทั้งสองท่านขับร้องเพลงหน้าเวทีสลับหนัง ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” นี้ ฉายที่โรงหนังพัฒนากร และเฉลิมกรุง ดังนั้น นางเอกและนางรองทั้งสองจึงต้องวิ่งสลับไปมาระหว่างโรงหนังสองโรงนี้เพื่อขับร้องเพลง “ลาที่กล้วยไม้” คืนละสองครั้งทั้งสองโรง ต่อมา ได้มีการอัดเพลงดังกล่าวลงแผ่นเสียงกับบริษัทตราตึกช้างคู่
          หนังเพลงสุดท้ายปลายแผ่นดินพระปกเกล้าในปี พ.ศ. ๒๔๗๗
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามต้องการผลิตภาพยนตร์เพื่อแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทยทั้ง ๓ เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ โดยมอบให้บริษัทศรีกรุงเป็นผู้อำนวยการสร้าง สง่า กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้แต่ง คือเรื่อง “เลือดทหารไทย” ในส่วนของเพลงประกอบ มีทั้งหมด ๔ เพลง แต่งคำร้องโดย สง่า กาญจนาคพันธ์ ส่วนผู้แต่งทำนองคือ เรือโทมานิตย์ เสนะวีณิน มีการใช้ทำนองอยู่ ๓ รูปแบบเพื่อความหลากหลายของบทเพลง คือ ทำนองเพลงสากลฝรั่งแท้ ได้แก่เพลง “มาร์ชไตรรงค์” ซึ่งแปลงมาจากทำนองเพลง “มาร์ชกรานาเดียร์” (March Granadier) ขับร้องโดย ลัดดา สุทธิคุณ เพื่อปลุกใจกองทหารไทย เพลงที่สองเรือโทมานิตย์ได้แต่งทำนองตามเค้าเพลงฝรั่ง คือเพลง “ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา” เป็นฉากที่หลวงปฏิบัตินาวายุทธร้องในเรือร่วมกับนางเอก คือ คุณจารุ กรรณสูตร เพลงที่สามเป็นฉากสวนสนามที่ขบวนทหารเดินขับร้องหมู่ที่ถนนราชดำเนินใน ทำนองเป็นแบบเพลงไทยเดิม คือเพลง “มาร์ชเลือดทหารไทย” เพลงสุดท้ายเป็นเพลงทำนองไทยสากล คือเพลง “ดอกไม้ของหล่อน“ หรือเศิลปินเอกของงานเพลงไทยสากลยุคเริ่มต้นศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานเพลงไทยสากลใน “ยุคบุกเบิก” ทั้งเพลงที่มาจากภาพยนตร์และละคร ล้วนมีความสำคัญที่ทำให้เพลงไทยตามแนวดนตรีสากลได้ก่อตัวอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นเอกลักษณ์ และคลี่คลายสู่งานดนตรีลูกผสมไทย-ตะวันตกที่หลากหลายอย่างในปัจจุบันพลง “กุหลาบในมือเธอ” ขับร้องโดยพระเอกคือ ร้อยเอกม.ล. ขาบ กุญชรศิลปินเอกของงานเพลงไทยสากลยุคเริ่มต้น
          ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานเพลงไทยสากลใน “ยุคบุกเบิก” ทั้งเพลงที่มาจากภาพยนตร์และละคร ล้วนมีความสำคัญที่ทำให้เพลงไทยตามแนวดนตรีสากลได้ก่อตัวอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นเอกลักษณ์ และคลี่คลายสู่งานดนตรีลูกผสมไทย-ตะวันตกที่หลากหลายอย่างในปัจจุบัน
ที่มา : เนื้อหานิทรรศการอิทธิพลตะวันตกในเพลงไทยสากล

ความคิดเห็น

  1. ขอเข้ามาเป็นลูกศิษย์ด้วยคนนะค่ะ คือว่าหนูเรียนกับอาจารย์พิทยะคะ
    ถ้ามีข้อแนะนำอะไรก็บอกด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
    www.Tourismindustydpu005rungarun

    ตอบลบ
  2. ยินดีต้อนรับสู่ Web blog พระปกเกล้าศึกษานะคะ และดิฉันจะเข้าไปเยี่ยมชมใน web ของน้องรุ่งอรุณเช่นกัน อาจารย์พิทยะชมว่าน้องสนใจและตั้งใจเรียนดีมากทำให้ได้คะแนนดี ขอให้ประสบความสำเร็จนะคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - 26 พฤศจิกายน 2468   : สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนศุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ - 25 กุมภาพันธ์ 2468 :  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระวรชายาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี และเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ร.7 พระชนม์ 32 พรรษา,สมเด็จฯ 21 พรรษา) -6 มกราคม -5 กุมภาพันธ์ 2469 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า รำไพ พรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมราษฎร -16 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2470 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก -24 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2471: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลภูเก็ต -10 เมษายน-12 เมษายน 2472 : พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข สวนไกลกังวล -พฤษภาคม 2472  : เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี (ทอดพระเนตรสุริยุปราคา) -31 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2472 : เสด็จพระราชดำเนินเยือน สิงคโปร์ ชวา บาหลี -6 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2473 : เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน -6 เมษายน - 9 เมษายน 2474 : เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกาและญี่

ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 7

                                                                                                                                   ฉัตรบงกช   ศรีวัฒนสาร [1]                 องค์ประกอบสำคัญในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยสภาวะความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังสำคัญ ในทัศนะของ อริสโตเติล ( Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณ   ระบุว่า   ศิลปะทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรี   การแสดง   หรือ ทัศนศิลป์   ล้วนสามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้   นอกจากนี้ในทางศาสนาชาวคริสต์เชื่อว่า   ดนตรีจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาต่อศาสนาและพระเจ้าได้     การศรัทธาเชื่อมั่นต่อศาสนาและพระเจ้า คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ [2]                 ราชบัณฑิตยสถานอธิบายความหมายของศิลปะให้สามารถเข้าใจได้เป็นสังเขปว่า “ศิลปะ(น.)ฝีมือ,   ฝีมือทางการช่าง,   การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์ ” [3] ในที่นี้วิจิตรศิลป์ คือ ความงามแบบหยดย้อย   ดังนั้น คำว่า “ศิลปะ” ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานจึงหมายถึงฝีมือทางการช่างซึ่งถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

ห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ

  ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอบคุณเนื้อหาจาก รศ.วุฒิชัย  มูลศิลป์ ภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  ราชบัณฑิตยสถาน        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน รศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอรรคราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี ตามลำดับ)  โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของสมเด็จพระนางเจ้าฯและองค์ที่ 76 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ในห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพนี้  ประเทศไทยหรือในเวลานั้นเรียกว่าประเทศสยาม หรือสยามเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาได้เพียง 1 เดือน 5 วัน  คือ วิกฤตการณ์สยาม ร. ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบของไทยที่ปากน้ำเข้ามาที่กรุงเทพฯได้  และบีบบังคั